Typical NFT (Top-down Approach)
ลักษณะของ NFT ที่ผ่านมาคือ Creator สร้างสรรค์ผลงานออกมาแล้วนำมาขาย จากนั้นก็มีการซื้อขายเปลี่ยนมือไปเรื่อย ๆ ดังนั้น Creator จะมีบทบาทในการสร้าง Value และ Community ซึ่ง Typical NFT มีจำนวนจำกัดแค่ประมาณ 1 หมื่นชิ้น ตัวอย่างโปรเจค NFT เช่น งานศิลปะดิจิทัล และเกมต่าง ๆ
โปรเจค Loot (Bottom-up Approach)
โปรเจค Loot เป็นโปรเจคหนึ่งของ NFT ที่มีความพิเศษในเรื่องของการ Decentralize ซึ่ง Creator ไม่มีบทบาทในการสร้าง Value มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับ NFT รูปแบบดั้งเดิม
โปรเจค Loot เริ่มต้นโดย Dom Hofmann โดยการโพสต์ลง Twitter จากนั้นสุ่มปล่อยรูปภาพซึ่งเรียกว่า “กระเป๋า” ที่แต่ละรูปมีคำบรรยาย item จำนวน 8 ชิ้น ทั้งหมด 8,000 ใบ ซึ่งเริ่มต้นคนที่สนใจสามารถเป็นเจ้าของได้ฟรี โดยจ่ายเพียงค่าแก๊สในการ Mint เท่านั้น แต่ต่อมา Loot ถูก Mint จนหมดอย่างรวดเร็ว จึงเกิดโปรเจค mLoot ออกมาเพิ่มเติมอีกประมาณ 1.3 ล้านใบ โปรเจค Loot นี้ความพิเศษคือ Creator สร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ขึ้นมาก่อนที่จะสร้างการใช้งาน ทำให้เป็นโปรเจคที่ Decentralized อย่างแท้จริง ซึ่งคาดว่าจะมีโปรเจคอื่น ๆ ถูกสร้างขึ้นมาต่อยอด และอาจกลายเป็นเกมในอนาคต
โปรเจค Loot มี 3 อย่างที่โปรเจค NFT อื่น ๆ ไม่เคยทำ ได้แก่
1. mLoot มี Supply เยอะกว่าเพราะต้องการกระจายให้ได้มากที่สุด และเป็น Dynamic Supply ซึ่งจะเพิ่มขึ้นปีละ 250,000 ใบ
2.Bottom-up Approach เจ้าของโปรเจค Loot ไม่มีการเรียกเก็บ Loyalty Fee ในการขายเปลี่ยนมือเพื่อขยาย Community เหมือนกับใน Typical NFT
3. ใครก็สามารถเอาไปต่อยอดทำ Application Top-Up ได้