เรื่องภาษีเลี่ยงไม่ได้ แต่ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

19
เรื่องภาษีเลี่ยงไม่ได้ แต่ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

เรื่องภาษีเลี่ยงไม่ได้ แต่ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

#ลดหย่อนภาษี หลายคนมองว่าภาษีเป็นภาระที่หนีไม่พ้น แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง เราสามารถจัดการกับภาษีแบบมีประสิทธิภาพได้⁣

โดยเฉพาะในเรื่อง “การลดหย่อนภาษี” หากเราทำอย่างถูกต้องจะช่วยให้สามารถวางแผนอนาคตได้อย่างมั่นคงอีกด้วย⁣

วันนี้ผมเลยจะชวนเพื่อนๆมาคุยกันว่า การลดหย่อนภาษีช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้อย่างไร พร้อมแชร์เทคนิคการใช้สิทธิลดหย่อนให้คุ้มค่าที่สุด⁣

[เข้าใจก่อนว่า “เงินได้สุทธิ” คืออะไร?]⁣

ก่อนอื่นเลย เพื่อน ๆ ควรรู้ว่าการคิดภาษีในไทยใช้คำว่า “เงินได้สุทธิ” เป็นตัวตั้ง ซึ่งมาจากสมการง่าย ๆ แบบนี้:⁣

รายได้ทั้งหมด – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ⁣

ถ้าเงินได้สุทธิของเราไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี เราก็ไม่ต้องเสียภาษีเลย ⁣

แต่ถ้าเกิน เราจะต้องเริ่มเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า (ยิ่งเงินได้สุทธิมาก อัตราภาษีก็ยิ่งสูง)⁣

เพราะฉะนั้น สูตรง่ายๆเลยคือ ถ้าเพื่อน ๆ อยากเสียภาษีน้อย สิ่งที่เราทำได้คือ “ลดเงินได้สุทธิ” ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการเพิ่ม ค่าลดหย่อน นั่นเอง⁣

[ข้อดีของการลดหย่อนภาษี:]⁣

1. ช่วยให้มีเงินเก็บมากขึ้น:⁣

สมมติว่าปีนี้เพื่อน ๆ มีเงินได้สุทธิ 500,000 บาท และอยู่ในฐานภาษี 10% ⁣

ถ้าเราลงทุนในกองทุน RMF SSF หรือ Thai ESG 100,000 บาท จะทำให้เงินได้สุทธิเราลดลงเหลือ 400,000 บาท ซึ่งหมายความว่าเราจะจ่ายภาษีน้อยลง 10,000 บาท (10% ของ 100,000 บาท)⁣

สิ่งที่ได้คืออะไร? การลดหย่อนภาษีช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลง เงินที่เหลือจากการลดหย่อนสามารถนำไปออม หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทน เช่น หุ้น กองทุน เรียกว่าคุ้มสองต่อเลยครับ⁣

2. สร้างความมั่นคงทางการเงิน:⁣

ค่าลดหย่อนบางประเภท เช่น การซื้อประกันชีวิต หรือกองทุน RMF SSF หรือ Thai ESG ไม่เพียงช่วยลดภาษี แต่ยังช่วยให้เพื่อน ๆ มีแผนการเงินที่มั่นคง เช่น มีเงินเก็บตามเป้าหมาย หรือมีเงินใช้ในวัยเกษียณ⁣

3. สนับสนุนเป้าหมายการเงินของตัวเอง:⁣

การลดหย่อนภาษีช่วยให้เพื่อนๆจัดการเป้าหมายทางการเงินได้ชัดเจน เช่น เก็บเงินเพื่อซื้อบ้าน ลงทุนในกองทุนเพื่ออนาคตลูก หรือสะสมเงินเกษียณ เป็นต้น⁣

4. ช่วยบริหารความเสี่ยง: ⁣

การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี เป็นอีกตัวช่วยในการบริหารความเสี่ยงโดยกระจายการลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์⁣

ที่หลากหลาย ทั้งตราสารหนี้ที่มีความเสียงต่ำ และตราสารทุนที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทน⁣

5. ช่วยสนับสนุนสังคม:⁣

การบริจาคเพื่อองค์กรการกุศล หรือมูลนิธิต่าง ๆ ก็ช่วยลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะช่วยสังคมแล้ว ยังช่วยให้เพื่อน ๆ จ่ายภาษีน้อยลงอีกด้วย⁣

[8 ขั้นตอนการลดหย่อนภาษีให้คุ้มค่า]⁣

1. ทำความเข้าใจ “เงินได้สุทธิ”⁣

ก่อนจะเริ่มวางแผนลดหย่อนภาษี เพื่อนๆ ต้องเข้าใจก่อนว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณจาก “เงินได้สุทธิ” ซึ่งมาจาก:⁣

รายได้ >> รายได้ทั้งหมดที่เพื่อน ๆ ได้รับในปีนั้น⁣

หักค่าใช้จ่าย >>ตามประเภทของรายได้⁣

หักค่าลดหย่อน >> สิทธิ์ลดหย่อนต่างๆ ที่กฎหมายกำหนด⁣

ผมยกตัวอย่างแบบนี้ครับ เช่น หากเพื่อน ๆ มีรายได้ 500,000 บาทต่อปี หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท และมีค่าลดหย่อน 100,000 บาท เงินได้สุทธิของเพื่อนๆ คือ 300,000 บาท ซึ่งจะเป็นฐานในการคำนวณภาษี⁣

2. ตรวจสอบว่ามีรายได้ประเภทใด⁣

รายได้ตามกฎหมายมีทั้งหมด 8 ประเภท เช่น รายได้จากการทำงานประจำ รายได้จากฟรีแลนซ์ รายได้จากการขายสินค้า หรือรายได้จากดอกเบี้ย⁣

การรู้ประเภทของรายได้ช่วยให้เพื่อนๆ หักค่าใช้จ่ายได้ถูกต้องและคำนวณภาษีได้แม่นยำ และวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด⁣

3. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีอย่างเหมาะสม⁣

สิทธิ์ลดหย่อนภาษีมีหลากหลายประเภท เพื่อนๆ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของเป้าหมายทางการเงิน เช่น:⁣

ประกันชีวิต/ประกันสุขภาพ >> ลดความเสี่ยงในชีวิต⁣

กองทุน Thai ESG/SSF/RMF >> สร้างความมั่นคงระยะยาว⁣

ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา/บุตร >> ลดหย่อนสำหรับครอบครัว⁣

การบริจาค >> ช่วยเหลือสังคม⁣

4. คำนวณสิทธิ์ลดหย่อนภาษี⁣

แต่ละสิทธิ์ลดหย่อนมีข้อจำกัด เช่น กองทุน RMF สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้หรือไม่เกิน 500,000 บาท/ปี (เมื่อรวมกับ SSF PVD กบข. กอช. กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท/ปี)⁣

การเลือกใช้สิทธิ์ลดหย่อนที่เหมาะสมช่วยให้เพื่อนๆ ไม่เสียสิทธิ์และลดภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ⁣

5. ทำความเข้าใจฐานภาษีของตัวเอง⁣

การลดหย่อนภาษีที่ได้ผลที่สุดคือการเข้าใจฐานภาษีของตัวเอง ฐานภาษีสูง (เช่น 20%-25%) จะได้ประโยชน์จากการลดหย่อนมากกว่าในเชิงเปรียบเทียบ เช่น:⁣

ถ้าเพื่อนๆ อยู่ในฐานภาษี 20% การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี 100,000 บาท จะลดภาษีได้ 20,000 บาท⁣

ถ้าเพื่อนๆ อยู่ในฐานภาษี 10% การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี 100,000 บาท จะลดภาษีได้เพียง 10,000 บาท⁣

6. ประเมินว่าลดหย่อนอะไร “เหมาะสมที่สุด” สำหรับตัวเอง⁣

คำว่า “เหมาะสม” ขึ้นอยู่กับเป้าหมายการเงินของตัวเอง เช่น:⁣

หากต้องการเก็บเงินเพื่อเกษียณ เลือกลงทุนใน RMF⁣

หากต้องการออมเงินระยะกลางถึงยาว เลือกลงทุนใน SSF⁣

หากต้องการลงทุนเพื่อความยั่งยืน และไม่ต้องการถือครองหน่วยลงทุนยาวเกินไป ก็เลือกลงทุนใน Thai ESG⁣

ส่วนตัวผมมองว่า อาจไม่มีตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน แต่มีตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเพื่อนๆ ⁣

7. เลือกใช้สิทธิ์ให้เหมาะสม ปีนี้มีสิทธิ์ลดหย่อนใหม่ ๆ ที่น่าสนใจเราต้องคอยติดตามเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โครงการ Easy E-Receipt ที่ช่วยลดหย่อนการใช้จ่าย หรือการท่องเที่ยวเมืองรอง⁣

8. ยื่นภาษีอย่างถูกต้อง⁣

หากเพิ่งเริ่มลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีเป็นครั้งแรก อย่าลืมแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี โดยให้แจ้งบริษัทจัดการกองทุนที่เราไปลงทุนว่าต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี⁣

[แม้ว่าการลดหย่อนภาษีจะมีความน่าสนใจ แต่ก็มีข้อควรระวังหลายอย่างเช่นกัน]⁣

อย่ามุ่งซื้อผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษี จนจ่ายเกินกำลัง⁣

การลดหย่อนภาษีไม่ใช่การเสียเงิน แต่คือการจัดสรรเงินอย่างชาญฉลาด อย่าซื้อประกันหรือกองทุน จนเกินกำลัง เพราะอาจทำให้เราขาดสภาพคล่อง กลายเป็นภาระในระยะยาว⁣

คิดก่อนซื้อ⁣

ก่อนลงทุนหรือซื้ออะไร ให้ถามตัวเองว่า “สิ่งนี้ตอบโจทย์ชีวิตเราจริงไหม?” ไม่ใช่แค่ซื้อตามกระแสหรือคำแนะนำของคนอื่น⁣

อย่ามองแค่การลดหย่อนภาษี ควรคิดถึงผลประโยชน์ในระยะยาว เช่น การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนดี ควบคู่กับการลดหย่อนภาษี⁣

ตรวจสอบเงื่อนไขให้ดี: เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด⁣

[สิทธิพิเศษ จาก ธนาคารกรุงเทพฯ]⁣

พิเศษ !! ช่วงนี้มีโปรโมชั่นด้วยนะครับเพื่อนๆ ⁣

รับฟรี !!! Starbucks e-Coupon มูลค่า 400 บาท/ท่าน เมื่อลงทุนใน RMF / SSF / Thai ESG ⁣

ระหว่างวันที่ 2 ม.ค. 67 – 30 ธ.ค. 67 ตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินลงทุนรวมตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไปผ่าน ⁣

1. โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ และ/หรือ⁣

2. อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ และ/หรือ⁣

3. บริการหักบัญชีเงินฝาก/บัญชีบัตรเครดิตเพื่อซื้อหน่วยลงทุนกองทุนเปิดแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Cost Averaging: DCA) ⁣

Link : https://www.bangkokbank.com/th-TH/Personal/Save-And-Invest/Mutual-Funds/MFTAXSAVING67?utm_source=kol&utm_medium=TamEig_facebook_album&utm_campaign=mf_taxsaving67⁣

ส่วนเพื่อน ๆ คนไหนที่ยังไม่เคยลงทุนผ่านธนาคารกรุงเทพ ตอนนี้มีโปรโมชันดี ๆ ⁣

รับฟรี !!! Starbucks e-Coupon มูลค่า 100 บาท/ท่าน⁣

เมื่อเปิดบัญชีและซื้อกองทุน ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ ⁣

ระหว่างวันที่ 2 ม.ค. 67– 30 ธ.ค. 67 ⁣

Link : https://www.bangkokbank.com/th-TH/Personal/Save-And-Invest/Mutual-Funds/OpenMFonMobile67?utm_source=kol&utm_medium=TamEig_facebook_album&utm_campaign=mf_openfundmb67⁣

[สรุป]⁣

ภาษีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าเราวางแผนดี สามารถกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยเราบริหารเงินอย่างชาญฉลาดได้ การลดหย่อนภาษีไม่เพียงช่วยประหยัดเงินในปีนี้ แต่ยังเป็นการลงทุนระยะยาวเพื่ออนาคต⁣

เริ่มต้นวางแผนตั้งแต่วันนี้ แล้วคุณจะพบว่า การลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องง่ายและคุ้มค่า ทั้งในด้านการเงินและความมั่นคงในชีวิต :)⁣

#Bangkokbank #SSF #RMF #THAIESG #TAMEIG

เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด⁣

คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวม ก่อนตัดสินใจลงทุน⁣

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ หรือโทร. 1333 www.bangkokbank.com

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

19

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!