เงินเฟ้อ กระทบชีวิตเราอย่างไร? TAM-EIG 2 years ago อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาดFacebook | Youtube | Line | Website เงินเฟ้อ กระทบชีวิตเราอย่างไร?ที่มา: รายการ Right Now by Eig Banphot วันที่ 27 มิ.ย.65ดูคลิปเต็มได้ที่ คลิกดูคลิป ปัญหาเงินเฟ้อที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ เกิดจากปัจจัยหลัก ๆ 4 เรื่อง1. การเปิดเมืองหลังการ Lock downหลังจากที่มีการปิดเมืองรับมือกับวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 มานาน การเปิดเมืองทำให้ demand กลับมาเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของ supply เช่น โรงแรม หรือสายการบิน เมื่อ supply ที่กลับมาโตตามไม่ทันกับ demand ที่เพิ่มขึ้น ราคาจึงค่อย ๆ ขยับขึ้น เนื่องจากของมีไม่พอ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยนี้น่าจะค่อย ๆ ดีขึ้น 2. ราคาน้ำมัน ดร.พิพัฒน์ มองว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาใหญ่มาก และไม่มีใครรู้ว่าจะจบตรงไหน สงครามรัสเซียยู-เครนที่เกิดขึ้นทำให้ ยุโรปต้องคว่ำบาตรรัสเซีย นั่นแปลว่ายุโรปต้องไปหาที่ซื้อน้ำมันแหล่งใหม่ น้ำมันจากรัสเซียที่เคยขายให้ยุโรป ทุกวันนี้ก็ขายไม่ได้ ต้องไปหาคนซื้อใหม่ ในภาพรวม supply ที่อยู่ในตลาดรวมกันอาจจะหายไปบางส่วนทำให้ supply ในตลาดโลกลดลง เป็นอีกหนึ่งปัญหา “ปกติเวลาราคาน้ำมันสูง จะเริ่มมีการขุดน้ำมันหลุมใหม่ ที่รู้ว่ามีน้ำมันอยู่แต่เคยไม่คุ้มที่จะขุด ซึ่งรอบนี้ราคาน้ำมันสูงขึ้นมาช้ามาก แสดงให้เห็นว่าบริษัทน้ำมันไม่กล้าลงทุนเพิ่ม เหตุการณ์แบบนี้เรียกว่า – Greenflation -สังเกตว่าราคาน้ำมันผันผวนมากขึ้นลงทีละ 4 – 5% แสดงว่า demand – supply มันค่อนข้าง tight มาก” ก่อนวิกฤตโควิด-19 หรือแม้กระทั่งตอนช่วงเกิดโควิด-19 สังคมมีการหารือเกี่ยวกับ Cop 26 หรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างมาก ทุกฝ่ายพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าหลังจากนี้จะเลิกใช้น้ำมัน โลกจะหันไปใช้รถไฟฟ้า เมื่อบริษัทน้ำมันเห็นแนวโน้มแบบนี้ก็ระงับการลงทุนใหม่ ๆ เพราะหากโลกเลิกใช้น้ำมันกันหมดการลงทุนนี้ก็ไม่คุ้ม เห็นได้ชัดว่าการตอบสนองของ supply ต่อราคาที่สูงขึ้นในปัจจุบันเป็นไปอย่างช้ามาก ๆ ซึ่งเกิดจาก under investment หรือการลงทุนที่ไม่เพียงพอ 3. การเปลี่ยนไปของ Globalization trendSupply chain globalization เทรนด์การผลิตที่ทั่วโลกเคยใช้เพื่อสร้าง efficiency เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตถูกที่สุด วันนี้กำลังจะถูกแทนที่ด้วย “Supply chain resilience”“ต่อไปนี้โลกจะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มตะวันตกกับกลุ่มตะวันออก พวกฉันและพวกเธอ อันนี้เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ เพราะ 30 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่เรามีคำว่า Supply chain globalization ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลงมาตลอด เพราะเรากำลังแสวงหาจุดที่คุ้มที่สุด ถูกที่สุดในการผลิต แต่วันนี้เรากำลังเปลี่ยนไปหาจุดที่ “ปลอดภัย” ที่สุด แน่นอนต้นทุนมันจะแพงขึ้น ประเทศจีนที่เคยผลิตของถูก ๆ วันนี้ก็อาจจะไม่สามารถที่จะผลิตของที่ถูกที่สุดได้แล้ว นี่เป็นประเด็นระยะยาวแต่ว่ามันค่อย ๆ ทยอยเกิดขึ้น” สุดท้ายสินค้าก็ค่อย ๆ ขยับตัวแพงขึ้น4. Demand ที่กำลังลดลงปฎิเสธไม่ได้ว่าปัญหาเงินเฟ้อวันนี้ส่วนหนึ่งก็มาจาก demand ที่เพิ่มขึ้น จากการที่สหรัฐฯมีการกระตุ้นเศรษฐกิจมาก่อนหน้านี้มหาศาล ทั้งนโยบายการคลัง นโยบายการเงิน สิ่งที่ควรติดตามดูคือการกระตุ้นนี้จบหรือยัง? เนื่องจาก 3 ปัจจัยแรกข้างต้น การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางไม่สามารถแก้ปัญหาได้ สิ่งที่ธนาคารกลางกลัวที่สุดคือ Inflation expectation สิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่า วันนี้ต้องออกไปใช้เงิน เพราะว่าเดี๋ยวของจะแพง เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน “วันนี้ target ของเงินเฟ้อของทุกประเทศทั่วโลกคือ 2% วันนี้ไม่มีเงินเฟ้อที่ไหน 2% นะครับ สหรัฐฯนี่ขึ้นไป 8% ครึ่ง อังกฤษเพิ่งออกเมื่อคืน 9% กว่า ยุโรป 7 – 8% เมืองไทยเองก็ยัง 7% แล้วผมคิดว่าไม่จบแค่นี้ด้วย เมืองไทยอาจจะเห็น 9% 10% ได้ง่ายๆ ปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่ แล้วก็ทุกคนก็เกาหัวแกรกๆ ไม่รู้จะแก้ยังไง เพราะเราไม่เคยเจอปัญหาเงินเฟ้อมา 30 40 ปีแล้ว”แล้วเงินเฟ้อ กระทบชีวิตพวกเราอย่างไร?-ทำให้ค่าครองชีพของเรากำลังสูงขึ้น-ใครที่รายได้ไม่ได้โตตามค่าครองชีพที่สูงขึ้น นั่นแปลว่าเงินออมลดลง ความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ลดลง เงินที่จะเหลือไปใช้จ่ายต่าง ๆ ก็ลดลง “วันนี้ถ้าเราใช้เงินเติมน้ำมันหมดแล้ว เงินที่จะเหลือไปเที่ยวก็จะมีลดลง เศรษฐกิจก็จะหมุนช้าลง ความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ก็จะแย่ลง หลายคนเลยบอกว่า เงินเฟ้อนี่แหละมันเป็น taxation มันเป็นภาษีที่หนักมาก” -หลายธุรกิจ อาจจะต้องลดคนงาน-ถ้าเป็นเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ได้ดีมาก บริษัทก็จะส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปให้ลูกค้าได้ไม่เต็มที่ ถ้าเราไปดูดัชนีที่เรียกว่า PPI (Producer Price Index) วันนี้แพงกว่า CPI (Consumer price index) อีก แปลว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ เพิ่มขึ้นเร็วกว่ารายได้เยอะ เร็วกว่าการขึ้นราคาที่ผู้บริโภคจ่าย แสดงว่าต้นทุนตัวเองขึ้น แต่ว่าชาร์จลูกค้าได้ไม่มากใครที่มี pricing power สูง ต้นทุนมาแพง ขึ้นราคาไปลูกค้าก็ยังซื้ออยู่ คนที่มี pricing power จำกัด ก็จะเดือดร้อน เมื่อบริษัทกำไรลดลง สิ่งแรก ๆ ที่จะทำก็คือลดต้นทุนเพื่อรักษากำไร ซึ่งส่วนใหญ่ต้นทุนหลักก็คือ ค่าจ้างแรงงานพนักงาน เมื่อบริษัทมีการลดรายจ่ายลดกำลังการผลิตก็เกิดผลกระทบต่อการจ้างงาน ทำให้กระทบชีวิตพวกเราขึ้นไปอีก-คนมีหนี้ อาจจ่ายคืนไม่ไหว-ดอกเบี้ยที่ขึ้น ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นก็จะตามมา สภาพคล่องกำลังจะหายไปสมัยก่อนในรอบสัก 2-3 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่เกิดโควิด-19 เกือบจะทุกคน Enjoy ดอกเบี้ยต่ำ สภาพคล่องล้น เราสร้างฟองสบู่เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นคริปโต ไม่ว่าจะเป็นอะไรเต็มไปหมดเลย เพราะว่าต้นทุนทางการเงินต่ำ วันนี้ต้นทุนขยับสูงขึ้น ของที่เคยได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยถูกสภาพคล่องล้น วันนี้แตกไปทีละอย่าง high yield bond สมัยก่อนตอน กู้แค่ 4 เปอร์เซ็นต์เองนะครับ วันนี้ต้นทุนทางการเงินขึ้นไป 8 ต้องตั้งคำถามว่า คนที่กู้เงินจากเคยกู้ 4 ไปกู้ 8 ธุรกิจเขามี Cash Flow เพียงพอที่จะจ่ายไหม ความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ การผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะว่า Cash Flow มันไม่พอจ่ายดอกเบี้ยที่มันขึ้นได้เร็วขนาดนี้ #เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิตอิสรภาพชีวิต !! อยู่ไหนก็ไม่พลาด อย่าลืมกดติดตามนะครับ หรือเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้เลยส่งข่าวสารถึงมือผ่าน คลิกเลย#ถ้าไม่อยากพลาดแนวคิดการลงทุนและไอเดียการลงทุนดี ๆ อย่าลืมกด subscribe และ กดกระดิ่งนะครับ คลิกเลย