วิเคราะห์นโยบายขึ้นค่าแรง กับผลกระทบหุ้นไทย | Right Now Brief Ep.42
[คุณกระทรวง]
ประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450 บาท ของนโยบายพรรคก้าวไกล นับว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และภาครัฐ มาร่วมทำข้อตกลงกัน จึงใช้ระยะเวลาในการพิจารณาดำเนินการเป็นเวลานาน
[คุณทิวา]
กลุ่มหุ้นที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการขึ้นค่าแรง คือ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เนื่องด้วยการก่อสร้างจะต้องทำแผนคำนวณงบประมาณการใช้จ่าย จึงจะสามารถเสนอดำเนินโครงการนั้น ๆ ได้ ดังนั้น ลูกจ้างจึงไม่สามารถปรับค่าแรงขึ้นตามนโยบายภาครัฐได้
ต่อมาเป็นกลุ่มโรงงานที่มีลักษณะ B2B / B2C ที่ใช้จำนวนคนในการผลิต เช่น โรงงานอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานอาหารส่งออก โรงงานผลิตขนม เป็นต้น
ส่วนหุ้นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการปรับขึ้นค่าแรง คือ กลุ่มบริโภคภายใน กลุ่มไอที กลุ่มไฟแนนซ์ กลุ่มนอนแบงก์ กลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น
[คุณไพบูลย์]
นโยบายการขึ้นค่าแรงอาจจะเป็นนโยบายที่ยังไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้คนบางกลุ่ม เพราะการควมคุมให้ค่าแรงของแรงงานทั้งประเทศมีราคาที่เท่ากัน เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ซึ่งบางพื้นที่อาจขึ้นค่าแรงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของอุตสาหกรรม และอาจนำมาสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
เช่น นโยบายการแจกเงิน สำหรับคนบางกลุ่มนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการหรือไม่เดือดร้อน ก็อาจมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
[คุณกวี]
หุ้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขึ้นค่าแรง
-รับเหมาก่อสร้าง
-อสังหาริมทรัพย์
-นิคมอุตสาหกรรม
หุ้นที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
-การส่งออก
-พลังงาน
หุ้นที่ได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจไทย
-กลุ่มโรงพยาบาล
-กลุ่มโรงแรม
-กลุ่มธนาคาร
-กลุ่มค้าปลีก
[ดร.นิเวศน์]
การปรับค่าแรงมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ เป็นผลดีกับแรงงาน เนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นผลเสียให้กับผู้ประกอบการ เพราะไม่สามารถปรับต้นทุนสินค้าได้ ดังนั้นผลกระทบที่ตามมาในอนาคตอาจเกิดการปิดตัวลงของกิจการต่างๆ และผู้คนตกงาน