tam-eig.com

#SneakPeak #Photoalbum รู้จัก 9 ประเภทกองทุน ไม่ต้อง งง อีกต่อไป

#SneakPeak #Photoalbum รู้จัก 9 ประเภทกองทุน ไม่ต้อง งง อีกต่อไป

1. แบ่งตามลักษณะการจัดจำหน่าย และการไถ่ถอนคืนหน่วยลงทุน

กองทุนเปิด

  • สามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการ

  • มีสภาพคล่อง เนื่องจากซื้อ-ขายได้ตลอด

  • เป็นรูปแบบกองทุนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

กองทุนปิด

  • สามารถซื้อได้ในช่วงเวลาหนึ่ง และจะไม่สามารถขายได้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่กำหนด

  • สภาพคล่องน้อย เนื่องจากหากต้องการขายต้องไปขายในตลาดรอง (ขายทอดตลาด)

  • เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) และ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT)

2) แบ่งตามระดับความเสี่ยง

 

2.1 กองทุนรวมตลาดเงิน (ในประเทศ)

 

ความเสี่ยงระดับ 1

 

ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีสภาพคล่องคล้ายเงินสดหรือใกล้เคียง เช่น ลงทุนในเงินฝาก หรือให้สถาบันต่าง ๆ กู้ยืม ตัวอย่างคือ ตั๋วเงิน รวมถึงตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 1 ปี 

 

เหมาะกับใคร: รับความเสี่ยงได้น้อย ต้องการที่พักเงิน

 

2.2 กองทุนรวมตลาดเงิน (ในและต่างประเทศ)

 

ความเสี่ยงระดับ 2

 

เช่น เงินฝาก ตั๋วเงิน รวมถึงตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 1 ปี เหมือนกลุ่มแรก แต่มีการลงทุนในต่างประเทศบางส่วน และมักจะมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้

 

เหมาะกับใคร: คนที่ต้องการลงทุนระยะสั้น

แบ่งตามระดับความเสี่ยง

 

2.3 กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล

 

ความเสี่ยงระดับ 3

 

เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ โดยมีอายุเฉลี่ยมากกว่า 1 ปีขึ้นไป

 

เหมาะกับใคร: คนที่รับความเสี่ยงได้ไม่มาก

 

2.4 กองทุนรวมตราสารหนี้

 

ความเสี่ยงระดับ 4

 

ลงทุนในตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตั๋วเงินคลัง และหุ้นกู้เอกชน ซึ่งมีทั้งกองที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุเฉลี่ยไม่เกิน 1 ปี) และตราสารหนี้ระยะยาว (อายุเฉลี่ยมากกว่า 1 ปี)

 

เหมาะกับใคร: ต้องการกระจายความเสี่ยง

แบ่งตามระดับความเสี่ยง

 

2.5 กองทุนรวมผสม

 

ความเสี่ยงระดับ 5

 

ลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเงินฝาก ตราสารหนี้ ตราสารทุน (หุ้น)  หรืออื่น ๆ ตามสัดส่วนที่ระบุในนโยบายการลงทุน

 

เหมาะกับใคร: มือใหม่ที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น

 

2.6 กองทุนรวมตราสารทุน

 

ความเสี่ยงระดับ 6

 

เน้นลงทุนในหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น SSF SSFX และ RMF 

 

เหมาะกับใคร: ชอบการลงทุนในหุ้น แต่ไม่มีเวลาเฝ้าหน้าจอ

แบ่งตามระดับความเสี่ยง

 

2.7 กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม

 

ความเสี่ยงระดับ 7

 

เน้นลงทุนในหุ้น แต่เจาะจงอุตสาหกรรมมากขึ้น เช่น หุ้นธนาคาร หุ้นสื่อสาร หุ้นโรงพยาบาล ฯลฯ 

 

ความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวมตราสารทุนทั่วไป เนื่องจากมีการลงทุนแบบกระจุกตัว ดังนั้น ควรมีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมนั้นๆ อย่างดี

 

เหมาะกับใคร: ชอบการลงทุนในหุ้น และเห็นโอกาสการเติบโตในบางกลุ่มธุรกิจ

 

2.8 กองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก

 

ความเสี่ยงระดับ 8

 

เน้นลงทุนในทางเลือกอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากสินทรัพย์พื้นฐาน เช่น ทองคำ น้ำมัน และโครงสร้างพื้นฐาน

 

เหมาะกับใคร: คนที่ต้องการลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวม

3) กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF) มี 3 แบบ

 

1. บลจ. ไทยนำเงินไปลงทุนเองโดยตรง

 

2. กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ เพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund)

 

3. กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ หลายกอง (Fund of Funds)

 

**กองทุนต่างประเทศต้องประเมินเรื่องค่าธรรมเนียมที่มากขึ้น และความเสี่ยงจากอัตราและเปลี่ยนด้วยนะคะ**

4) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) Vs. กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT)

 

หลักการที่เหมือนกัน: 

กองนำเงินลงทุนไปซื้ออสังหาริมทรัพย์มาปล่อยเช่า หรือบริหารจัดการ จากนั้นนำค่าเช่า / รายได้มาจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุน

 

ปัจจุบัน Property Fund จะไม่มีออกมาใหม่แล้ว เนื่องจาก กลต. ให้ออกในรูปของ REIT แทนทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อส่งเสริมอัตราการเติบโตที่ดีขึ้น

 

กองทุนปิด เปิด IPO ให้นักลงทุนครั้งเดียว หลังจากนั้นสามารถทำการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์เหมือนซื้อขายหุ้น

5) กองทุนที่ได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี

 

– กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF: Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

 

– กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF: Super Saving Funds) สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยให้สิทธิประโยชน์สำหรับลดหย่อนภาษี 5 ปี

 

– กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

 

– กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท

 

*หมายเหตุ: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF), กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เมื่อรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท***

6) กองทุนรวม ETF (Exchange Traded Fund)

 

การนำเงินลงทุนของเราไปกระจายซื้อทุกหลักทรัพย์หรือในสินทรัพย์ที่ ETF อ้างอิงตามน้ำหนักของดัชนี เป้าหมายคือเพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนีอ้างอิง 

 

จุดเด่นคือใช้เงินลงทุนไม่มาก กระจายความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายในการซื้อขายต่ำกว่ากองทุนรวมทั่วไป 

 

ตัวอย่าง

ETF ที่อ้างอิงดัชนี SET50 เงินลงทุนจะถูกกระจายไปซื้อหุ้นทั้ง 50 ตัว ในสัดส่วนเดียวกับที่อยู่ในดัชนี SET50  

 

คล้ายการซื้อขายหุ้น สามารถซื้อขายแบบ Real-Time ได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

7) กองทุนทริกเกอร (Trigger Fund)

 

กองทุนที่ตั้งเป้าหมายผลตอบแทนการลงทุนเอาไว้ตั้งแต่เปิดขายกอง ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยกำหนดเอาไว้ว่า หากผลตอบแทนเป็นหรือไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (trigger หรือไม่ trigger) กองทุนจะดำเนินการอย่างไร 

 

เช่น ถ้าผลตอบแทนบรรลุเป้าหมายที่กำหนด กองจะคืนเงินแก่ผู้ลงทุนและเลิกกองทุน หรือถ้าครบระยะเวลาที่กำหนดไว้

 

แต่ผลตอบแทนยังไม่ถึงเป้าหมาย ก็อาจจะแปลงสภาพเป็นกองทุนเปิด ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถเลือกขายคืนหน่วยลงทุนในตลาดได้ เป็นต้น

8) กองทุนรวมแบบมีประกัน (Guarantee Fund)

 

มีบุคคลอื่นหรือกลไกทางการเงินมารับประกันเงินลงทุน ค่อนข้างปลอดภัยแต่ก็แลกกับผลตอบแทนที่ต่ำลง

9) กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (Principle or Capital Protection Fund)

 

เน้นลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ ที่มีความเสี่ยงต่ำ

กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds)

 

กองทุนรวมที่ไปลงทุนในกองทุนรวมอีกที ส่วนใหญ่เป็นกองทุนที่ลงทุนไปกองทุนต่างประเทศ ข้อดีคือสะดวกและกระจายความเสี่ยงได้ดี ในขณะที่ก็ทำให้มีค่าธรรมเนียมี่เพิ่มขึ้นด้วย

Exit mobile version