
#Punphol 101 รับมือตลาดผันผวนด้วย Perpetual Bond ไปกับหุ้นกู้ SIAMPIWAT (บริษัท สยามพิวรรธ์ จำกัด)
#หุ้นกู้

Perpetual Bond ลักษณะเป็นยังไง?
1. ไม่มีอายุกำหนด
จะไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการ แต่เมื่อครบ 5 ปี ผู้ออกหุ้นกู้สามารถเลือกไถ่ถอนได้ ซึ่งผู้ถือหุ้นกู้ก็จะได้รับเงินต้นคืน พร้อมดอกเบี้ย
2. การเลื่อนจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย)
ตามสิทธิแล้วผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ แต่การจ่ายดอกเบี้ยอาจมีการเลื่อนออกไปได้ โดยดอกเบี้ยก็จะถูกทบไปในการจ่ายคืนรอบที่เริ่มกลับมาจ่ายดอกเบี้ย (แต่ไม่คิดดอกเบี้ยทบดอกเบี้ย)
ด้วยลักษณะพิเศษทั้ง 2 ข้อนี้ ทำให้ Perpetual Bond “มีลักษณะคล้ายทุน” เพราะ ..
– การถือหุ้นสามัญบริษัท ก็จะไม่มีอายุกำหนด ผู้ลงทุนเติบโตไปกับบริษัทจนกว่าจะเลิกกิจการ
– หุ้นสามัญ หากไม่ประกาศจ่ายปันผลก็ไม่มีการสะสมเงินปันผลมาจ่าย หรือหากเป็นหุ้นบุริมสิทธิ ก็มีทั้งแบบสะสมดอกเบี้ยและแบบไม่สะสมดอกเบี้ย

สิ่งที่ควรรู้ก่อนลงทุนใน Perpetual Bond
1. ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ เช่น
– ความแข็งแกร่งของธุรกิจ
ว่ามีโอกาสเติบโตได้ดี และสามารถดำเนินธุรกิจไปได้ในระยะยาว
– ฐานะการเงินมีสภาพคล่อง กระแสเงินรับสม่ำเสมอ อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเปรียบเทียบกับทุนไม่สูง
– อันดับเครดิตเรทติ้ง
ดูอันดับเครดิตของบริษัท และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ ซึ่งควรอยู่ในระดับ Investment grade
2. ประเมินความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้
Perpetual Bond เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงและซับซ้อนกว่าหุ้นกู้ปกติ โดยมีความเสี่ยงที่ระดับ 7 จากทั้งหมด 8 ระดับ ดังนั้น อย่าลืมทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อนลงทุน ว่ารับเหมาะสมกับความเสี่ยงระดับนี้หรือไม่
3. ประเมินกระแสเงินสดที่ต้องใช้ Perpetual Bond เป็นการลงทุนระยะยาว ดังนั้น เราควรมั่นใจว่าเราไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินต้นนั้น อย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป
4. Perpetual Bond เหมาะกับคนที่ต้องการผลตอบแทนการลงทุนที่สูง และลงทุนระยะยาวได้อย่างน้อย 5 ปี
Note:
แล้วถ้าเกิดต้องการใช้เงินต้นในระหว่างระยะลงทุนทำยังไงได้บ้าง?
Ans: สามารถขายผ่านธนาคาร / บริษัทหลักทรัพย์ได้ แต่ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องในตลาด และราคาที่มีคนรับซื้อตอนนั้น

บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ทำธุรกิจอะไรบ้าง?
5 สถานที่ของ สยามพิวรรธ์ ที่ทุกคนจะต้องร้องอ๋อออออ
– สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ ไอคอนสยาม (หนึ่งในพันธมิตร) และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ
ดำเนินธุรกิจครอบคลุม 7 กลุ่มหลัก
1. ธุรกิจศูนย์การค้าอาคารสำนักงาน: สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ สยามพารากอน ไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพ
2. ร่วมทุนกับบริษัทในประเทศและต่างประเทศ ดำเนินธุรกิจห้างสรรพสินค้าพารากอนในสยามพารากอน และสยามทาคาชิมายะ ณ ไอคอนสยาม
3. ธุรกิจศูนย์การประชุมและศูนย์แสดงนิทรรศการ: รอยัล พารากอน ฮอลล์ และ ทรู ไอคอน ฮอลล์ ณ ไอคอนสยาม ซึ่งทั้งสองแห่งเป็นสถานที่ระดับแนวหน้าของผู้นำในอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ของประเทศไทย
4. ธุรกิจดิจิทัล: ONESIAM SuperApp ดิจิทัลแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุด ที่เชื่อมธุรกิจออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน สร้างระบบนิเวศธุรกิจเชื่อมพันธมิตรที่แข็งแกร่ง
5. ธุรกิจบริหารจัดการอาคาร:
รับดำเนินงานบริหารจัดการอาคารประเภท Mix Used Complex ทั้งศูนย์การค้า อาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัย
6. การสื่อสารการตลาด:
เพื่อบริหารจัดการด้านการตลาดอย่างครบวงจรให้แก่ร้านค้าและโครงการอสังหาริมทรัพย์ในเครือ
7. ธุรกิจค้าปลีก:
พัฒนาศักยภาพของ SME ในเมืองสุขสยาม และร้านไอคอนคราฟต์ ขยายธุรกิจนี้ให้เป็นรูปแบบ Franchise ในต่างประเทศ มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการไทยรายย่อยรวมทั้งผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสให้ได้มีสถานที่จำหน่ายสินค้าชั้นนำของท้องถิ่นที่ผลิตจากจากชุมชน 77 จังหวัด

จุดแข็งของ “สยามพิวรรธน์”
- ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก ที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านธุรกิจและได้รับรางวัลระดับโลก
– มีกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอ
จากรายได้ค่าเช่าและบริการที่มีสัญญารองรับ อีกทั้งมีทำเลทองที่ตั้งของศูนย์การค้า โดยเฉพาะใจกลางย่านสยาม ที่มีฐานลูกค้ามาใช้บริการวันละหลายแสนคน
– ผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง
ทริสเรทติ้งคาดว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทจะฟื้นตัวตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป แม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในปี 2563-2564

ทำไม “สยามพิวรรธน์” ถึงระดมเงินทุนในรูปของ Perpetual Bond?
Did you know?:
– การออกหุ้นกู้ Perpetual Bond ทางบัญชีบริษัทจะบันทึกหุ้นกู้นี้อยู่ในส่วนทุนของบริษัท
– ซึ่งบริษัทจัดอันดับเครดิต จะจัดอันดับเครดิตโดยให้หุ้นกู้ชนิดนี้เป็นทุนของบริษัทเพียง 5 ปี เมื่อเข้าปีที่ 6 จะย้ายประเภทหุ้นกู้นี้จากส่วนทุน ไปเป็นหนี้สินทั้งจำนวน
– ผู้ออกหุ้นกู้ส่วนใหญ่ที่มีฐานะการเงินดี จึงมีแรงจูงใจเลือกใช้สิทธิขอไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อครบกำหนดปีที่ 5 (แต่ก็สามารถเลือกไม่ไถ่ถอนก็ได้เช่นกัน)

ทำไม “สยามพิวรรธน์” ถึงระดมเงินทุนในรูปของ Perpetual Bond?
1. รักษาสัดส่วนของหนี้สินที่มีดอกเบี้ย ต่อส่วนของทุนในระดับต่ำ* การกำกับดูแลนโยบายดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ ทำให้บริษัทได้รับการยอมรับและได้รับความเชื่อถือว่า มีฐานะการเงินที่มั่นคงเสมอมา
* ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 บริษัทมีอัตราส่วน “หนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น” อยู่ในระดับ 0.99 เท่า (ตามงบการเงินตรวจสอบแล้วของกิจการ)
2. บริษัทไม่ต้องการก่อหนี้เพิ่ม จึงระดมทุนโดนใช้เงินทุนระยะยาวในรูปทุนแทน
3. ตอบโจทย์นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ และมองหาผลตอบแทนสม่ำเสมอ ในช่วงที่ตลาดผันผวน

ระดมเงินไปทำอะไร?
1. ชำระค่าสิทธิการเช่าที่ดินระยะยาว
2. ปรับปรุงศูนย์การค้า
3. ขยายธุรกิจสู่ New Economy
ตอบสนองต่อการใช้ชีวิตวิถีใหม่สู่อนาคต สร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มเชื่อมธุรกิจหลักกับการทำธุรกิจใหม่ ๆ ร่วมกับพันธมิตรใน Ecosystem
4. ขยายธุรกิจด้านการบริหารอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมในอีก 1-3 ปีข้างหน้า

หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด และมีสิทธิเลื่อนชำระดอกเบี้ยโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ของบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ครั้งที่ 1/2565
การจัดอันดับเรทติ้ง
– อันดับเครดิตของบริษัท: “A-” (Stable)
– อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ (Perpetual Bond): “BBB” (Stable) *หมายเหตุ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2565
– จัดอันดับเป็น Investment Grade
อัตราดอกเบี้ย
- 5 ปีแรก 5.50% ต่อปี
– จากนั้นปรับอัตราดอกเบี้ยทุก ๆ 5 ปี อ้างอิงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ณ เวลานั้นๆ
– กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือน

รายละเอียดการจองซื้อ
– จองซื้อได้เมื่อไร? เปิดจองซื้อวันที่ 4-5 และ 8-9 สิงหาคม 2565
– ใครซื้อได้บ้าง? นักลงทุนสถาบัน และกลุ่ม High Net Worth
– ขั้นต่ำการจองซื้อ ขั้นต่ำ 1 ล้านบาท และทวีคูณ 1 ล้านบาท
– ติดต่อสอบถามได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โทร.02-777-6784
– บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) โทร.02-779-9000
– บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร.02-658-8951
– บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด โทร.02-680-4004
– บริษัท หลักทรัพย์ ไอ วี โกลบอล จำกัด (มหาชน) โทร.02-658-5788
