โดยอิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข ที่ปรึกษาการเงิน AFPTtm จากเพจ: ถามอีก กับอิก
ไฮไลท์ ของ ปตท.สผ. ในปีที่ผ่านมาคืออะไร?
1. “ปริมาณการขายปีที่แล้ว 2019 ได้สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์” ผู้บริหารของ PTTEP พูดอย่างน่าภาคภูมิใจมากครับ โดยเป็นผลมาจากการที่เข้าซื้อสินทรัพย์ เมอร์ฟี่ และบงกช
2. ไม่ใช่แค่นี้ครับ PTTEP ยังเป็นที่หนึ่งในการเป็น supplier แก๊สในไทย, เป็นผู้ผลิตปริมาณมากที่สุดในเมียนมา, และเป็นอันดับที่ 3 ในด้านปริมาณสำรองในมาเลเซีย
3. “โดยถ้าหากมองไปข้างหน้า ปี 2019-2024 มีความคาดหมายว่าปริมาณการขายจะเพิ่มขึ้น 6% CAGR ต่อปี”
4. นอกจากปริมาณการขายแล้วสิ่งที่สำคัญคือ ปริมาณสำรอง (เพราะเป็นทรัพยกรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป) แต่ตอนนี้ไม่ต้องกังวลแล้วเพราะมีปริมาณสำรอง 7.5 ปี (จากเดิม 5 ปี)
5. ไม่ใช่แค่นี้ครับ PTTEP ยังขุดเจาะเจอก๊าซสำรองในมาเลเซียเพิ่มเติม “การดำเนินธุรกิจให้เกิดความยั่งยืนไม่ควรพึ่งพาการควบรวมกิจการ แต่ขึ้นอยู่กับการเติบโตของตัวเอง (การขุดเจาะเอง)”
6. “ปีที่แล้ว มีกำไรสุทธิ 1,569 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นมากถึง 40%” เหตุผลเป็นเพราะปริมาณการขายที่ขายได้มากขึ้น ไม่ได้เกิดจากราคาในตลาดโลกเพิ่มขึ้น
7. และมี EBITDA margin มากถึง 71%
8. หลัก ๆ แล้ว PTTEP เน้นขายแก๊ซ ธรรมชาติมากคิดเป็นสัดส่วน 71% เมื่อเทียบกับน้ำมัน 29%
ชวนมาดูกันต่อเรื่องผลการดำเนินงานที่สำคัญ ๆ กันครับ
ปกติผลการดำเนินงานของ PTTEP ขึ้นอยู่กับสามอย่าง คือ ปริมาณการขาย, ราคาขาย, และต้นทุนการขาย
1. กำไรของ PTTEP เติบโตมากถึง 40% 1,569 ล้านเหรียญ “พระเอกที่ทำให้ผลประกอบการของเราดีขึ้นคือมีปริมาณการขายที่สูงขึ้น”
2. ในปี 2019 ปริมาณการขายดีขึ้น 15%, ในขณะที่ราคาขายเพิ่มขึ้น 1% และ PTTEP สามารถรักษาต้นทุนของการขายได้เท่าเดิม “เพราะฉะนั้นการที่ปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเลยทำให้ผลการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น”
3. โดยหลัก ๆ แล้วปริมาณการผลิตก็ยังมาจากประเทศไทย แต่อนาคตจะมาจากมาเลเซียมากขึ้น
ส่วนกระแสเงินสดก็ยังแข็งแกร่ง
1. เงินสดเริ่มต้นคือ 4 พันล้านเหรียญ โดยในปี 2019 มีการซื้อกิจการค่อนข้างเยอะ และมีการลงทุน รวมถึงการจ่ายเงินปันผล ทำให้มีเงินสดในมือลดเหลือประมาณ 3 พันล้านเหรียญ
2. “ถามว่า 3 พันล้านเหรียญเยอะไหม?” จริงๆก็มากพอครับ เพราะการใช้เงินในการดำเนินงานปกติปีละ 1 พันล้านเหรียญ เพราะฉะนั้นเงินในมือมีมากพอครับ
3. ส่วนงบดุลก็เติบโตมากขึ้น จาก 1.9 หมื่นล้านเหรียญ เพิ่มเป็น 2.2 หมื่นล้านเหรียญ
4. แต่หนี้สินเพิ่มขึ้นเช่นกัน จาก 1.9 พันล้านเหรียญเป็น 3.4 พันล้านเหรียญ
5. ต้นทุนทางการเงินจากเดิมปี 2018 : 5.32% แต่ปี 2019 เหลือ 4.41%
6. D/E ก่อนหน้านี้อยู่ที่ 0.16x แต่ก็เริ่มสูงขึ้นเป็น 0.29x แต่ยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 0.5x
=======
แผนการดำเนินงานในช่วง 5 ปีของ PTTEP
1. เป้าหมายของยอดขาย PTTEP เติบโตปีละ 6% ในแต่ละปีในช่วง 5 ปีข้างหน้า
2. แต่ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ PTTEP จะเติมเข้ามาในอนาคต เช่น ปีนี้จะมีโครงการ Sabah H (น่าจะขึ้นโครงการได้ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้)
=======
เป้าหมายของ PTTEP คืออะไร?
1. กำลังการผลิตจะเพิ่มเป็น 460,000 บาร์เรล ต่อวันภายในปี 2567 เหตุผลหลัก ๆ เป็นเพราะเข้าซื้อแหล่งปิโตรเลียม และเริ่มขุดเจาะสำรวจ โดยจะเริ่ม ดำเนินการในปีนี้ เช่น แหล่งโครงการเมอร์ฟี่ ออยล์ และพาร์เท็กซ์ โฮลดิ้ง
รวมถึงการอนุมัติเข้าลงทุนในโครงการโมซัมบิก แอเรีย วัน และโครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ และโครงการที่ได้รับสัมปทานในแหล่งบงกช และเอราวัณ
2. สำหรับปีนี้ PTTEP จะเร่งสำรวจในโครงการที่มีศักยภาพสูง โดยจะเน้นการขุดเจาะและสำรวจเพิ่มในแหล่งที่ได้ทำการเข้าซื้อไปแล้วทั้งในมาเลเซีย และเมียนมา รวมประมาณ 18 หลุม
3. เหตุผลที่มองสองประเทศนี้ เพราะเป็นแหล่งที่มีตลาดรองรับแน่นอน เพราะยังมีความต้องการใช้ก๊าซอย่างต่อเนื่อง (มาเลเซียมีโรง LNG ที่ต้องการวัตถุดิบก๊าซ)
4.ส่วนโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่เมียนมา ยังไม่ได้ข้อสรุป (คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปภายในครึ่งปีแรก ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2567)
5. ปริมาณสำรองจะอยู่ที่ระดับ 7 ปีขึ้นไป
6. เน้นเรื่องการเติบโตยั่งยืนมากขึ้น
7. “PTTEP จะจ่ายเงินปันผลของปี 2019 อยู่ที่หุ้นละประมาณ 6 บาท” ซึ่งจ่ายไปแล้วครึ่งปีแรก 2.25 บาท (แต่ของครึ่งปีหลัง ขึ้น XD ไปแล้ว)
8. EBITDA margin คงอยู่ที่ประมาณ 70-75%
========
เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต
อิสรภาพชีวิต !! อยู่ไหนก็ไม่พลาด อย่าลืมกดติดตามนะครับ หรือเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้เลย
ส่งข่าวสารถึงมือผ่าน Line@: http://bit.ly/TAM-EIG_LINE
คลิกเลย