#ลงทุนนอกโลก โดยเพจ #ถามอีกกับอิก
วันก่อนผมฟังไอเดียของคุณ Howard Marks อภิมหาเศรษฐีที่มีความมั่งคั่ง 6.6 หมื่นล้านบาท และบริหารสินทรัพย์ของลูกค้ามูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท
เหมาะมากสำหรับผู้จัดการกองทุนและนักลงทุนรายย่อยอย่างพวกเราสามารถเรียนรู้ได้ เลยอยากมาแชร์ให้ฟังครับ
==========
“คนเรามักจะมีอคติกับข้อมูลที่เราได้รับ”
1. ยกตัวอย่างเรื่องไวรัสก็ได้ครับจะได้เห็นภาพชัด ๆ
“ถ้าคุณอ่านเฉพาะบทความ หรือข่าวที่เป็นในแง่บวก” คุณก็คงจะคิดว่าในท้ายที่สุด ไวรัสก็ต้องถูกกำจัดไป และเศรษฐกิจก็จะฟื้นกลับขึ้นมาได้อย่างแข็งแกร่ง
แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณเป็นคนที่อ่านเฉพาะข่าวร้าย เห็นแต่ข่าวลบๆ เราก็คงจะคิดว่าในท้ายที่สุด เราเนี่ยแหละที่จะเสร็จเจ้าไวรัสตัวร้าย
2. อันนี้ผมว่าจริงเลยครับ และคิดว่าเป็นกับทุกๆเรื่องเลยนะครับ ไม่ใช่เรื่องไวรัส
3. ข้อแตกต่างระหว่าง คนที่มีมุมมองบวกและมีมุมมองลบ ส่วนใหญ่จะมาจากธรรมชาติของคนนั้น ๆ ว่าเป็นคนยังไง (เคยผ่านอะไรมาในชีวิต) และข้อมูลแบบไหนที่เราเลือกจะเสพ และเลือกที่จะให้น้ำหนักมากกว่า
4. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตมันจะประกอบไปด้วยหลายปัจจัยครับ
และมันไม่ใช่การเอาปัจจัยบวกมารวมกับปัจจัยลบ แล้วจะรู้ผลลัพธ์ว่าเหตุการณ์จะดีหรือไม่ดีในอนาคต
แต่สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือต้องรู้ว่าปัจจัยไหนที่มีอิทธิพลมากที่สุด ปัจจัยไหนที่สำคัญที่สุดต่างหาก
5. และนั่นจะเป็นส่ิงที่ทำให้คนมีมุมมองที่แตกต่างกันครับ คนที่มองโลกในแง่ดีก็จะเชียร์จากข้อมูลบวกเท่านั้น ส่วนคนที่มองโลกในแง่ร้ายก็มักจะเลือกที่จะมองแต่ข้อมูลเชิงลบ
แม้ว่าจะได้ข้อมูลชุดเดียวกัน แต่เรามักจะมองสิ่งที่สำคัญที่สุดในมุมที่ต่างกันนั่นเองครับ
==========
ตลาดหุ้นถึงจุดต่ำสุดหรือยัง? คำถามสุดจะคลาสสิค
1. “จุดต่ำสุด คือวันที่วันถัดไป หุ้นจะเด้งขึ้น” เป็นคำตอบกวน ๆ แต่จริง ๆ แล้วแกพยายามอธิบายว่า
ก่อนอื่นต้องทำความเช้าใจก่อนว่าไม่มีใครที่สามารถบอกได้ว่าจุดต่ำสุดของรอบนั้น ๆ จะอยู่ที่ตรงไหน
2. สิ่งที่ Oaktree ทำ คือ จะซื้อหุ้นก็ต่อเมื่อเห็นว่าหุ้นที่มีคุณภาพดี ร่วงลงมา จนมีราคาถูกครับ
และบทเรียนที่สำคัญคือ “แม้ว่าเราจะไม่รู้ว่าจุดต่ำสุดอยู่ที่ตรงไหน แต่การที่เข้าใจว่าสถานการณ์แบบไหนที่ทำให้ราคาหุ้นมีราคาถูกต่างหากละ ที่มีความสำคัญมาก ๆ”
3. การที่เราเห็นราคาหุ้นตกลงมาและมีแรงขายออกมามากมาย เพราะฉะนั้นคุณ Marks จึงมองว่าเหมาะมากสำหรับการลงทุน แม้ว่าจะไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดก็ตามครับ
4.ไม่มีใครเถียงว่า คุณควรจะจัดหนักจัดเต็มซื้อหุ้นวันนี้หรือไม่ แต่ก็ไม่มีใครเถียงว่าคุณว่า คุณไม่ควรจะเริ่มลงทุนวันนี้เสียเลย
==========
ถึงเวลาซื้อแล้วหรือยัง?
1. มีคนถามคำถามนี้เยอะมากๆครับ ว่าถึงเวลาในการซื้อสะสมหุ้นแล้วหรือยัง
2. “คำตอบของผมคือ ใช่ครับ มันเป็นจังหวะในการซื้อหุ้น” สิ่งที่บอกได้แน่ ๆ คือ ตอนนี้ราคาหุ้นวันนี้ต่ำกว่าเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว
3. คุณ Howard Marks มองว่ามันเป็นจังหวะที่โอเค ที่จะซื้อหุ้นบ้างบางส่วน เพราะตอนนี้ราคาหุ้นถูกลงมากแล้ว
4. แต่ก็ไม่ควรที่จะจัดหนักจัดเต็ม ขายบ้านขายรถ แล้วทุ่มซื้อหุ้นหมดตัวนะครับ
5. “หุ้นอาจจะฟื้นตัวแรงและวิ่งฉิว และคุณก็คงรู้สึกดีใจที่ได้ซื้อหุ้นบางส่วน” แต่! หุ้นเองก็อาจจะร่วงลงต่อได้อีก
และถ้าคุณยังมีเงินเหลืออยู่ก็คงจะเป็นจังหวะในการซื้อเพิ่มเติม
6. สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องเตรียมความพร้อมรับมือและลงทุนให้ได้ประโยชน์จากการที่ตลาดร่วงลงหนักครับ แต่ไม่ใช่การทุ่มลงทุนสุดตัว หรือการขายล้างพอร์ต
7. ในโลกการลงทุนไม่มีความแน่นอนหรอกครับ โดยเฉพาะทุกวันนี้ ยิ่งมีความไม่แน่นอนมากขึ้นไปอีก
==========
สไตล์การลงทุนของ Oaktree เป็นแบบชาวสวนครับ
1. ก่อนหน้านี้หลายปี เป็นข่วงที่นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าสถานการณ์ดีมาก ทุกอย่างดูสวยหรู แต่ Oaktree กลับเชื่อว่าราคาสินทรัพย์มีราคาแพง และมองว่ามีความเสี่ยงในการลงทุน
เพราะฉะนั้นทาง Oaktree ก็เลยลงทุนแบบระมัดระวังมาโดยตลอดครับ
2. คุณ Howard Marks ยังอ้างถึงคุณปู่บัฟเฟตต์ ที่บอกว่าคุณปู่ชอบแฮมเบอร์เกอร์ อย่างมาก
และเมื่อราคาแฮมเบอร์เกอร์ ลดลงมามาก เค้าก็จะกินแฮมเบอร์เกอร์ได้จำนวนมากขึ้น
3. “เวลาที่ดีที่สุดในการซื้อ จะมาตอนที่ไม่มีใครอยากจะซื้อ” และการที่คนไม่อยากซื้อหุ้นนี่แหละครับที่จะทำให้ราคาหุ้นถูกลง
4. แต่การที่คนอื่นไม่กล้าซื้อหุ้น ก็จะเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิทยาของเราเหมือนกันครับ แต่คนที่เป็นนักลงทุนแบบชาวสวนต้องปล่อยวางความรุ้สึกเหล่านั้น และแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ
5. “การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนรอบใหญ่ มักจะเริ่มจากความไม่สบายอก สบายใจ” และตอนนี้สิ่งนึงที่ผมรู้คือ ตอนนี้มีความไม่สบายอก ไม่สบายใจในการลงทุนอย่างมาก
เพราะฉะนั้นเค้าเลยมองว่าเป็นจังหวะในการลงทุนครับ
==========
“หน้าที่ของผู้จัดการกองทุนคือการจัดพอร์ต” แต่นักลงทุนรายย่อยก็ควรทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน
1. คุณ Howard Marks มองว่าหน้าที่ที่สำคัญของผู้จัดการกองทุนในระยะกลาง ไม่ใช่การตัดสินใจว่าจะเอาเงินไปลงทุนในหุ้น หรือ พันธบัตรเท่าไหร่
ไม่ใช่การจัดพอร์ตว่าจะลงทุนในหุ้นสหรัฐหรือหุ้นต่างประเทศ
ไม่ใช่การจัดพอร์ตว่าจะลงทุนในตลาดพัฒนาแล้วหรือตลาดกำลังพัฒนา
ไม่ใช่เลือกลงทุนในหุ้นใหญ่หรือหุ้นเล็ก, หุ้นมีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพ, หุ้นเติบโตหรือหุ้นคุณค่า
2. แต่สิ่งที่สำคัญมากที่สุด คือ การสร้างความสมดุลระหว่างกลยุทธ์เชิงรุก หรือกลยุทธ์เชิงรับ ต่างหากครับ
“ถ้าคุณมองออกว่าช่วงไหนควรใช้กลยุทธ์แบบไหน ก็จะทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวครับ”
3. คำแนะนำคือ การลองชั่งน้ำหนัก กับความเสี่ยงที่ เรียกเล่น ๆ ว่าเป็นความเสี่ยงฝาแฝดกัน
คือหนึ่ง ความเสี่ยงที่เราจะเสียตัง กับความเสี่ยงที่จะพลาดโอกาสดี ๆ ไป (ตกรถว่างั้นเถือครับ)
4. การที่คุณลดความเสี่ยงอันหนึ่งลงไป จะทำให้คุณมีความเสี่ยงอีกด้านในทันทีครับ
5. เมื่อไหร่ก็ตามที่ทุกอย่างเป็นใจ, แนวโน้มกำไรดี, ราคาไม่แพงมากเมื่อเทียบกับพื้นฐาน : กรณีนี้นักลงทุนก็ควรจะใช้กลยุทธ์แบบเชิงรุก
แต่ถ้าทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่หวัง, กำไรของบริษัทจดทะเบียนกำลังจะถูกบั่นทอนไป และ valuation สูง : กรณีนี้นักลงทุนควรใช้กลยุทธ์แบบตั้งรับ
6. คุณ Marks มองว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโลกการลงทุนมีสถานการณ์ที่ไม่ปกติครับ
ทั้งความไม่แน่นอนมากกว่าปกติ, ให้ผลตอบแทนที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินแบบสุด ๆ, ราคาสินทรัพย์มีราคาแพง และ นักลงทุนยอมเสี่ยงเพื่อที่จะคาดหวังว่าอยากได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น
7. ปกติแล้ว Oaktree จะลงทุนแบบเต็มเหนี่ยวอยู่แล้วครับ แต่ก็ลงทุนแบบระมัดระวัง โดยเลือกที่จะจัดพอร์ตเป็นแบบตั้งรับทำให้ผลตอบแทนในบางปีอาจจะไม่ได้สวยมากนัก
แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะเอาตัวรอดไ้ด้จากภาวะที่ตลาดหุ้นร่วงหนักครับ
==========
“สถานการณ์ตอนนี้เริ่มเปลี่ยนไปจากเมื่อ 2-24 เดือนที่แล้ว”
1.ตอนนี้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้รับรู้ และทุกคนเข้าใจความเสี่ยงแล้วครับ (ที่เกิดจากโควิด-19)
2.ความคาดหวังผลตอบแทนได้เปลี่ยนจากเล็กน้อย กลายเป็นตอนนี้น่าดึงดูดมากขึ้น (สังเกตจากผลตอบแทนผลตอบแทนพันธบัตร หรือกลุ่มพลังงานเองก็ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจจาก 3.5% เป็นเกือบ 9% ครับ)
3. ในขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็เริ่มเข็ด เริ่มไม่บู๊ ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเท่าไหร่แล้ว
4. แต่คุณ Howard Marks ก็บอกแหละครับว่าพื้นฐานของหุ้นพังก็จริง และมีโอกาสพังไปมากกว่านี้ด้วย
และเชื้อโรคมันก็จะยังเป็นต้นเหตุของความเสี่ยง
5. แต่อย่าลืมว่า มันมีความแตกต่างมาก ๆ ระหว่างตลาดที่ไม่มีใครเห็นข้อผิดพลาด กับตลาดที่มีคนล้มเลิกไม่อยากลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงแล้ว
6. แน่นอนว่านักลงทุนที่ระมัดระวังในการลงทุนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็จะขาดทุนน้อยกว่าและพอใจเมื่อเทียบกับผลตอบแทนคนอื่น
และจะมีเวลาในการมองหาหุ้นดีที่มีราคาถูก เพราะฉะนั้นจึงมองว่านักลงทุนที่เคยระมัดระวังการลงทุนควรปรับมุมมอง ให้เป็นกลางหรือควรกล้าที่จะลงทุน และปรับโหมดเป็นเชิงรุกซึ่งขึ้นอยู่กับว่า ตัวเค้ามั่นใจแค่ไหน ที่ต้องการอยากจะคว้าโอกาสในการลงทุนในรอบนั้น ๆ
7. แต่เค้ายืนยันนะครับว่า ไม่ได้มองว่าแนวโน้มจะดีนะ แต่แค่บอกว่ามันเป็นสถานการณ์ที่ควรเปิดเกมรุกได้แล้ว
8. ในเมื่อคุณคาดหวังว่าจะเห็นข่าวร้ายมากขึ้น และรู้สึกว่าตลาดหุ้นจะร่วงลงต่อ
คำถามคือ มันเร็วเกินไปที่จะเริ่มซื้อหรือไม่ หรือ ควรจะรอให้ถึงจุดต่ำสุดก่อนแล้วค่อยซื้อ
แต่ชีวิตจริงไม่มีใครรู้ว่าจุดต่ำสุดอยู่ตรงไหน หรือจริงๆแล้วเราอาจจะผ่านพื้นจุดต่ำสุดไปแล้วก็เป็นได้ ใครจะไปรู้
==========
“ข้อคิดสำหรับคนที่อยากซื้อหุ้น ณ จุดต่ำสุด”
- บางคนก็อาจจะบอกว่า ฉันจะยังไม่ซื้อหุ้นจนกว่าจะเห็นจุดต่ำสุด และตลาดเริ่มกลับตัวเป็นขาขึ้น
นั่นหมายความว่าคุณตั้งใจอยากจะพลาดจุดต่ำสุด
2. นอกจากนี้ตลาดจะฟื้นตัวขึ้นก็ต่อเมื่อแรงขายลดลง และ มีแรงซื้อเข้ามาซึ่งจะช่วยกันผลักดันให้ตลาดเป็นขาขึ้นได้
เพราะฉะนั้นนักลงทุนที่ต้องการอยากจะซื้อ ควรจะซื้อช่วงที่ตลาดร่วงลงมา เพราะนั่นเป็นช่วงที่คนขายรู้สึกอยากขายแบบด่วน ๆ
3. “การที่มัวแต่รอซื้อที่จุดต่ำสุด จะทำให้เราพลาดโอกาสในการซื้อที่ดี” เป้าหมายของนักลงทุนควรจะเป็นการซื้อหุ้นที่มีคุณภาพดีบ่อยๆ (แต่ไม่จำเป็นต้องเป็น ณ จุดต่ำสุด)
ไม่ใช่การซื้อหุ้นที่สมบูรณ์แบบ (ซื้อ ณ จุดต่ำสุด) เพียงแค่ไม่กี่ครั้ง
4.ข่าวร้าย ๆ จะทำให้เราทำใจลำบากในการที่จะเข้าซื้อหุ้น เพราะเป็นช่วงที่ราคาหุ้นกำลังพัง
และหลายคนก็จะบอกว่า ผมจะไม่มีวันที่จะเอามือไปรับมีดที่กำลังร่วงลงมา
5. ตามสถิตินับตั้งแต่ 1950 มีเหตุการณ์ที่ตลาดเกิดภาวะตลาดหมี 15 ครั้ง มีไม่กี่ครั้งที่ตลาดร่วงต่อในช่วง 3 เดือน
พูดง่าย ๆ คือ ส่วนใหญ่มักจะฟื้นขึ้นมาได้ภายใน 3 เดือนหลังร่วงหนักๆ
6. เช่นในช่วง เดือน 1 กันยายน ปี 2000-4 เม.ย. ปี 2001 ตอนนั้นตลาดร่วงหนัก 27% แต่หลังจากนั้น ช่วง 4 เม.ย. 2001 – 21 พ.ค. 2001 ตลาดฟื้นแรง 19%
ส่วนช่วง 21 พ.ค. 2001 – 21 ก.ย.2001 ตลาดร่วง 26% และฟื้น 21 ก.ย. 2001 – 19 มี.ค. 2002 ตลาดก็ฟื้น 22%
ส่วน 19 มี.ค. 2002 – 9 ก.ย. 2002 ตลาดร่วง 33%
ส่วน 9 ตค. 2007-10 มี.ค. 2008 ตลาดร่วง 18% ก่อนที่จะฟื้นในช่วง 10 มี.ค. 2008 – 19 พ.ค. 2008 ฟื้น 12%
ในขณะที่ช่วง 19 พ.ค. 2008 – 20 พ.ย. 2008 ร่วงหนัก 47% ก่อนที่จะฟื้น 20 พ.ย. 2008 – 6 ม.ค. 2009 ฟื้น 25%
และร่วง 6 ม.ค. 2009 – 9 มี.ค. 2009 ร่วง 27%
7. ข้อสังเกตคือทุกรอบที่ตลาดขึ้นหรือลง มันจะเป็นช่วงที่มีการชักเย่อไป ชักเย่อกันมา ระหว่างแรงซื้อและแรงขาย
8. เพราะฉะนั้นสรุปคือ ตลาดหุ้นมีโอกาสร่วงหนักไปอีกในช่วงหลายเดือนข้างหน้า
และตอนนี้ Oaktree เริ่มซื้อหุ้นก็ต่อเมื่อ เจอหุ้นที่ดี และราคาร่วงลงมาอยู่ในจุด ที่มีราคาเหมาะสม
========
แสดงความคิดเห็นกันได้นะครับ ถ้าชื่นชอบ #ลงทุนนอกโลก โดย เพจ #ถามอีกกับอิก ฝากแชร์ด้วยนะค้าบ 🙂
========
เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต
อิสรภาพชีวิต !! อยู่ไหนก็ไม่พลาด อย่าลืมกดติดตามนะครับ หรือเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้เลย
ส่งข่าวสารถึงมือผ่าน Line@: http://bit.ly/TAM-EIG_LINE
คลิกเลย