
#Punphol101 Ep.3 NAV ต่ำแปลว่าถูก สูงแปลว่าแพง?
#ป๊าอิก สอน #น้องปันผล จด :)
#ทุกเรื่องที่นักลงทุนต้องรู้ #tameig #กองทุน
————–
Ep.1 ค่าธรรมเนียมที่ต้องรู้ ก่อนซื้อกองทุน
https://bit.ly/Ep01_Fundfee
Ep.2 อ่านหนังสือชี้ชวน แบบง่ายนิดเดียว (Fund Fact Sheet)
https://bit.ly/Ep02_FundFactSheet

ก่อนอื่นมาทำความเข้ากับ NAV กัน
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือ NAV (Net Asset Value) คือ มูลค่าทรัพย์สินตามราคาตลาด + ผลตอบแทนสะสม + เงินสด – ค่าใช้จ่ายและหนี้สินของกองทุนรวมนั้น
ซึ่งจะคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนตามราคาตลาดในแต่ละวัน (Mark to Market) เพื่อให้สะท้อนถึงมูลค่าที่เป็นจริงตามสภาวะตลาดที่ได้เปลี่ยนแปลงไป (ที่มา: SET investnow)
* Mark to Market การปรับมูลค่าของหลักทรัพย์ให้เป็นจริงตามราคาตลาดล่าสุด พื่อให้สะท้อนถึงมูลค่าที่เป็นจริงตามสภาวะตลาด
เช่น ซื้อหุ้น A ไว้ 1,000 หุ้น ราคา 80 บาท คิดเป็นมูลค่า 80,000 บาท
อีก 3 เดือนต่อมา ราคาล่าสุดของหุ้น A. คือ 100 บาท การ Mark to Market คือ การคิดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาล่าสุด
ดังนั้น เมื่อ Mark to Market แล้ว มูลค่าหุ้น A ที่ซื้อไว้จะเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาท

แต่ราคาที่ใช้ซื้อขายคือ NAV ต่อหน่วย
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จะเป็นผู้คำนวณราคา NAV และเปิดเผยให้ทราบทุกสิ้นวันทำการ
โดยจะประกาศเป็น “มูลค่าต่อหน่วยลงทุน” ซึ่งคือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ หรือ NAV หารด้วยจำนวนหน่วยลงทุน ซึ่งมูลค่าต่อหน่วยลงทุนนี้อาจสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ แล้วแต่ภาวะการลงทุนในแต่ละวัน โดยจะเป็นทศนิยม 4 หลัก

ซื้อ-ขายกองทุนวันนี้ เป็นราคา NAV ต่อหน่วยของวันไหน?
เราจะได้ NAV ของวันที่ทำรายการ แต่จะสามารถรู้ NAV ได้ตอนสิ้นวัน หรือวันทำการวันถัดไป
เพราะต้องรอสรุปราคาตลาด (mark to market) และจำนวนหน่วยลงทุน เพื่อคำนวณ NAV ต่อหน่วย ดังนั้น ไม่เหมาะที่จะเก็งกำไรสั้น ๆ นะคะ
เช่น ซื้อกองทุนวันพฤหัส ก็ได้ราคา NAV ของวันพฤหัส แต่เราจะรู้ราคา NAV ต่อหน่วยตอนสิ้นวันซึ่งหรือคือวันศุกร์ เพราะฉะนั้น ราคา NAV ที่เราเห็น ณ วันพฤหัสก็คือราคา NAV ของวันพุธนั่นเอง

ราคา NAV ประกาศตอนสิ้นวันจะไม่ Real time เหมือนราคาหุ้น
– กองทุนเปิด จะประกาศทุกวันที่มีการซื้อขายหน่วยลงทุน
– กองทุนปิด จะประกาศทุกวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์
– แต่ถ้าเป็นกองทุนต่างประเทศ อาจใช้เวลาหลายวันกว่าจะรู้ราคา NAV เพราะมีความต่างเรื่อง time zone และวันหยุดที่ต่างกัน

ราคาซื้อขายกองทุน ดูยังไง?
วิธีดูราคา ถ้าต้องการซื้อกองทุน ดูที่ช่อง “ราคาขาย” (เพราะทาง บลจ. ขายให้เรา)
ถ้าจะขายดูที่ช่อง “ราคารับซื้อคืน” (เพราะทาง บลจ. รับซื้อคืนจากที่เราขายให้)
ปกติเมื่อมีการ IPO กองทุน ราคา NAV จะเริ่มต้นที่ 10 บาท หลังจากนั้นถ้าหากกองทุนมีกำไร ราคา NAV ก็จะปรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือถ้าหากกองทุนขาดทุน ราคา NAV ก็จะปรับลดลง

NAV ต่ำแปลว่าถูก สูงแปลว่าแพง?
Answer: ไม่เสมอไป
ยกตัวอย่าง
กองทุน A: ราคา NAV ต่อหน่วย 10 บาท
กองทุน B: ราคา NAV ต่อหน่วย 55 บาท
ผ่านไป 1 ปี
กองทุน A: ราคา NAV ต่อหน่วย 11 บาท
กองทุน B: ราคา NAV ต่อหน่วย 66 บาท
เท่ากับว่า กองทุน A ให้ผลตอบแทน (11-10)/10 = 10% ต่อปี
ขณะที่ กองทุน B ให้ผลตอบแทน (66-55)/55 = 20% ต่อปี
แปลว่า กองทุน B ราคา NAV ต่อหน่วย “สูงกว่า” แต่ “ให้ผลตอบแทนมากกว่า”
คิดง่าย ๆ ต่อให้เรามีเงินแค่ 110 บาท เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งสามารถซื้อกองทุน A ได้ 11 หน่วย และซื้อกองทุน B ได้ 2 หน่วย (ความเป็นจริงจะได้ไม่ถึงนะคะ เนื่องจากมีค่าธรรมเนียมขายด้วย แต่ป๊าอิก ยกตัวอย่างเป็นเลขกลม ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ค่ะ)
Ep.1 ค่าธรรมเนียมที่ต้องรู้ ก่อนซื้อกองทุน
https://bit.ly/Ep01_Fundfee
แต่ 1 ปีผ่านไป ถ้าซื้องกองทุน A เราจะมีเงินลงทุนเติบโตเป็น 121 บาท ขณะที่กองทุน B เราจะมีเงินลงทุนเติบโตเป็น 132 บาท
