
*สัมภาษณ์วันที่ 18 กันยายน 2564
ควอนตัมคืออะไร?
ควอนตัมคือ ฟิสิกส์ที่อธิบายถึงสิ่งที่อยู่ในระดับเล็กที่เรามองไม่เห็น (อะตอม อิเล็กตรอน โฟตอน) ซึ่งเป็นสถานะที่ไม่มีในโลกที่เราสามารถมองเห็นได้ ควอนตัมเป็นสภาวะที่อะตอมหรืออิเล็กตรอนทำตัว “ประหลาด” ที่ถูกทดสอบมาแล้วว่ามีจริง ซึ่งมี 2 สถานะที่อาจารย์ทั้งสองท่านพูดถึง ได้แก่
1. Superposition (การทับซ้อนของควอนตัม) คือ สถานะที่อะตอมอยู่ได้หลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน
2. Entanglement (การพัวพันเชิงควอนตัม) คือ สถานะที่อะตอมอยู่ได้หลายที่ในเวลาเดียวกัน และยังคงเป็นสิ่งเดียวกันไม่ว่าจะอยู่ห่างกันแค่ไหน
จะมีการเอาควอนตัมไปใช้ยังไง?
ควอนตัมมีประโยชน์อย่างมากในการใช้แก้ปัญหาที่มีตัวแปรเยอะ ๆ โดยจะสามารถคำนวณหาวิธีที่ดีที่สุด ได้เร็วที่สุด สามารถแก้ปัญหาที่ยากมาก ๆ เหมือนกับการ “งมเข็มในจักรวาล” ซึ่งมีความท้าทายในการใช้งานเพราะควอนตัมสามารถช่วยแก้ปัญหาที่ไม่มีใครเคยทำได้
ความยากของการคำนวณด้วยควอนตัมอยู่ที่การแปลงปัญหาเป็นข้อมูล และแปลงข้อมูลให้ออกมาเป็นสมการ ตัวอย่างการนำไปใช้งานของควอนตัม เช่น Portfolio Optimization (มีข้อมูลลูกค้าและตัวแปรเยอะมาก ในการแก้ปัญหา), Credit Loan Optimization (ทำยังไงให้คนที่เกี่ยวข้อง “พึงพอใจ”), ทำให้ได้กำไรสูงสุด ในขณะที่สังคมได้รับประโยชน์สูงสุดเช่นกัน หรือด้านการขนส่ง เช่น การหาเส้นทางขนส่งที่ดีที่สุด ถึงมือผู้รับไว้ที่สุด โดยบริษัทมีต้นทุนน้อยที่สุด แม้กระทั่งด้านการเกษตร ที่ควอนตัมสามารถผลิตปุ๋ยเพื่อให้ได้สูตรที่ดีที่สุด โดยใช้พลังงานน้อยที่สุด
Quantum Technology ในไทยไปถึงไหนแล้ว
คนไทยเก่ง มีความสามารถ และบางอุตสาหกรรมก็เริ่มเห็นภาพและเห็นความสำคัญของควอนตัมมากขึ้น ยังไงก็ตาม ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีนโยบายจากรัฐที่ช่วยเอื้ออำนวยเพื่อผลักดันให้ไปได้ไกล
