จีนมองวิกฤตยูเครน-รัสเซียยังไง หมากต่อไปจีนลุยไต้หวัน?

709

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

*สัมภาษณ์ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2565

รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้พูดถึงสถานการณ์ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่า 30 % ว่า นักลงทุนขาดความมั่นใจในเงินรูเบิลของรัสเซีย เพราะถูกตัดแขนตัดขาในเรื่องของเงินรูเบิล ตั้งแต่ให้ธนาคารกลางเข้าไปแทรกแซงเงินรูเบิล ก็ถูกบล็อก ในตะกร้าเงินของรัสเซียกว่า 60 % เป็นสกุลเงินของยุโรป, ดอลลาร์สหรัฐ,ปอนด์อังกฤษ ประมาณ 14 % เป็นเงินหยวนจีน และ 20 % ก็เป็นทองคำ

ดร. อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ได้มองสถานการณ์ที่จีนได้มองวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนเอาไว้ว่า จีนเองก็วางตัวลำบากเพราะที่ผ่านมาจีนก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซียและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อกัน ขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับยูเครนด้วย 

ท่าทีของจีนเวลานี้ให้ความสำคัญหลักการ 5 ข้อก็คือ 1.เคารพในหลักอธิปไตยของทุกประเทศ ซึ่งโน้มเอียงเห็นใจไปในทางประเทศยูเครน 2.เข้าใจความซับซ้อนในประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน อันนี้ก็โน้มเอียงไปทางรัสเซีย 3.เห็นใจที่รัสเซียรู้สึกกังวลกับการคืบคลานเข้ามาของ NATO 4.จีนขอยืนยันการแก้ปัญหาแบบสันติวิธีและการเจรจาทางทูต ไม่ใช่กำลัง 5.จีนต่อต้านวิธีคิดแบบสงครามเย็นแบบแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มองได้ว่าจีนไม่ได้สนับสนุนและไม่ได้ประณามรัสเซียแต่อย่างใด เนื่องจากมีความสัมพันธ์ที่ดีทางการค้าระหว่างกัน

กรณีความเชื่อมโยงระหว่างไต้หวันนั้น หลายคนมองว่าหากรัสเซียบุกยูเครนได้ วันหนึ่งจีนจะบุกไต้หวันหรือไม่ หากจีนบุกไต้หวันจะมีลักษณะใกล้เคียงกันไหม ไม่ว่าจะเป็นเปรียบเทียบการคว่ำบาตรหรือการสนับสนุนทางอาวุธ โดยผู้นำของไต้หวันได้ออกมายืนยันแล้วว่า กรณีของรัสเซีย-ยูเครนนั้น เทียบไม่ได้กับไต้หวันเนื่องจากมีความสำคัญมากในที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ในทางยุทธศาสตร์แล้ว มีการกล่าวกันว่าหากใครครองไต้หวันได้ ก็เท่ากับครองเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการลำเลียงพลังงานทั้งจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หลายคนมองว่าจีนจะใช้การลำเลียงพลังงานไปสู่ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ การที่บอกว่าให้สหรัฐถอนทัพออกจากเอเชียให้หมดนั้น เป็นการเดิมพันศักดิ์ศรีระหว่างจีน-สหรัฐสูงมาก อีกข้อก็คือ ไต้หวันมีความสำคัญในห่วงโซ่ทางเทคโนโลยี ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยี ข้อสุดท้ายก็คือ ไต้หวันเป็นตัวแทนของคุณค่าเสรีนิยมประชาธิปไตย มีการต่อสู้กันในอุดมการณ์ทางการเมืองสูง

การเปลี่ยนแปลงในขั้วอำนาจของแต่ละประเทศ จะต้องรอดูสถานการณ์ว่า จะเป็นอย่างไรต่อไป ในช่วง 4-5 วันที่ผ่านมา เหมือนกับว่ารัสเซียไม่ประสบความสำเร็จตามที่รัสเซียคิดเอาไว้ รัสเซียอาจถูกมองเป็นเสือกระดาษที่ไม่ได้มีกองทัพแข็งแกร่งขนาดนั้น รวมไปถึงเศรษฐกิจในประเทศจากการที่ถูกคว่ำบาตร มีคนเปรียบเทียบว่า วันเดียวรัสเซียกลายเป็นเหมือนกับเกาหลีเหนือในทางเศรษฐกิจเพราะถูกโดดเดี่ยว ตอนนี้คนเรียกแล้วว่าเป็น Mother of Sanction เพราะประเทศตะวันตกไม่เคยทำการคว่ำบาตรหนักขนาดนี้มาก่อน ยิ่งกว่าทำกับเกาหลีเหนือหรืออิหร่านเสียอีก ดังนั้น เวลานี้อยู่ที่ว่าใครอึดกว่ากัน และภาวะเงินเฟ้อกับราคาพลังงานที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น สุดท้ายจะต้องมาดูผลว่าใครชนะ

สำหรับการแก้เกมระหว่างรัสเซีย-ยูเครน คิดว่าปูตินคงจะตกใจกับการผนึกกำลังต่อต้านทั้งยูเครนครั้งนี้ และประชาคมโลกหลายคนก็คิดว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ค่อนข้างเหนือกว่าที่ประเมินเอาไว้มาก ปูตินเองคงไม่คิดว่าประชาคมโลกจะสามัคคีมากขนาดนี้ อย่างไรก็ตามไม่คิดว่าประเทศตะวันตกจะสามารถทนเจ็บจากการคว่ำบาตรได้นา เพราะว่าการคว่ำบาตรก็ทำให้เจ็บทั้งสองฝ่าย

#ถามทันที | จีนมองวิกฤตยูเครน-รัสเซียยังไง หมากต่อไปจีนลุยไต้หวัน?

ถามอีก กับ ดร. อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ

โดย อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข, AFPT

คุยอะไรกันบ้าง?

0:00 เริ่มกันเลย

0:32 จีนมองวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนยังไง?

8:16 เกี่ยวข้องกับไต้หวันอย่างไร?

16:16 เมื่อรัสเซียขายก๊าซให้ยุโรปไม่ได้ ก็หันมาหาจีน

19:25 จีนจะกลายเป็นพระเอกตอนจบ?

22:13 ขั้วอำนาจของโลกอาจเปลี่ยนไป?

25:41 บทบาทสกุลเงินหยวน

27:05 ทั่วโลกเริ่มตาสว่าง

33:53 การกลับมาของสงครามเย็น

36:12 รัสเซีย-ยูเครน จะแก้เกมมุมไหน?

41:59 ไต้หวันจะหลอมรวมกับจีนโดยไม่มีความขัดแย้ง?

#TamEigPodcast ฟังแบบเนื้อ ๆ ไม่มีเม้นท์ ได้ที่ Podcast

ถามอีกกับอิก TE 448 | จีนมองวิกฤตยูเครน-รัสเซียยังไง หมากต่อไปจีนลุยไต้หวัน?

ถ้ามีประโยชน์และชื่นชอบ อย่าลืม subscribe และให้ดาวนะคร้าบ

คลิกเพื่อฟังทาง Apple podcast

คลิกเพื่อฟังทาง Soundcloud

คลิกเพื่อฟังทาง Spotify

คลิกเพื่อฟังทาง Google podcast

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

709

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!