*สัมภาษณ์วันที่ 7 ธันวาคม 2564
Citigroup ออกจากตลาด Retail Banking มุ่งโฟกัสธุรกิจ Wealth Management
อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในปีนี้ เมื่อ Citigroup มองว่าต้นเองไม่มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันด้าน Retail Banking อีกต่อไป ซึ่งจะส่งผลต่อการทำกำไรของบริษัท โดยหลังจากนี้ไป Citigroup จะมีการปรับกลยุทธ์ในหลายประเทศและหันไปเน้นตลาดที่เป็น Niche (เฉพาะกลุ่ม) มากขึ้นและเป็นตลาดที่ดูแล้วมีความได้เปรียบเพื่อมุ่งสร้างประสิทธิภาพผลตอบแทนในการลงทุนมากกว่าการขยายธุรกิจ
สะท้อนความไม่มั่นใจในมุมของต่างชาติ ต่อตลาด Retail Banking ไทย?
เนื่องจาก Citigroup มองว่าตลาด Retail Banking ในไทยมีการแข่งขันสูงอยู่แล้ว ทำให้การจะเข้ามาขยายตลาดในไทยน่าจะทำได้ยาก อีกทั้งตัวแปร Macro Data อย่าง ‘หนี้ครัวเรือนในไทย’ ที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีโอกาสเพิ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้ยาก
จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปหลังจาก BAY ปรับกลยุทธ์?
เมื่อมีการรวมกิจการกัน ก็จะมีต้นทุนที่เรียกว่า Cost of Efficiency หรือ ต้นทุนที่เกิดจากการรวมกิจการที่มีสินค้าลักษณะคล้าย ๆ กัน ทำให้ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้ามาหา BAY เพราะธุรกิจมีความซ้ำซ้อนกัยแต่ก็จะเกิดการประหยัดต่อขนาดด้วย และ Loan Yield ก็น่าจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 50-60 bp. ทำให้ส่วนต่างรายได้สุทธิ (NIM) ของ BAY ดีขึ้น ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของ BAY ที่น่าจะดีขึ้นในปีหน้า เพราะยอดสินเชื่อดีขึ้น Margin ดีขึ้น กำไรดีขึ้น และ ROE ดีขึ้น
มุมมองการลงทุน
BAY เป็นหุ้นกลุ่มธนาคารที่มีการจ่ายปันผลต่ำ จึงไม่เน้นการลงทุนเพื่อเงินปันผล อีกทั้งหุ้น BAY เป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ แม้ว่าจะมีผลการดำเนินงานดีและราคาหุ้นไม่แพง แต่ก็ไปสุดทางยากเพราะนักลงทุนต่างชาติและสถาบันไม่ได้เข้ามาลงทุนจึงเป็นการซื้อขายกันระหว่างนักลงทุนรายย่อยในประเทศมากกว่า พอหุ้นมีสภาพคล่องไม่มาก ทำให้ราคาหุ้นมีความผันผวน ดังนั้นมองว่า หุ้น BAY เหมาะกับการซื้อมาขายไปมากกว่า
