
*สัมภาษณ์วันที่ 13 มกราคม 2565
เงินเฟ้อรอบนี้มาจากฝั่ง Supply
เงินเฟ้อมี 2 แบบ คือ เงินเฟ้อทั่วไป และ เงินเฟ้อมาตรฐาน ตัวเลขเงินเฟ้อ 2.17% คือเงินเฟ้อทั่วไป ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 0.29% เป็นเงินเฟ้อที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน ซึ่งนอกจากราคาพลังงานและอาหารที่สูงขึ้น ไทยไม่มีแรงผลักดันเงินเฟ้อ จากความร้อนแรงของเศรษฐกิจมานานแล้ว ดังนั้น เงินเฟ้อรอบนี้ ไม่ได้มาจากฝั่งอุปสงค์ (Demand) ที่มากขึ้นแต่อย่างใด แต่มาจากฝั่งอุปทาน (Supply) ทั้งน้ำมันที่มีต้นทุนแพงขึ้นและอาหารที่ Supply หายไป โดย เดือน ม.ค.-ก.พ. อาจเห็นตัวเลขเงินเฟ้อในไทยขึ้นไปถึง 3%
ปัญหาเงินเฟ้อ
ปัญหาเงินเฟ้อถ้าเป็นประเด็นชั่วคราว ก็ยังไม่น่ากังวล แต่เมื่อใดที่เงินเฟ้อเป็นสิ่งที่ทุกคนพูดถึงกันหมด สินค้าทุกประเภทจะเริ่มมีการขยับราคา เรียกว่า ‘Wage-Price Spiral’ ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้กำหนดนโยบายกลัว คือเงินเฟ้อสูงและค้างเป็นเวลานาน และเอาลงยาก
ไทยเข้าสู่ภาวะ Stagflation แล้วหรือยัง?
ในแง่ตัวเลขทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อที่ 2% ไม่ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูง แต่สำหรับบางคนแล้ว สถานการณ์ที่รายได้ไม่ขึ้นแต่ของแพงขึ้น อาจเรียกว่า เป็นภาวะ Stagflation แล้ว เพราะตะกร้าบริโภคของแต่ละคนไม่เหมือนกันแต่ และถ้าราคาอาหารคงที่ราคานี้ไปทั้งปี ก็อาจเห็นเงินเฟ้อ 3%-4% ได้ในปีนี้
อันตรายของภาวะ Stagflation
ปกติแล้ว ภาะวเงินเฟ้อแก้ปัญหาได้ด้วยการแตะเบรคให้เศรษฐกิจเบาลง แต่ปัญหาของ Stagflation คือ ไม่สามารถแตะเบรคได้ เพราะเศรษฐกิจไม่ดีอยู่แล้ว การแตะเบรคจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้เศรษฐกิจแย่ลงกว่าเดิม
