เลือกธีมอย่างไร ในช่วงวิกฤตรัสเซีย ดอกเบี้ยขึ้น เงินเฟ้อสูง

602

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

เลือกธีมอย่างไร ในช่วงวิกฤตรัสเซีย ดอกเบี้ยขึ้น เงินเฟ้อสูง
*สัมภาษณ์ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์การลงทุน บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) ได้พูดถึงสถานการณ์ที่ต้องจับตามองในเวลานี้ก็คือ เรื่องของการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ที่อาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยมากถึง 9 ครั้งในปีนี้ และวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศรัสเซีย-ยูเครน 

สำหรับสถานการณ์ระหว่างประเทศรัสเซีย-ยูเครนนั้น เป็นลักษณะของสงครามข่าวสาร (information warfare) เป็นการทำสงครามข้อมูล โดยไม่ได้มีเป้าหมายที่จะมีการสู้รบ แต่เน้นในเรื่องของหักล้างความจริงของฝ่ายตรงข้าม และทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถทำในสิ่งที่ต้องการอยากทำได้ในอนาคต เช่น โจ ไบเดนได้มีการบอกล่วงหน้าว่า ปูตินจะทำการบุกยูเครนแล้ว และเมื่อรัสเซียไม่ได้บุกยูเครนจริง โจ ไบเดนก็สามารถที่จะอ้างได้ว่า ฝ่ายเราได้มีการกดดันไม่ให้รัสเซียบุกได้สำเร็จ เป็นต้น ซึ่งแตกต่างไปจากการทำสงครามเย็น (Cold War) ที่จะเน้นในเรื่องของปริมาณระเบิดนิวเคลียร์ที่มีอยู่ในแต่ละประเทศ

ส่วนการที่ FED อาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ย 9 ครั้งในปีนี้นั้น ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา การปรับอัตราดอกเบี้ย 9 ครั้งไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด และมีความเป็นไปได้สูงที่ทาง FED จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ย 9 ครั้ง เนื่องจากเป็นแนวทางที่เคยสามารถจัดการกับภาวะเงินเฟ้อได้ ซึ่งดร.จิติพลมองว่า แนวทางเดียวที่จะสามารถรับมือกับภาวะเงินเฟ้อได้จริงก็คือ จะต้องทำให้ประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Repression) เพื่อเป็นการลดอุปสงค์ภายในประเทศลงไป

ดร.จิติพลได้แนะนำในการเลือกธีมให้เหมาะกับภาวะเงินเฟ้อในเวลานี้ว่า หากมาดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างรัสเซีย-ยูเครนนั้น อาจต้องมาเลือกธีมทางด้านพลังงาน ซึ่งจะต้องมาแยกแยะระหว่างธีมระยะสั้นกับธีมระยะยาว หากว่าจบเหตุการณ์นี้แล้ว ธีมที่เราลงทุนจะมีผลดีในระยะยาวหรือไม่ หากว่าธีมที่เราลงทุนไม่เป็นผลดี จะต้องออกมาก่อน 

การเลือกธีมการลงทุนนั้น หากภาวะเงินเฟ้อได้ถีบตัวสูงขึ้น แนะนำว่าควรลงทุนในธีมส่วนของอุตสาหกรรมทางด้านพลังงาน ยานยนต์หรือเทคโนโลยียุคใหม่อย่างเช่น fitech, social media หากภาวะเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในระดับต่ำได้อีกครั้ง แนะนำว่าควรลงทุนในธีมพลังงานสะอาด การค้าปลีกออนไลน์และจีโนมิกส์ ส่วนการจัดพอร์ตการลงทุนนั้น แนะนำควรมีการถือกองทุนที่มีการลงทุนทางด้านพันธบัตร (Bond) อย่างเช่นกองทุน UST ซึ่งเป็นกองทุนที่มีสัดส่วนในการถือครองพันธบัตรและสินทรัพย์โดดเด่นทั่วโลก

สุดท้าย ดร.จิติพลแนะให้จับตา 3 ข้อด้วยกัน 1. ประเทศรัสเซีย ซึ่งสถานการณ์นี้ไม่น่าจะมีการคลี่คลายได้ง่าย ๆ 2. การ Repricing เป็นความเสี่ยงจากการขึ้นดอกเบี้ย จนทำให้สินทรัพย์มีการปรับตัวลดลง และ 3.ธีมการลงทุนที่จะต้องดูว่า มีความผันผวนสูงมากน้อยแค่ไหนและดูว่าจังหวะที่เราได้ลงทุนนั้น เป็นจังหวะที่เหมาะสมหรือไม่

#ถามทันที | เลือกธีมอย่างไร ในช่วงวิกฤตรัสเซีย ดอกเบี้ยขึ้น เงินเฟ้อสูง

ถามอีก กับ ดร. จิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์การลงทุน บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย)

โดย อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข, AFPT

คุยอะไรกันบ้าง?

0:59 ประเด็นไหนควรให้น้ำหนักมากที่สุด

3:03 รัสเซีย ยูเครน การลงทุนยุคสงครามข่าวสาร

18:06 FED ขึ้นดอกเบี้ย 9 ครั้ง?

22:57 Repricing นักลงทุนปรับมุมมองต่อระดับราคา

30:00 FED ขึ้นดอกเบี้ย มีโอกาสเกิด Inverted Yield Curve?

32:33 Rotation เงินเฟ้อ และนโยบายการเงิน

41:14 ปัญหาที่ลงทุนรายย่อยมักจะเจอ

43:43 แนะนำกองทุน UST United Sustainable Thematic Select Fund

56:22 FED มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกทีเดียว 1%?

58:33 ซ้ำซ้อนกับกอง UESG?

1:02:20 ค่าธรรมเนียม

1:03:09 ไอเดียการจัดพอร์ต

1:07:51 ทิ้งท้าย

#TamEigPodcast ฟังแบบเนื้อ ๆ ไม่มีเม้นท์ ได้ที่ Podcast

ถามอีกกับอิก TE 436 | เลือกธีมอย่างไร ในช่วงวิกฤตรัสเซีย ดอกเบี้ยขึ้น เงินเฟ้อสูง

รายงานประชุมเฟด รัสเซีย-ยูเครน ทุบฟองสบู่เศรษฐกิจโลก

ถ้ามีประโยชน์และชื่นชอบ อย่าลืม subscribe และให้ดาวนะคร้าบ

คลิกเพื่อฟังทาง Apple podcast

คลิกเพื่อฟังทาง Soundcloud

คลิกเพื่อฟังทาง Spotify

คลิกเพื่อฟังทาง Google podcast

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

602

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!