#ลงทุนนอกโลก โดยถามอีก กับอิก
=============
1. “ตอนนี้จะมีหลายคนที่เป็นกูรูบอกว่า ตอนนี้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบหนักมากจากโควิด 19” “และบางคนถึงขั้นบอกว่านโยบายการเงินก็ไม่น่าจะช่วยอะไรมาก”
2. ในขณะเดียวกันความร่วมมือระหว่างผู้นำรัฐบาล กับธนาคารกลางจะเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก แต่อาจจะไม่เกิดความร่วมมือระหว่างกันก็เป็นได้
3. สิ่งที่ธนาคารกลางสหรัฐทำ คือ การทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินต่ำลงมาได้หน่อยนึง และการพิมพ์เงินเพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน
“ผมมองว่า ยังไม่ได้ช่วยคนที่เค้าต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ”
4. สิ่งที่เฮีย Ray Dalio มองว่าประชาชน และบริษัทที่ตอนนี้กำลังต้องการความช่วยเหลือมากๆ (นอกเหนือจากการสนับสนุนด้านการแพทย์ที่ดีมากพอ)
คือ ต้องการสายป่านทางการเงินต่อลมหายใจให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต รอบนี้ไปให้ได้ เพราะรายได้ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
5. แต่เฮียแกก็ยอมรับนะครับว่า การเกิดโควิด 19 เป็นสิ่งที่ทำให้เศรษฐกิจเจอภาวะช็อค และก็มีหลายอย่างที่เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ เพราะเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
=============
ข้อสังเกตคืออะไร?
1. อย่างแรก คือไม่วันใดก็วันหนึ่งยังไงก็ ต้องมีวันที่เศรษฐกิจเป็นขาลง (แต่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่) โดยจะต้องเกิดจากปัจจัยใด ปัจจัยหนึ่งไปกระตุ้นทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
2. ตอนนี้เศรษฐกิจสหรัฐมีภาระหนี้สินจำนวนมหาศาล
3. ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยใกล้ระดับ 0% “เพราะฉะนั้นการใช้นโยบายการเงินเพียงอย่างเดียวก็คงจะไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากพอ”
4. ตอนนี้เราเป็นส่วนหนึ่งของ วัฏจักรหนี้สินที่เป็นวงจรระยะยาวเพราะฉะนั้นก็จะเป็นช่วงที่จำเป็นต้องใช้ทั้งนโยบายการเงินและการคลังในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจขาลง
5. สิ่งสำคัญคือตอนนี้มีความเหลื่อมล้ำของทั้งความมั่งคั่งและการเมือง ซึ่งดูแล้วก็คงยากที่จะทำให้การใช้ทั้งนโยบายการเงินและการคลังร่วมกันได้
=============
สิ่งที่ควรทำคืออะไร?
1. เฮีย Ray Dalio แนะนำว่าสิ่งที่สำคัญมากที่สุดตอนนี้ คือ การช่วยเหลือให้คนที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุดจากไวรัสด้วยการใช้มาตรการการคลัง เช่น เงินกู้แบบชั่วคราว และการช่วยเหลือด้านการเงินเสริมสภาพคล่อง
2. ”หลายคนอาจจะคัดค้าน และมองว่าการให้การช่วยเหลือด้านการเงินเป็นไอเดียที่แย่มาก ๆ” โดยเค้าอาจจะอ้างระบบเศรษฐกิจตามหลักของดาร์วิน
“ระบบของดาร์วิน คือ ใครก็ตามที่ไม่สามารถบริหารจัดการเงินของตัวเองได้ได้ดี ก็ควรจะยอมแพ้และหลุดจากวงจรไป” ภาษาวัยรุ่นคืออ่อนแอก็แพ้ไป ว่างั้นเถอะ
หรือบางคนก็อาจจะค้านว่าการช่วยเหลือด้านการคลังไปทำไม เพราะจะทำให้งบประมาณขาดดุล
3. ในมุมของคุณ Ray Dalio กลับมองว่าทั้งสองคำคัดค้านข้างต้น กลับไม่มีเหตุผลเอาเสียเลยครับ
ทำไมแกถึงมองแบบนี้? “แกมองว่าวิกฤตเศรษฐกิจไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะมาทดสอบความสามารถด้านการเงิน หรือเศรษฐกิจของทั้งระดับบุคคล และระดับบริษัท” เพราะต้นทุนของการที่ไม่ช่วยเหลือทางการเงิน มันสูงกว่าต้นทุนที่เราจะให้การช่วยเหลือการเงินเสียอีก
4. โควิด-19 เป็นภัยธรรมชาติครั้งยิ่งใหญ่ คล้ายๆกับเฮอร์ริเคน
“การช่วยเหลือด้านการเงินกับคนและบริษัทที่มีความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่ดี ดีกว่าการที่ปล่อยให้ได้รับความเสียหายจากโควิด”
5. ตอนนี้ยังมีคนจำนวนมากที่ยังมีรายได้น้อย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีเงินสำรองมากพอที่จะช่วยสร้างความมั่งคงด้านการเงิน โดยเฉพาะกรณีที่สุขภาพของพวกเค้าได้รับผลกระทบหนักอย่างกับ สินามิ
และในท้ายที่สุดบริษัทที่ดูเหมือนจะแข็งแรงจำนวนมากก็เช่นกัน ก็คงจะไม่สามารถอยู่รอดได้ในภาวะเศรษฐกิจที่เป็นขาลงครับ (ถ้าหากไม่ช่วยเหลือคนตัวเล็ก)
6. เฮีย Ray Dalio ชวนคิดได้น่าสนใจครับโดยมองว่า ผลกระทบที่ช็อคทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจที่เป็นผลพวงจากการระบาดของโรค
และให้ลองคิดถึงบริษัทจำนวนมากมายที่กำลังจะมีรายได้หายไปอย่างมีนัยยะสำคัญ (แต่รายจ่ายยังคงมีอยู่)
และให้นึกถึงหลายๆบริษัทที่เป็นหนี้สินจำนวนมาก อาจจะเป็นเพราะส่วนหนึ่งคือการกู้ยืมเงินที่มีดอกเบี้ยต่ำ และบริษัทอีกจำนวนมากเคยได้รับแรงจูงใจในการกู้ยืมเงิน
สิ่งที่จะเกิดขึ้นที่เป็นผลพวงจากโควิด คือการบังคับให้ลดการจ่ายตังให้กับพนักงงาน (จ่ายเงินเดือนน้อยลง หรือให้ออกจากงานไป) และบังคับให้ต้องผิดนัดชำระหนี้
7. สิ่งที่น่ากลัวในมุมมองของเฮีย Ray Dalio คือ ปัญหาเศรษฐกิจจะแพร่กระจายได้เร็วไม่แพ้ไวรัสเลยครับ
“การให้การช่วยเหลือไม่ใช่เพียงแค่เหตุผลด้านมนุษยธรรม” แต่จริงๆแล้วก็ยังเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่ดีที่ช่วยเหลือ บุคคลและบริษัทที่ยังมีศักยภาพ ไม่ให้จมไปกับผลกระทบจากโควิดรอบนี้
8. ต้องจัดหนักช่วยเหลือแค่ไหน? ก็ขึ้นอยู่กับระดับของความวิกฤตด้วยครับ
9. แน่นอนครับ มันก็จะเป็นการเพิ่มการขาดดุลงบประมาณ ผลกระทบมันก็พอ ๆ กับการขึ้นดอกเบี้ยเลยแหละ
10. แต่สิ่งที่ธนาคารกลางสหรัฐอาจจำเป็นต้องทำคือ การลดดอกเบี้ย และถ้าจำเป็นก็อาจจะต้องพิมพ์เงินเข้าระบบการเงินรวมถึงการลดภาระหนี้สิน
11. ”จริงอยู่ที่หากการนำนโยบายการเงินและการคลังมาใช้ร่วมกันก็อาจจะถูกวิพากย์วิจารณ์บ้าง” แต่นี่นับว่าเป็นนโยบายที่ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ตอนนี้เป็นหนี้สูงมาก
12. เราคงต้องเคยชินกับนโยบายแบบนี้เพราะคงจะเป็นหนทางเดียวที่จะรับมือกับภาวะเศรษฐกิจขาลง ภายใต้ข้อจำกัดที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ใกล้ระดับ 0
13. สิ่งที่เป็นคำถามในมุมของ Ray Dalio ที่อาจจะทำให้การรับมือกับโควิดได้ยาก คือ ระบบการเมืองที่ขาดความเป็นเอกภาพ
และกำลังปกครองโดยคนที่มุ่งหมายแต่การสู้กัน มากกว่าการร่วมมือกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในสิ่งที่ควรทำให้สำเร็จ
========
เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต
อิสรภาพชีวิต !! อยู่ไหนก็ไม่พลาด อย่าลืมกดติดตามนะครับ หรือเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้เลย
ส่งข่าวสารถึงมือผ่าน Line@: http://bit.ly/TAM-EIG_LINE
คลิกเลย