คุณธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.พาย ได้พูดถึงภาพรวมผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ของธนาคารว่า NPL Ratio ของธนาคารขนาดใหญ่ ได้แก่ KBank SCB BBL KTB สูงกว่าธนาคารขนาดกลางและเล็กถือเป็นเรื่องปกติ เพราะธนาคารขนาดใหญ่มีการให้สินเชื่อธุรกิจซึ่งการแก้หนี้ต้องใช้เวลา ในส่วนเรื่องการจัดการหนี้เสียและการปรับโครงหนี้ น่าจะยังคลุมเครือไปอีก 1-2 ปี อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่ทุกธนาคารพูดตรงกันและถือเป็นสัญญาณที่ดีถือ ถ้าอยู่ในสถานการณ์ปกติ สำรองหนี้จะลดลงอีก และปี 2022-2023 จะเป็นปีที่ธนาคารน่าจะเติบโตได้จากการลดสำรองหนี้
มองว่าว่าเป้าหมายของธนาคารทั้งหมดในปีนี้คงจะเน้นเรื่องของการปรับโครงสร้างนี้ในระยะยาวมากกว่าการปรับโครงสร้างหนี้ 3-6 เดือนเหมือนกับช่วงปี 2020-2021 สำหรับสิ่งที่จะเข้ามาเป็นความหวังเพื่อสร้างการเติบโตของกลุ่มธนาคารคือ การลงทุนใหม่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ EV การลงทุนใหม่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานใหม่ รวมไปถึงการเจาะฐานลูกค้าใหม่ที่กำลังเป็น Blue Ocean หรือกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารไม่เคยมีมาก่อน อย่างเช่น ลูกค้ากลุ่ม Digital Lending เพราะเมื่อโลกเริ่มเปลี่ยนไป ถึงเวลาที่อุตสาหกรรมกลุ่มธนาคารต้องปรับตัว ไม่ว่าจะด้วยพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking มากขึ้นเพราะมีความสะดวกกว่า หรือตลาดที่เปลี่ยนไป เช่น การลงทุนในต่างประเทศมีความน่าสนใจมากขึ้นและการลงทุนแค่ในเมืองไทยไม่ตอบโจทย์ ธนาคารจึงจำเป็นต้องปรับตัวหาพาร์ทเนอร์ต่างประเทศ