#Punphol101 Ep.31 ทำความรู้จักกับ 5 ส่วนของงบการเงินที่ควรรู้

516

#Punphol101 ทำความรู้จักกับ 5 ส่วนของงบการเงินที่ควรรู้

 

#วางแผนการเงิน #ป๊าอิกสอน #น้องปันผลจด

 

————

>> ติดตามทั้ง 15 ช่องทางได้ที่ https://links.tam-eig.com/m/TAM-EIG-Channels

 

>> 4 กลุ่มกับ 4 แบบการลงทุน

 

ติดตามความรุ้และอัพเดต “TAM-EIG_คริปโต โก โก”

https://links.tam-eig.com/LineOpenchat_Crypto

 

ติดตามความรุ้และอัพเดต TAM-EIG_ลงทุนนอก ต้องออกไปให้รู้

https://links.tam-eig.com/LineOpenchat_Offshores1

 

ติดตามความรุ้และอัพเดต TAM-EIG_ลงทุนไทย ไปได้ไกลกว่าที่เห็น

https://links.tam-eig.com/LineOpenchat_Thai1

 

ติดตามความรุ้และอัพเดต TAM-EIG_เงินทองมันต้องวางแผน

https://links.tam-eig.com/LineOpenchat_FinancialPlanning1

ทำไมต้องทำความรู้จัก “งบการเงิน”

 

งบการเงินเปรียบเสมือน ‘ผลตรวจสุขภาพทางการเงินของบริษัท’ ที่จะบอก 3 ส่วน

 

– สุขภาพแข็งแรงหรือไม่

บริษัทมีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งหรือไม่ 

 

– ทำงานหาเงินเก่งหรือไม่

มีความสามารถในการหารายได้ และกำไรเป็นอย่างไร

 

– ป่วยหรือมีโรคอะไรหรือไม่

มีส่วนไหนที่น่าเป็นห่วงและควรเฝ้าระวัง 

 

ผลตรวจสุขภาพทางการเงินนี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักลงทุน ใช้เปรียบเทียบกับปีที่ผ่าน ๆ มาหรือเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ

ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อช่วยให้เห็นแนวโน้มในอนาคต

5 ส่วนของงบการเงินที่ควรรู้

 

1. รายงานความเห็นผู้สอบบัญชี

ข้อสรุปจากผู้สอบบัญชี ว่างบการเงินนี้ถูกต้องหรือไม่

 

2.งบแสดงฐานะการเงิน 

บริษัทรวยแค่ไหน ในกระเป๋ามีอะไรบ้าง

 

3. งบกำไรขาดทุน

บริษัทมีความสามารถในการหาเงินเป็นอย่างไร

 

4. งบกระแสเงินสด

บริษัทหมุนเงินทันหรือไม่ ไม่รอดหรือไม่

 

5. หมายเหตุประกอบงบ 

เป็นข้อมูลอธิบายเพิ่มเติมจากตัวเลขในงบการเงิน

1. รายงานความเห็นผู้สอบบัญชี

 

ช่วยให้เรารู้ว่าข้อมูลในงบการเงินนั้นถูกต้องหรือไม่ และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้มากน้อยแค่ไหน

 

ความเห็นของผู้สอบบัญชีแบ่งเป็น 4 ประเภท

 

1) ความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข (Unqualified Opinion)

งบการเงินมีความถูกต้อง เป็นความเห็นที่ทุกบริษัทคาดหวังจะได้รับ

 

2) ความเห็นแบบมีเงื่อนไข (Qualified Opinion) 

ข้อมูลบางส่วนในงบการเงินไม่ถูกต้องอย่างมีสาระสำคัญ หรือผู้สอบบัญชีไม่สามารถหาหลักฐานได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม แต่ประเด็นดังกล่าวนั้นไม่แผ่กระจายไปยังส่วนประกอบอื่น ๆ ของงบการเงิน

 

3) ความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง (Adverse Opinion) 

ความเห็นในลักษณะนี้มีผลค่อนข้างรุนแรงต่อผู้ใช้งบการเงิน เนื่องจากเป็นการแสดงความเห็นว่าการแสดงข้อมูลในงบการเงินขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างเป็นสาระสำคัญ

 

4) ไม่แสดงความเห็น (Disclaimer)

ผู้สอบบัญชีไม่สามารถหาหลักฐานที่เหมาะสมและเพียงพอและหรือการแสดงข้อมูลขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญอย่างร้ายแรง

2. งบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล)

 

เป็นงบที่บอกฐานะการเงิน หรือความมั่งคั่งของบริษัท 

 

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ (ทุน)

 

วิเคราะห์เบื้องต้น

 

– คุณภาพของสินทรัพย์

ดูว่าสินทรัพย์ที่มีสามารถสร้างรายได้ และเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของหรือไม่ 

 

– สภาพคล่องของกิจการ 

ธุรกิจควรมีสินทรัพย์หมุนเวียน (เช่น เงินสด ลูกหนี้) มากกว่าหนี้สินระยะสั้น (หนี้สินที่ต้องชำระภายใน 1 ปี)

 

– กำไรสะสม 

ถ้ามีกำไรสะสมสูง หมายถึงที่ผ่านมาธุรกิจทำกำไรดี มีประสิทธิภาพ และมีโอกาสที่บริษัทจะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น

 

– อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) 

ถ้าตัวเลขเศษมากกว่าส่วน แสดงว่าบริษัทมีการกู้หนี้ยืมสินมากกว่าส่วนทุน และถ้ามากกว่าเยอะ อาจทำให้อนาคตอาจมีปัญหาด้านสภาพคล่อง ดังนั้น อัตราส่วน D/E ยิ่งต่ำยิ่งดี

 

อัตราส่วน D/E Ratio โดยทั่วไปแล้วไม่ควรเกิน 1.5-2 เท่า ซึ่งแต่ละธุรกิจก็มี D/E Ratio ที่เหมาะสมแตกต่างกันไป เช่น ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ประกันภัย D/E Ratio ปกติอาจอยู่ในระดับ 5 -10 เท่า 

3. งบกำไรขาดทุน   

 

บริษัทหารายได้ และจัดการต้นทุนได้ดีหรือไม่

 

รายได้ – ต้นทุน = กำไร (ขาดทุน)

 

วิเคราะห์เบื้องต้น

 

– รายได้

บริษัทขายผลิตภัณฑ์หรือบริการได้มากน้อยแค่ไหน เทียบกับปีก่อน ๆ เป็นอย่างไร 

 

– รายได้พิเศษ

ถ้าการที่รายได้เพิ่มขึ้นมากจากรายได้พิเศษ ควรตัดออกในการวิเคราะห์ เพราะเป็นรายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงามตามปกติ รายได้พิเศษจึงไม่มีความแน่นอน และไม่ทำให้ธุรกิจมั่นคงอย่างยั่งยืน เช่น กำไรจากการขายที่ดิน 

 

– ค่าใช้จ่ายและต้นทุน 

บริษัทควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ดีแค่ไหน เพราะมีผลโดยตรงต่อกำไรของบริษัท 

 

– กำไร 

สะท้อนถึงโอกาสเติบโตในอนาคต และความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่ง

4. งบกระแสเงินสด   

 

ทำให้เห็นที่มาที่ไปของเงินสด ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากอะไรบ้าง

 

การเพิ่ม/ลดของเงินสดในบริษัทมาจาก3 ส่วน

 

  • กระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน 

ถ้าตัวเลขเป็น + สะท้อนว่าบริษัททำธุรกิจแล้วได้เงินสดเข้ามา (ไม่ใช่แค่ขายได้ แต่ต้องเก็บเงินจากลูกค้าได้ด้วย)

 

ถ้าตัวเลขเป็น – สะท้อนว่าบริษัททำธุรกิจแล้วเก็บเงินสดได้ น้อยกว่าที่จ่ายออกไปในงวดนั้น

 

  • กระแสเงินสดสุทธิจากการลงทุน 

ถ้าตัวเลขเป็น – สะท้อนว่าบริษัทมีการนำเงินไปลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ ทำให้มีแนวโน้มรายได้และกำไรเติบโต

 

ถ้าตัวเลขเป็น + สะท้อนว่าบริษัทมีการขายสินทรัพย์ออกไปจึงได้เงินเพิ่มขึ้นมา แต่ถ้าขายสินทรัพย์มากเกินไป มีโอกาสที่การดำเนินงานของบริษัทกำลังมีปัญหา

 

  • กระแสเงินสดสุทธิจากการจัดหาเงิน 

ถ้าเลขเป็น – บริษัทมีการจ่ายปันผลให้นักลงทุน หรือมีการนำเงินไปชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการจ่ายคืนเงินกู้ยืมมาก ๆ อาจไม่ดี เพราะสะท้อนว่าบริษัทมีเงินกู้ยืมที่ต้องจ่ายชำระมาก

 

ถ้าเลขเป็น + สะท้อนว่าบริษัทอาจมีการเพิ่มทุนหรือกู้เงินมาเพิ่ม ควรวิเคราะห์ดูว่าบริษัทเอาเงินไปทำอะไร

5. หมายเหตุประกอบงบ 

 

ส่วนขยายที่ทำให้เราเข้าใจตัวเลขต่าง ๆในงบการเงินมากยิ่งขึ้น

 

หมายเหตุประกอบงบ จะแสดงข้อมูลเพิ่มเติมต่อจากข้อมูลที่แสดงในงบการเงิน และข้อมูลนอกเหนือจากตัวเลขในงบการเงิน เช่น

 

– รายละเอียดลูกหนี้

 

– รายละเอียดสินค้าคงเหลือ

 

– รายละเอียดที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

 

– คดีความฟ้องร้อง

 

– เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน

บริษัทแบบไหนต้องทำงบอะไรบ้าง 

 

บริษัทที่มีผู้มีส่วนได้เสียมากเท่าไร ยิ่งต้องเปิดเผยและจัดทำงบการเงินมากขึ้นเท่านั้น

 

รายงานความเห็นผู้สอบบัญชี และหมายเหตุประกอบงบ เป็นส่วนที่ทุกนิติบุคคลต้องทำ

#เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต⁣

ติดตามทั้ง 15 ช่องทางของถามอีก กับอิก Tam-Eig ได้ทางลิงค์นี้⁣

 

https://links.tam-eig.com

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

516

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!