#ป๊าอิก สอน #น้องปันผล จด :)

ติดตามความรุ้และอัปเดต “TAM-EIG_เงินทองมันต้องวางแผน” https://bit.ly/3cvyzNC
#ทุกเรื่องที่นักลงทุนต้องรู้ #tameig #วางแผนการเงิน
——
Ep.01 ค่าธรรมเนียมที่ต้องรู้ ก่อนซื้อกองทุน https://bit.ly/Ep01_Fundfee
Ep.02 อ่านหนังสือชี้ชวน แบบง่ายนิดเดียว (Fund Fact Sheet) https://bit.ly/Ep02_FundFactSheet
Ep.03 NAV ต่ำแปลว่าถูก สูงแปลว่าแพง? https://bit.ly/Ep03_NAV
Ep.04 รวบรวมบัญชี e-savings ดอกเบี้ยสูงที่ต้องมี สู้เงินเฟ้อ https://bit.ly/Ep04_e-savings
Ep.05 รวบรวม “กองทุนทุกประเภท” ที่ควรรู้ https://bit.ly/Ep05_FundsCategories
Ep.06 ผ่อนบ้าน 3 ล้านบาทยังไง ให้ประหยัดดอกเบี้ย 1 ล้านบาท? https://bit.ly/Ep06_homeloan
Ep.07 รับผลตอบแทนที่มั่นคงสม่ำเสมอ ไปกับหุ้นกู้ GULF https://bit.ly/Ep07_GulfBond
Ep.08 รับมือตลาดผันผวนด้วย Perpetual Bond ไปกับหุ้นกู้ SIAMPIWAT https://bit.ly/Ep08_SiampiwatBond

เงินเฟ้อ คืออะไร?
เงินเฟ้อ คือ เมื่อราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นต่อเนื่อง
อธิบายง่าย ๆ คือ ของเท่าเดิม แต่ราคาสูงขึ้น หรือถ้าเรามีเงินเท่าเดิม เราจะได้สินค้าในปริมาณที่ลดลง (ถ้าเป็นบริการ ก็ได้ในระยะเวลาที่สั้นลง)

หัวข้อ เงินเฟ้อ ไม่ได้แย่เสมอไป
เงินเฟ้อมี 4 แบบ
1. เงินเฟ้ออ่อน ๆ ประมาณ 5%* ถือว่าเป็นภาวะปกติ ไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ แต่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิต การจ้างงาน ทำให้เศรษฐกิจขยายและเติบโต
2. เงินเฟ้อปานกลาง
ประมาณร้อยละ 5%-20%* ซึ่งรัฐบาลจะเริ่มยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไข โดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลังต่าง ๆ
3. เงินเฟ้อรุนแรง (Hyperinflation) ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20%* ต่อปี ทำให้อำนาจการซื้อของเราลดลงอย่างรวดเร็วแบบลงลิฟท์ ตัวอย่างคือ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
4. เงินเฟ้อติดลบ (ส่วนใหญ่จะเรียกว่า เงินฝืด) ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยรวมทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ
*ข้อมูลจาก สำนักการคลัง

อย่าเพิ่งดีใจ ว่าเงินฝืดทำให้สินค้าถูกลงน่าจะดี
เพราะเมื่อราคาสินค้าลดลง คนก็รายได้ลดลง แต่อย่าลืมว่า “หนี้สิน” ที่อยู่ยังเท่าเดิมนะคะ ดังนั้น จะทำให้คนที่มีหนี้ได้รับผลกระทบ
เงินเฟ้อที่เหมาะสม เป็นกลไกที่สำคัญกลไกหนึ่งในการปรับสมดุลในระบบเศรษฐกิจ

เงินเฟ้อ เกิดจากอะไร?
สาเหตุเงินเฟ้อมาจาก 2 ทาง
1. ฝั่ง Supply
ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น (Cost-push inflation) เมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่ม คนขายต้องขึ้นราคาสินค้า
2. ฝั่ง Demand
ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น (Demand-pull inflation) เมื่อคนต้องการสินค้ามากกว่าของที่มีอยู่ในตลาด คนขายก็ปรับขึ้นราคา
อัตราเงินเฟ้อที่เราได้ยินทั่วไปคือ เงินเฟ้อทั่วไป (Headline inflation) คำนวณจากกลุ่มสินค้า อาหารสด/เครื่องดื่ม เครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องใช้ภายในบ้าน ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล การคมนาคมขนส่ง พลังงาน และอื่น ๆ โดยจะคำนวณแบบถ่วงน้ำหนัก
เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core inflation) จะไม่รวมกลุ่มอาหารสด/เครื่องดื่ม และพลังงาน

ทำไมเงินเฟ้อรอบนี้ ถึงต่างจากรอบอื่น?
1. Lock-down จากวิกฤตโควิด-19
หลายธุรกิจปิดตัวหรือชะลอการผลิต พอเปิดเมืองมา supply ขาด ขณะที่ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นอยากรวดเร็ว = ดันให้ราคาสินค้าแพงขึ้น
2. ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น
ผลจากสงครามรัสเซียยู-เครน และการที่ผู้ผลิตน้ำมันลงทุนน้อยลง เพราะกลัวว่าคนจะลดการใช้น้ำมัน หันไปใช้พลังงานทดแทน = น้ำมันน้อยกว่าความต้องการ ดันให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงของ Supply chain globalization
การผลิตทั่วโลกกำลังเปลี่ยนจากผลิตในประเทศที่ถูกที่สุด ไปผลิตในประเทศที่เป็นพวกเดียวกัน หลายประเทศย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ทำให้ต้นทุนเพิ่ม = ดันให้ราคาสินค้าแพงขึ้น

ถ้าเงินเฟ้อมากเกินไป จะกระทบเรายังไง?
ธุรกิจ
– ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย อาจทำให้ธุรกิจบางรายชะลอการผลิต ลดการจ้างงาน ทําให้มีคนตกงานมากขึ้น
– ส่วนธุรกิจที่มีการส่งออก เมื่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ราคาขายแพงขึ้น ก็จะแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ยากขึ้น
– แม้ว่าเงินเฟ้อจะทำให้ขายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น แต่เมื่อราคาแพงขึ้น คนก็จะซื้อน้อยลง = ยอดขายบางส่วนก็ลดลง
ประชาชน
– เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น ทําให้เรามีอํานาจซื้อน้อยลง
– เงินเท่าเดิมแต่ซื้อสินค้าหรือบริการได้น้อยลง สุดท้าย รายได้อาจไม่เพียงพอดับค่าใช้จ่าย
– ส่วนในมุมการลงทุน คนก็จะมองหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง ๆ หันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงกันมากขึ้น ถ้าความรู้ไม่เพียงพอ อาจก่อให้เกิดหนี้สินตามมา

เมื่อเงินเฟ้อ สินทรัพย์แบบไหนมักได้รับผลกระทบ / ประโยชน์?
สินทรัพย์ที่มักได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อ
– สินทรัพย์ที่การันตีอัตราผลตอบแทนไว้ล่วงหน้าเป็นจำนวนคงที่ เมื่อของแพงขึ้น แต่ผลตอบแทนที่ได้รับคงที่ นั่นเท่ากับว่าเงินที่ได้จะมีอำนาจในการนำมาใช้จ่ายได้น้อยลง
– เช่น ตราสารหนี้ โดยเฉพาะตราสารหนี้ที่อายุยิ่งยาว ก็มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อยิ่งมาก
สินทรัพย์ที่มักได้รับประโยชน์จากเงินเฟ้อ
– สินทรัพย์ที่สามารปรับราคาขึ้นได้ตามเงินเฟ้อ
เช่น ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาน้ำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ
– สินทรัพย์ที่มีมูลค่าในตัวเอง เช่น ทองคำ หรือที่บางคนเรียกว่า “เงินมั่งคง (Sound Money)” เพราะเก็บสะสมความมั่งคั่งได้ในระยะยาว ด้วยคุณสมบัตืที่ว่าทองคำมีอยู่ในปริมาณที่จำกัด คนก็จะกลับมาให้ความสนใจในทองคำมากขึ้น

สู้เงินเฟ้อ ลงทุนอะไรดี?
1. หุ้นกลุ่มที่ถึงแม้จะปรับราคาขึ้น คนก็ยังต้องใช้:
เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค สินค้าจำเป็น สินค้าการเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค และการแพทย์
2. หุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น:
– หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์:
เพราะสามารถปล่อยกู้แล้วได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
– หุ้นกลุ่มธุรกิจประกันชีวิต:
ธุรกิจประกัน จะนำเบี้ยประกันของเราส่วนหนึ่งไปลงทุนสร้างผลตอบแทน หากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น เงินที่บริษัทประกันนำไปลงทุนใหม่ จะได้ผลตอบแทนตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่สูงขึ้น
– หุ้นที่ประกอบธุรกิจนำเข้า:
เมื่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศเราเพิ่มสูงขึ้น ต่างชาติก็อยากเข้ามาลงทุน ทำให้เงินไหลเข้าประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อเงินบาทแข็งค่า ธุรกิจที่นำเข้าก็มีต้นทุนที่ต่ำลงนั่นเอง

สู้เงินเฟ้อ ลงทุนอะไรดี?
3. หุ้นที่ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ: และมีการจ่ายผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอ มีสภาพคล่องในการซื้อขาย ฐานะทางการเงินดี และกระแสเงินสดเป็นบวก
4. กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs):
เพราะในช่วงที่เงินเฟ้อ ค่าเช่ามีแนวโน้มที่จะสามารถปรับขึ้นได้ตามหรือมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ
5. ตราสารหนี้ประเภทป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ:
เช่น TIPS หรือ Treasury Inflation-Protected Securities ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นในช่วงเงินเฟ้อ และให้ผลตอบแทนน้อยลงในช่วงเงินฝืด

แนวคิดสู้เงินเฟ้อ แบบฉบับปู่บัฟเฟตต์
1. มองหาธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนต่ำ
เพราะต้นทุนจะถูกกระทบไม่มาก จากเงินเฟ้อ
2. มองหาธุรกิจที่สามาถขึ้นราคาสินค้าได้ โดยลูกค้ายังคงซื้อสินค้าอยู่
3. ตราสารหนี้ประเภทป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ ถือว่าน่าสนใจ
4. ลงทุนในตัวเอง เพิ่มทักษะที่จำเป็นอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ตัวเอง (ปู่ใช้คำว่า ลูกจ้างที่นายจ้างอยากเก็บไว้ ไม่ไล่ออก)
5. หลีกเลี่ยงลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ให้อัตราผลตอบแทนต่ำ (และคงที่) เพราะสู้เงินเฟ้อไม่ไหว
6. ควบคุมความอยากได้อยากมีของตัวเอง เพราะเงินเฟ้อ ของแพง ควรใช้จ่ายแบบพอดี
ที่มา: Bankrate, Warren Buffett’s top tips for beating

ถึงเวลา สู้เงินเฟ้อ
มาดูกันว่า เงินเดือนวันนี้ อนาคตจะเหลือเท่าไร?
