Lockdown ยังไง? เศรษฐกิจถึงเจ็บแต่จบ

767

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

ถามอีก กับ ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และ ดร.เม่น ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
*สัมภาษณ์วันที่ 20 กรกฎาคม 2564

 Lockdown ยังไง? เศรษฐกิจถึงเจ็บแต่จบ

ประเด็นเศรษฐกิจที่น่ากังวลที่สุดในตอนนี้ในมุมมอง ดร. ดอน คืออะไร 

ดร.ดอน กล่าวว่า สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ การระบาดระลอกใหม่อาจจะกระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้  และรายย่อยไม่มีเงินมากพอเพื่อดำรงชีวิต ซึ่งเสี่ยงทำให้เกิดการ “ผิดชำระหนี้ในวงกว้าง” อีกทั้งบาดแผลทางเศรษฐกิจระยะสั้นที่รุนแรงและยาวนาน อาจกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวได้

อะไรคือปัจจัยที่ต้องจับตามอง เนื่องจากมีผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ

ดร.สมประวิณ มองว่าปัจจัยที่ต้องจับตามอง ได้แก่ ความเข้มข้นของการ Lock Down ว่ามีผลมากแค่ไหน ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนเร็วแค่ไหน และวัคซีนที่ฉีดไปแล้วมีผลในการป้องกันการติดเชื้อมากแค่ไหน ปัจจัยเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ

มุมมองต่อการแก้ปัญหา “หนี้” ที่เหมาะสมที่สุด คืออะไร 

ดร.ดอนมองว่ามาตรการการแก้ปัญหาหนี้สินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทำมีหลายรูปแบบ 

ประการแรก คือนโยบายพักทรัพย์ พักหนี้ ปัจจุบันจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอาจยังไม่มากนัก เนื่องจากกำลังรอประกาศการยกเว้นภาษีจากการโอนความเป็นเจ้าของ โดยคาดว่าหลังจากมีประกาศแล้วจะมีผู้เข้าร่วมโครงการมากขึ้น 

ประการที่สอง คือนโยบายพักเงินต้น พักดอกเบี้ย ซึ่งแม้จะมีเสียงสะท้อนว่าอยากให้หยุดการคำนวณเบี้ยแทนการพักชำระ แต่การหยุดดอกเบี้ยจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงินซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจ จึงอาจจะไม่สามารถทำได้

ทางออกที่เหมาะสมที่สุด คือ การปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นทางออกที่รายย่อยและธนาคารพาณิชย์มาเจอกันคนละครึ่งทาง โดยการยืดระยะเวลาชำระหนี้พร้อม ๆ กับการลดต้นลดดอก

“หยุดรายจ่ายได้ แต่คนไม่ได้หยุดหายใจ” นโยบายที่จำเป็นตอนนี้คือช่วย “เติมรายได้” แต่จะต้องให้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.สมประวิณ มองว่ามาตรการอัดฉีดเงินมีความจำเป็นต่อการอยู่รอดของประชาชน แต่การนำมาตรการนี้มาใช้จะต้อง  ‘เยอะพอ ครอบคลุมพอ และยาวพอ’ 

“เยอะพอ” คือจำนวนเงินที่ให้ต้องเยอะพอ นั่นคือพอกิน พอใช้  

“ครอบคลุมพอ” เนื่องจากสถานการณ์ตอนนี้ประชาชนเดือดร้อนจำนวนมาก หากสามารถอัดฉีดเงินให้ทุกคนโดยไม่ต้องมีการลงทะเบียน ประชาชนจะได้รับรายได้ส่วนนี้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว 

“ยาวพอ” คือระยะเวลาการช่วยเหลือต้องยาวเพียงพอ แต่ที่สำคัญคือการสื่อสาร การบอกล่วงหน้าว่าจะช่วยเหลือกี่เดือน ได้ผลดีกว่าการบอกทีละเดือน ๆ เพราะจะช่วยให้ประชาชนสามารถวางแผนการใช้สอยได้ดีกว่า อีกทั้งยังส่งผลที่ดีต่อจิตใจของประชาชนด้วย 

#ถามทันที |  Lockdown ยังไง? เศรษฐกิจถึงเจ็บแต่จบ

ถามอีก กับ ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

และ ดร.เม่น ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

คุยอะไรกันบ้าง?

03:28 ดร.ดอน อะไรที่น่ากังวลมากที่สุดตอนนี้?

15:10 เมืองนอกเริ่มกลับมาติดเชื้ออีกรอบ ส่งออกจะกระทบหรือไม่?

20:00 ในประเทศ ดร.สมประวิณ กังวลอะไร?

24:40 มาตรการช่วยเหลือที่มาออกตอนนี้ อันไหนได้ผล?

42:03 ปัจจัยอะไรจะเป็นสาเหตุทำให้ธนาคารพาณิชย์ล่มสลายได้?

44:35 ถ้า Vaccine มาทันไตรมาส 4 แล้วเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นได้ตอนไหน?

51:30 หลังจบโควิด-19 อะไรรอเราอยู่?

58:05 ทำยังไงต่างชาติถึงจะกลับมา?

โดย อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข, AFPT

#TamEigPodcast ฟังแบบเนื้อ ๆ ไม่มีเม้นท์ ได้ที่ Podcast

ถามอีกกับอิก TE 265 | Lockdown ยังไง? เศรษฐกิจถึงเจ็บแต่จบ

ถ้ามีประโยชน์และชื่นชอบ อย่าลืม subscribe และให้ดาวนะคร้าบ

คลิกเพื่อฟังทาง Apple podcast

คลิกเพื่อฟังทาง Soundcloud

คลิกเพื่อฟังทาง Spotify

คลิกเพื่อฟังทาง Google podcast

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

767

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!