มาอีกแล้วครับ! ความรู้ดีๆจากเฮีย Ray Dalio สุดยอด Hedgefund แห่งยุคนี้ (กองทุนใหญ่ที่สุดในโลก มูลค่า 5 ล้านล้านบาท)
ตอนนี้ภาพรวมการลงทุนกำลังจะเจอความผันผวนและความวุ่นวาย คล้ายกับช่วงปี 1930 จากหลายปัจจัยด้วยกันครับ
1. ธนาคารกลางประเทศต่างๆมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยลง
2. ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและนโยบายประชานิยมทางการเมือง
3. ความขัดแย้งระหว่าง ผู้ท้าชิงความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกอย่างจีน กับมหาอำนาจเบอร์ 1 ของโลกตอนนี้อย่างสหรัฐ
“จากปัจจัยทั้งสามข้อนี้ ถ้าหากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะขาลง ถดถอย จะทำให้เกิดปัญหาหนักหน่วง งานเข้าแบบสุดๆครับ” เฮีย Ray Dalio ฟันธงว่า สถานการณ์ความวุ่นวายจะละม้ายคล้ายคลึงกับช่วงปี 1930 ครับนั่นหมายความว่า ตลาดพันธบัตรจะถึงจุดพีคหนัก, ทองคำจะพุ่งแรง
================
เฮีย Ray Dalio เล่าต่อว่า ตอนนี้ปัจจัยหลักๆที่มีผลต่อทั้งเศรษฐกิจและตลาดเงิน ตลาดทุน มีดังนี้ครับ
1)ผลิตภาพ productivity,
2) หนี้ระยะสั้นและวงจรธุรกิจ,
3) วงจรหนี้ระยะยาว,
4) การเมือง (ทั้งภายในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ) เค้าไม่ได้บอกว่าเป็นประเทศไหนนะครับ 5555
================
เฮียอธิบายต่อครับว่า ในขณะที่ความสมดุลของเศรษฐกิจและการลงทุนมีอยู่ 3 ด้านด้วยกันครับ
คือ 1) การเติบโตของภาระหนี้สิน ที่เป็นไปตามการเติบโตของรายได้ (รายได้ต้องมากเพียงพอที่จะจ่ายภาระหนี้สิน)
2) เศรษฐกิจต้องไม่ร้อนแรงเกินไป (เพราะจะทำให้เกิดปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่มากเกินไป และทำให้เศรษฐกิจไม่มีประสิทธิภาพ) และเศรษฐกิจเองก็ไม่ควรเติบโตต่ำเกินไป (เหตุผลคือ เศรษฐกิจที่ไม่ดี จะทำให้เกิดความเสียหาย และอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง)
3) คาดการณ์ผลตอบแทนของเงินสด ต่ำกว่าผลตอบแทนของพันธบัตร และต่ำกว่าคาดการณ์ผลตอบแทนหุ้น และสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ
================
โดยทั่วไปรัฐบาลประเทศต่างๆก็มักจะใช้สองเครื่องมือในการบริหารจัดการให้เศรษฐกิจหรือการลงทุนกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล นั่นคือ มาตรการทางการเงิน และมาตรการทางการคลังครับ
“แต่จุดสมดุล ก็มักจะเคลื่อนย้ายไปมา เหมือนกับเป็นเครื่องยนต์ที่เคลื่อนไหวได้ตลอด” สุดยอด Hedgefund สุดเท่เปรียบเทียบให้เห็นภาพครับ โดยแกมองว่าในท้ายที่สุดสถานการณ์ก็จะทำให้เรากลับเข้าสู่จุดสมดุลได้เสมอ
“เมื่อไหร่ก็ตามที่เศรษฐกิจหรือการลงทุนหลุดออกจากจุดสมดุลไปมาก” “ก็จะมีแรงหรือการใช้นโยบายของภาครัฐที่จะทำให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้อีกครั้ง”
เฮียแกยกตัวอย่างว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่อัตราการเติบโตเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อร่วงลงต่ำกว่า ระดับจุดสมดุล ทางด้านธนาคารกลางต่างๆก็จะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น เมื่อเทียบกับผลตอบแทนจากพันธบัตร, เทียบกับผลตอบแทนของหุ้น, และเทียบกับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวเลขคาดการณ์ผลตอบแทนของพันธบัตร, ตลาดหุ้น และอัตราเงินเฟ้อ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเช่นกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ถ้าอัตราการเติบโตเศรษฐกิจเติบโตชะลอตัวลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลง และราคาหุ้นก็ร่วงลง
การร่วงลงของราคาและผลตอบแทนเหล่านี้จะร่วงลงต่อไปจนกว่า ตัวเลขภาระหนี้สิน และอัตราการเติบโตของตัวเลขใช้จ่ายจะสูงขึ้น และจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มมากขึ้น
“นี่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และจะส่งผลต่อนโยบายการเงินและการคลัง” พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ ธนาคารกลางประเทศต่างๆก็จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเช่น อาจจะอัดฉีดเม็ดเงิน หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายภาษีและการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับแรงกระตุ้นทางการเมืองได้เช่นกัน
================
แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ละ เป็นยังไงครัช?
1. “ความเห็นของผมคิดว่า สิ่งที่กำลังเกิดตอนนี้คล้ายกับช่วงปี 1930 อย่างมาก”
2. เหตุผลคือตอนนี้ พวกเราเข้าใกล้ถึงจุดจบของวงจรหนี้ระยะสั้นและระยะยาว ในสกุลเงินสำรองใหญ่ที่สุดในโลก 3 สกุลเงิน
3. นอกจากนี้ภาระหนี้สินที่เป็นตัวเงิน และภาระหนี้สินที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน เช่น ภาระการรักษาพยาบาลและบำเหน็จบำนาญ ที่ตอนนี้มากกว่ารายได้ที่เรามี จนทำให้ถึงจุดหนึ่งเราอาจจะไม่สามารถจ่ายคืนได้
4. ยังไม่หมดครับ…. ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีกอย่าง คือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม (ทางรายได้) และปัญหาทางการเมือง ที่กำลังทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในหลายๆประเทศ (ไม่ได้เจาะจงนะค้าบบ ว่าประเทศอะไร) และตอนนี้กำลังมีปัญหาความแตกต่างทางความคิดแบบสุดโต่งระหว่าง ระบบทุนนิยมและระบบสังคมนิยม
5. ไม่ใช่แค่นี้ครับ….. นโยบายต่างประเทศก็สำคัญครับ เช่น การผงาดของมหาอำนาจอย่างจีน ที่กำลังท้าชิงความเป็นมหาอำนาจของโลก กับแชมป์เก่าอย่าง สหรัฐ ซึ่งตอนนี้กำลังทำให้เกิดปัญหาต่างประเทศอย่างหนักหน่วง และในท้ายที่สุดก็อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบ การจัดระเบียบโลก
6. และอีกหนึ่งประเด็น คือ คือการคาดการณ์ผลตอบแทนของพันธบัตร ที่เริ่มลดลงเมื่อเทียบกับผลตอบแทนของเงินฝากที่ธนาคารกลางให้
================
เฮีย Ray Dalio ฟันธงนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางมีผลกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยลง
“ผมมั่นใจว่า ตอนนี้พวกเรากำลังอยู่ในช่วงปลายวงจรหนี้สินระยะยาว” “เพราะฉะนั้นจึงมั่นใจว่า ความสามารถของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคาร ในการที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจขาลง เริ่มที่จะมีผลน้อยลงครับ” ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น
1) ”นโยบายลดดอกเบี้ย” ตอนนี้จะเห็นว่า นโยบายลดดอกเบี้ยเริ่มไม่ได้ผลแล้ว เพราะตอนนี้ดอกเบี้ยต่ำเตี้ยเรี่ยดินแบบสุดๆ เพราะฉะนั้นการที่จะลดดอกเบี้ยให้มากพอที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ย่อมไม่ได้ผลแล้ว
2) ”การพิมพ์เงินและการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน” นโยบายนี้ก็ไม่เวิคเช่นกันครับ เพราะไม่สามารถที่จะทำให้เม็ดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจที่แท้จริงได้ (เพราะส่วนใหญ่เข้าไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงินมากกว่า) ทำให้นำไปสู่นโยบายข้อถัดไปครับ
3) การใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณครั้งใหญ่ จะทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านการเมือง และปัญหาที่ขาดวินัยการเงิน การคลังตามมา
================
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ นโยบายของธนาคารกลางหลายๆประเทศจะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่ำมาก และจะทำให้เกิดการพิมพ์เงิน เพื่อนำไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน
เหตุผลคือธนาคารกลางอยากจะกำหนดให้ดอกเบี้ยระยะสั้นต่ำมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะภาระหนี้สินและภาระเรื่องรักษาพยาบาลรวมถึงบำเหน็จบำนาญ มีมูลค่ามหาศาลมากๆ และกำลังจะใกล้ถึงกำหนดจ่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะเศรษฐกิจอ่อนแอและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำมาก
“ความคาดหวังของธนาคารกลางประเทศต่างๆ คือ อยากจะทำให้ผลตอบแทนของเงินสด อยู่ต่ำกว่าผลตอบแทนของพันธบัตร” แต่อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเพราะหลายเหตุผลด้วยกันครับ
1. อัตราผลตอบแทนตอนนี้ต่ำเตี้ยเรี่ยดินแบบสุดๆ
2. คาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อต่ำมาก ซึ่งทำให้เกิดการลดการคาดการณ์ผลตอบแทนของตลาดหุ้น
3. อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงต่ำมากๆ เพราะมีภาระหนี้สินมากที่กำลังจะถึงกำหนดจ่าย
4. การที่ธนาคารกลางทั่วโลกเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเริ่มีการใช้นโยบายประชานิยมของพรรคการเมืองมากขึ้น
เฮีย Ray Dalio อธิบายว่าสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในช่วงที่นักลงทุนได้กู้เงินเพิ่มมากขึ้น เพราะเจอภาวะดอกเบี้ยต่ำและมีสภาพคล่องมาก ผลก็คืออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นต่ำ ในขณะที่ธนาคารกลางของหลายประเทศเองก็พยายามควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในระยะยาว และควบคุม yield curve เหมือนกับช่วงที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 ไปจึงถึงช่วงทศวรรษที่ 1940
================
คุณ Ray Dalio มองทองคำยังไง?
“ถ้าดูจากกราฟในอดีต จะเห็นว่าในช่วงปี 1980-1982 อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรพุ่งถึงจุดพีค ตามอัตราเงินเฟ้อ ก่อนที่จะร่วงลงมา” ทองคำเองก็เช่นกัน
แต่ถ้าย้อนไปก่อนหน้านั้นจะเห็นว่าทองคำ เพิ่งจะเข้าสู่ภาวะกระทิง วิ่งฉิว นับตั้งแต่ปี 1971 ครับ ตอนนั้นเกิดเหตุการณ์ที่ระบบการจัดการเงิน Bretton Boods ได้ถูกยกเลิกที่เคยผูก ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐให้เข้ากับทองคำ แล้วหลังจากนั้นระบบใช้เงินกระดาษที่เราใช้ในทุกวันนี้ครับ
การะยกเลิกระบบ Bretton Woods ครั้งนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบการเงินโลก
================
สถานการณ์ตอนนี้ มีอัตราเงินเฟ้อไม่สูงมากนัก แม้ว่าเศรษฐกิจโลกและตลาดเงินตลาดทุน ใกล้จุดสูงสุด และแม้ว่ายังอยู่ในช่วงที่ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังพิมพ์เงินออกมามากก็ตาม
“การที่จะเข้าใจสถานการณ์ตอนนี้ ผมแนะนำให้ศึกษาช่วงปี 1935-1945” แต่เฮีย Ray Dalio พยายามจะอธิบายว่า เหตุการณ์อาจจะไม่ได้เหมือนกันเปะๆหรอกครับ แต่แค่อยากจะเปรียบเทียบให้เห็นทั้งเหตุและผลที่มีความคล้ายกันมาก
1. ใกล้ที่จะจบวงจรหนี้ระยะสั้นและระยะยาว
2. ปัญหาการเมืองภายในประเทศที่เป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความขัดแย้งระหว่างแนวคิดของทุนนิยมและสังคมนิยม
3. ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ที่เป็นผลจากการแย่งชิงความเป็นมหาอำนาจของโลก
ดังนั้นเราควรที่จะศึกษา ทำความเข้าใจถึงกลไกที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และเรียนรู้ว่าอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และวิธีที่จะกระจายความเสี่ยงมากพอที่จะช่วยปกป้องความเสี่ยงจากการลงทุน
แต่สรุปคือ ดูเหมือนแกจะไม่ค่อยชอบ ตลาดพันธบัตร แต่ชอบทองคำนะครับ
================
ตอนนี้เรากำลังยกเลิกการส่งไลน์แอด และไปส่งผ่าน Telegram ถ้าไม่อยากพลาดข้อมูลและแนวคิดดีๆ แอดมาโลด
เด้อ https://t.me/TAM_EIG
Download Telegram
สำหรับ Android: https://play.google.com/store/apps/details…
สำหรับ IOS: https://apps.apple.com/us/app/telegram-messenger/id686449807
——————
ไม่อยากพลาด! อย่าลืมกดติดตามนะครับ
เกาะติดทุกสถานกาณ์ Facebook page: http://bit.ly/30BE1Ul
ส่งข่าวสารถึงมือผ่าน Telegram: http://bit.ly/2JiYoyf
อ่านข้อมูลแบบกระชับ Twitter: http://bit.ly/TAM-EIG_Twitter