ฟองสบู่ Tulip รากเหง้าวิกฤตการเงิน

1432

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

ถามอีก กับ อาจารย์.ตั๊ม พิริยะ สัมพันธารักษ์ Managing Director, Chaloke Dot Com
*สัมภาษณ์วันที่ 4 กันยายน 2564

ประวัติศาสตร์ฟองสบู่ Tulip 

เริ่มขึ้นในยุครุ่งเรื่องของอัมสเตอร์ดัม มีการซื้อขายหัวทิวลิปสายพันธุ์ Semper Augustus เป็นสายพันธุ์พิเศษที่หายาก เนื่องจากดอกจะมีลักษณะเป็นด่างจากไวรัส ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความร่ำรวยในขณะนั้น แต่การจะซื้อขายได้มีความพิเศษคือ ต้องรอให้ดอกเหี่ยวก่อนจึงจะเกิดหัวทิวลิปซึ่งเป็นส่วนที่คนนำมาซื้อขาย ดังนั้น จึงต้องมีการเซ็นสัญญาและวางเงินมัดจำไว้ เป็นจุดกำเนิดของ ‘Futures Contract’  ขึ้น 

ต่อมามีเศรษฐีหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมายจากความรุ่งเรื่องในสมัยนั้น คนสนใจซื้อหัวดอกทิวลิปมากขึ้น เกิดการขายสัญญาต่อไปเรื่อย ๆ โดยที่ยังไม่ได้รับหิวทิวลิป จนกระทั่งในปี 1637 หัวทิวลิป Semper Augustus ราคาแพงมาก จนหนึ่งหัวสามารถซื้อถนนได้ทั้งถนน และมีการซื้อขายเก็งกำไรมากขึ้นจนในที่สุดเกิดเป็นตลาด Futures Exchanges

Trigger ที่ทำให้ราคาหัวดอกทิวลิปร่วงหนัก 

แต่เดิมการเซ็นสัญญาต้องวางเงินมัดจำไว้เต็มจำนวนก่อนมีการส่งมอบ แต่ต่อมา ได้มีการตั้งเป็นกลุ่มเฉพาะที่ดูแลการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าหัวทิวลิป และได้มีการเปลี่ยนเป็นการจ่ายเงินมัดจำเหลือแค่ 2.5% ส่วนที่เหลือจะจ่ายตอนมีการส่งมอบแล้ว ซึ่งทำให้ Risk Reward Ratio เปลี่ยนไป นั่นคือจ่ายเงินนิดเดียว แต่สามารถทำกำไรจำนวนมากได้ทันที 

ต่อมาก็เริ่มมีการให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ ปั่นราคากันเองเพื่อทำให้ราคาสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ  จนกระทั่งถึงจุดที่ Demand เริ่มชะลอตัว เพราะราคาขึ้นสูงเกินไป และเนื่องจากในตลาด หลายคนนำเงินจากการกู้ยืมมาใช้ซื้อสัญญาล่วงหน้า เมื่อ demand ชะลอตัว ทำให้ผู้ขายต้องยอมขายขาดทุนเพื่อเอาเงินมาใช้หนี้ ทำให้ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว และเริ่มเกิดความไม่มั่นใจในตลาด จนสุดท้ายก็พังทั้งตลาด

ทำไม Bitcoin ถึงไม่เหมือนวิกฤตทิวลิป

สิ่งที่เหมือนระหว่าง Bitcoin กับทิวลิปคือ การที่คนซื้อแล้วคาดหวังว่าจะขายได้ในราคาสูงขึ้นเพื่อทำกำไร แต่มีสิ่งที่แตกต่างกันอยู่ ได้แก่ 

1) Risk Reward Ratio 

Risk Reward Ratio ของดอกทิวลิปในสมัยนั้นมีความไม่สมเหตุสมผล คือใช้เงินลงทุนเพียงนิดเดียว แต่สามารถทำกำไรเยอะ และทำกำไรได้ในทันที ขณะที่ Bitcoin มีความสมเหตุสมผลมากกว่า  

2) การกู้มาเทรด (Leverage) มีการก่อหนี้จำนวนมากเพื่อนำเงินมาซื้อขายสัญญาและหัวดอกทิวลิป ในขณะที่ Bitcoin มีน้อยกว่า

3) ตลาด Tulip Futures ไม่มีมาตรฐานและความโปร่งใส 

4) การใช้งานได้จริง (Utility) ดอกทิวลิปมีเพียงความสวยงามและแสดงถึงความมีฐานะ ในขณะที่ Bitcoin สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย 

ซึ่งความต่างเหล่านี้เป็นกลไกที่ส่งเสริมให้เกิดวิกฤตฟองสบู่ทิวลิปในอดีต และเป็นรากเหง้าของวิกฤตการเงินในปัจจุบัน

ถามอีก กับ อาจารย์.ตั๊ม พิริยะ สัมพันธารักษ์ Managing Director, Chaloke Dot Com

#ถามทันที | ฟองสบู่ Tulip รากเหง้าวิกฤตการเงิน

ถามอีก กับ อาจารย์.ตั๊ม พิริยะ สัมพันธารักษ์ Managing Director, Chaloke Dot Com

โดย อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข, AFPT

คุยอะไรกันบ้าง?

1:31 เริ่มกันเลย

2:21 ประวัติศาสตร์ฟองสบู่ Tulip

22:35 จุด Trigger ที่ทำให้ราคาร่วงหนัก

26:57 ฟองสบู่ทิวลิปเหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ?

31:12 ฟองสบู่ทิวลิปแตกต่างจาก Bitcoin ยังไง

37:03 Tulip Futures

44:26 Open Interest

52:52 การขุดและ Stake ต่างกับ QE ของรัฐบาลอย่างไร

55:38 การ Stake ใกล้เคียงกับการผลิตเงินของธนาคาร

58:42 Fork Bitcoin เดือน พ.ย. ทำอะไร

1:05:14 Jack Dorsey จะทำ Social Media บน Bitcoin

1:09:17 ถ้า Upgrade ของ Bitcoin สำเร็จแล้วราคาจะเป็นยังไง ?

1:14:22 ทิ้งท้าย ฝากติดตาม

#TamEigPodcast ฟังแบบเนื้อ ๆ ไม่มีเม้นท์ ได้ที่ Podcast

ถามอีกกับอิก TE 294 | เมกะเทรนด์ใหญ่ พลังงานสะอาดแห่งอาเซียน

ถ้ามีประโยชน์และชื่นชอบ อย่าลืม subscribe และให้ดาวนะคร้าบ

คลิกเพื่อฟังทาง Apple podcast

คลิกเพื่อฟังทาง Soundcloud

คลิกเพื่อฟังทาง Spotify

คลิกเพื่อฟังทาง Google podcast

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

1432

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!