นักลงทุนกำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อมาเป็นเวลาหลายเดือน
แต่การที่ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นตอนนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางและมีการอัดฉีดเงินในช่วงที่โควิด-19 ระบาด
เงินเฟ้อเกิดจากผลกระทบจากโควิด-19 และการคว่ำบาตรรัสเซียต่อกรณีทำสงครามกับยูเครน
ปัญหาเรื่องของอุปทานน้ำมันกับสินค้าการเกษตรอย่างข้าวสาลี ทำให้ราคาน้ำมันกับอาหารเพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงสินค้าทางอุตสาหกรรม
ธนาคารกลางสหรัฐเริ่มมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวเพื่อลดภาวะเงินเฟ้อ โดยเริ่มจากการขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกและลดบัญชีงบดุลไปบางส่วน “หลังจากที่มีการขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 5 เดือนแรก ทางนักเศรษฐศาสตร์ของ Morgan Stanley คาดว่า เงินเฟ้อสหรัฐจะค่อย ๆ ผ่อนปรนลงในช่วงที่เหลือของปี 2022”
นี่ช่วยให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้นในเศรษฐกิจภาพรวมในระยะยาว และจะทำให้นักลงทุนเริ่มเบาใจกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน Stagflation ได้
ไม่ว่าจะเป็นการที่เศรษฐกิจมีการเติบโตในระดับต่ำหรือไม่เติบโตเลยในช่วงที่เงินเฟ้อสูงขึ้น โดยเฉพาะเหตุการณ์นี้เหมือนกับช่วงเศรษฐกิจสหรัฐในปี 1970
นักเศรษฐศาสตร์อย่าง Mohamed El-Erian จาก Allianz ได้กล่าวว่า แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้ แต่สหรัฐอเมริกาอาจจะต้องเจอกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน Stagflation อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ Morgan Stanely มองว่ามีหลากหลายปัจจัยที่เชื่อว่าพวกเรากำลังผ่านจุดสูงสุดของเงินเฟ้อแล้ว ทั้งการผ่อนปรนข้อพิพาทในส่วนของห่วงโซ่อุปทานและแนวทางการประเมินเงินเฟ้อ
วันนี้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งปีที่แล้วฐานต่ำมาก เป็นช่วงที่โลกเจอกับโควิด-19 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ก็ไม่อยากจับจ่ายใช้สอยและอัตราการฉีดวัคซีนสหรัฐอยู่ในระดับต่ำและกว่าจะใช้ชีวิตแบบปกตินั้นก็คงอีกนาน
ในระยะยาวภาวะเงินเฟ้อจะเริ่มค่อย ๆ ปรับตัวลดลง ในเชิงตัวเลขด้วย เพราะฐานจะสูงมากขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
Morgan Stanley ได้มองเห็นสัญญาณที่ดีว่า ปัญหาห่วงโซ่อุปทานเริ่มดีมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านพื้นจุดต่ำสุดไปแล้ว
“เรือส่งออกสินค้าของสหรัฐมีเพียงไม่กี่ลำที่ยังอยู่ที่ท่าเรือ , ค่าระวางเรือลดน้อยลง, ตอนนี้ผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่เริ่มมีสินค้ากองอยู่ในคลังจำนวนมาก”
หมายความว่าราคาที่เพิ่มสูงขึ้นที่เกิดจากภาวะขาดแคลนสินค้าจะเริ่มลดลงแล้ว โดยฝ่ายกลยุทธ์ชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐและยุโรปมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงเดือนที่ผ่านมา
หากแนวโน้มเงินเฟ้อค่อย ๆ ผ่อนปรนลง ก็เริ่มเห็นสัญญาณบางอย่างได้ดังต่อไปนี้
“อย่างแรกง่ายมากเลย แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญก็คือ เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ลดลง จะช่วยลดความตื่นตระหนกเมื่อเทียบกับช่วงที่เงินเฟ้อสูงขึ้นและยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง”
“ส่วนนี้จะช่วยให้ผู้คนลดความกลัวในตลาดเหมือนกับช่วงปี 1970 ได้”
อย่างที่สองก็คือ ความคาดหวังของนักลงทุน ว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐไม่จำเป็นต้องเพิ่มมากขึ้น แนวคิดนี้จะช่วยให้ผลตอบแทนพันธบัตรมีเสถียรภาพ ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ด้วยเช่นกัน
ข้อสังเกตคือตลาดดูเหมือนจะโฟกัสไปที่การเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความกังวลเงินเฟ้อน้อยลง
“แม้จะมีความเป็นไปได้ที่ตลาดมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะสั้น พวกเรายังคงทำการประเมินกำไรของบริษัทอย่างระมัดระวังเช่นกัน”