#TAMEIG “แพลตฟอร์มเทรดหุ้นออนไลน์อุตสาหกรรมมูลค่า 3.6 แสนล้านบาท”
ปกติแล้ว เวลาที่นักลงทุนไทยอย่างพวกเราเทรดหุ้น เราก็จะเสียค่าคอมมิชชั่น 0.15%-0.2% ของมูลค่าการซื้อขายในแต่ละครั้ง และบางโบรกเกอร์ก็เก็บขั้นต่ำวันละ 50 บาทด้วยใช่หรือไม่ครับ
แต่ในต่างประเทศเทรนด์ธุรกิจที่มาแรงมากๆ คือแพลตฟอร์มเทรดหุ้นหรือลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ แบบไม่คิดค่าคอมมิชชั่นเลยสักบาท
ธุรกิจนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์จาก Mordorintelligence รายได้รวมทั้งอุตสาหกรรมปี 2019 สูงถึง 3.6 แสนล้านบาท และมีโอกาสเติบโตขึ้นปีละ 6.5% ต่อเนื่องไปอีกหลายปี
คำถามคือ ถ้าไม่คิดค่าคอมมิชชั่นแล้วแต่ละบริษัทจะมีรายได้มาจากไหน และทำไมถึงมีศักยภาพในการเติบโตอย่างก้าวกระโดดแบบนี้
วันนี้ #TAMEIG ชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักภาพรวมธุรกิจนี้และมองหาโอกาสกันครับ #ทุกเรื่องที่นักลงทุนต้องรู้
———
[แอปพลิเคชั่นเทรดหุ้นที่ไม่คิดค่าคอมฯ ในสหรัฐฯ]
ย้อนกลับไปยุคก่อนปี 2013 หรือ 10 ปีที่แล้วในสหรัฐอเมริกา การลงทุนในหุ้นก็เหมือนบ้านเราตอนนี้ครับ คือจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเทรดหรือที่เรียกกันติดปากว่า “ค่าคอมฯ”
เพียงแต่โบรกเกอร์ท่ีสหรัฐฯในยุคก่อนนั้นจะเก็บค่าคอมฯสูงถึง 1% ของการซื้อ-ขายหุ้น หรือมากกว่า 5 เท่าของไทย นั่นหมายความว่า ถ้าเราซื้อหุ้น 1 ล้านบาท และขาย 1 ล้านบาท เราต้องจ่ายค่าคอมฯรวมแล้ว 20,000 บาทซึ่งสูงมาก ๆ
นั่นเลยทำให้ 2 โปรแกรมเมอร์หนุ่ม Vladimir Tenev และ Baiju Bhatt ก่อตั้ง Robinhood ในปี 2013 แอปพลิเคชั่นเทรดหุ้นที่ไม่คิดค่าคอมฯสักบาท ปฏิวัติวงการโบรกเกอร์ด้วยหลักคิดที่ว่า “สร้างความเท่าเทียมให้กับนักลงทุนทุกคน” ซึ่งอย่างน้อยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนรายย่อยต้องไม่เสียเปรียบ เรื่องค่าคอมฯเมื่อเทียบกับนักลงทุนรายใหญ่ ๆ
จังหวะดีมากครับ เพราะการเปิดตัวช่วงปี 2013 เป็นช่วงที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Boom มาก ๆ ประกอบกับการที่ฟีเจอร์ต่าง ๆ ถูกออกแบบมาให้สวยงาม ใช้งานง่าย เลยทำให้เป็นแพลตฟอร์มที่ดังระเบิด
โดยถ้าไปดูจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนจะพบว่า
ปี 2013 มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน
ปี 2021 มีผู้ใช้งาน ต่อเดือนกว่า 21 ล้าน 3 แสนคน
ปี 2022 มีผู้ใช้งาน ต่อเดือนลดลงเหลือ 11.4 ล้านคน
แม้ว่าปีล่าสุดจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนจะลดลงไปอย่างมาก เพราะเจอมรสุมทั้งตลาดหุ้นและคริปโตฯร่วงหนัก
—————-
[การปรับตัวของธุรกิจ E-Broker เปลี่ยนวงการ]
แต่ก็ต้องยอมรับว่าการเปิดตัว Robinhood เป็นการจุดพลุทำให้ทั้งผู้เล่นรายเดิมและผู้เล่นรายใหม่ เช่น Charles Schwab, TD Ameritrade, E-Trade, Stocktwits, Ally Invest, Interactive Brokers หรือแม้แต่ Fidelity ก็ลงมาเล่นตลาดแพลตฟอร์มซื้อ-ขายหุ้นโดยที่ไม่คิดค่าคอมฯกันอย่างคึกคัก
อ้างอิงข้อมูลจาก Mordorintelligence จะพบว่ารายได้รวมทั้งอุตสาหกรรมปี 2019 สูงถึง 3.6 แสนล้านบาทและมีโอกาสเติบโตขึ้นปีละ 6.5% ต่อเนื่องไปอย่างน้อย ๆ ถึงปี 2028 หรือ 5 ปีข้างหน้า
ธุรกิจ E-Broker หรือแพลตฟอร์มเทรดหุ้นออนไลน์นี้เข้าสู่ยุคทองในต่างประเทศอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นไปตามพฤติกรรมของนักลงทุนยุคใหม่ที่คุ้นชินกับการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์แล้ว ยังไม่มีต้นทุนในการเทรดส่วนของค่าคอมฯ
และแต่ละเจ้าก็ชูจุดเด่นของตัวเองซึ่งโดนใจนักลงทุนรายย่อยอย่างมากครับ เช่น Robinhood ก็จะมีบริการเทรดสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น คริปโตฯ, Options, ETF และล่าสุดขยายไปวางแผนเกษียณให้นักลงทุน
Stocktwits ก็ชูจุดขายเป็น Social network สำหรับเทรดเดอร์ที่แต่ละคนสามารถแบ่งปันไอเดียในการเทรด โพสต์ประวัติการซื้อขายของตัวเองได้
หรืออย่าง E-Trade ก็เปิดตัวบริการการใช้คำสั่งเสียงผ่าน Google Assistant เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะบัญชีของตัวเองได้ นั่นเลยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตก้าวกระโดดและเป็นเมกะเทรนด์ในตลาดต่างประเทศ
—————-
[ค่าคอมฯไม่คิด แล้วรายได้มาจากไหน]
คำถามที่มักจะถูกถามคือ ถ้าไม่คิดค่าคอมฯ แล้วแต่ละเจ้าหารายได้จากไหน
ทาง #TAMEIG วิเคราะห์โครงสร้างรายได้ จะเห็นว่าแต่ละเจ้าจะมีรูปแบบรายได้ที่ต่างกันไป เช่น Transaction Based โดยเมื่อทางแพลต์ฟอร์มได้รับคำสั่งซื้อขายหุ้นมาแล้ว ก็จะส่งไปให้ market maker เช่น Citadel และ Two Sigma Securities และได้รับค่าคอมฯจากส่วนนี้ หรือการได้รับดอกเบี้ยจากการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น
รวมถึงการปล่อย margin ให้ลูกค้ากู้เงินเพื่อไปลงทุนเพิ่ม
หรือบางเจ้าก็ให้ลูกค้าสมัครสมาชิกรายเดือนเพื่อสิทธิประโยชน์บางอย่าง เช่น บทวิจัยแบบ exclusive เป็นต้น
ทั้งนี้เมื่อรวม ๆ รายได้เหล่านี้แล้วก็คิดเป็นเม็ดเงินมหาศาลสามารถชดเชยกับรายได้ค่าคอมฯที่หายไปได้นั่นเอง
—————-
[ประเทศไทยก็มีโบรกเกอร์ค่าคอมฯ 0%]
ตัดภาพมาที่ตลาดในประเทศไทย แพลตฟอร์มเทรดหุ้นลักษณะนี้ที่ตอบโจทย์นักลงทุนรายย่อยโดยที่ไม่คิดค่าคอมฯ ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากครับ
ส่วนใหญ่เรายังต้องเสียค่าคอมเฉลี่ยประมาณ 0.15%-0.2% ของมูลค่าการซื้อขายในแต่ละครั้งและบางโบรกเกอร์ก็เก็บขั้นต่ำวันละ 50 บาท
เราอาจจะคิดว่าเมื่อคำนวณเป็นเปอร์เซนต์แล้วดูไม่เยอะ แต่สำหรับนักลงทุนรายย่อยก็ถือว่าเป็นความเสียเปรียบ และเป็นความไม่เท่าเทียมเมื่อเทียบกับนักลงทุนประเภทอื่นที่ลงสนามเทรดในสนามเดียวกัน
ล่าสุด บล. ลิเบอเรเตอร์ หรือ Liberator เองก็บุกเบิกตลาดนี้อย่างเป็นทางการครับ ด้วยจุดยืนที่อยากจะเป็นแพลตฟอร์มการลงทุนครบวงจรในรูปแบบดิจิทัลโบรกเกอร์ 100% ภายใต้แนวคิด “#โลกลงทุนที่ทุกคนเท่ากัน” และประกาศมุ่งสู่การเป็นแพลตฟอร์มการลงทุนดิจิทัลที่หลากหลายและครบวงจรแบบ All-in-One
“เราสร้างแพลตฟอร์ม Liberator ในลักษณะของ Community ที่เปิดทางให้กับนักลงทุนรายย่อยหรือคนรุ่นใหม่สามารถเพิ่มมูลค่าการลงทุนของตัวเอง ด้วยต้นทุนการเทรดหุ้นที่ต่ำที่สุด ตอบโจทย์โลกยุคดิจิทัลและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แก้ปัญหาการซื้อขายหุ้นให้มีความเท่าเทียมและเป็นธรรม” คุณบากบั่น บุญเลิศ ประธานกรรมการ บล. ลิเบอเรเตอร์ ประกาศชัดเจนด้วยความมุ่งมั่น
เช่นเดียวกับคุณภาวลิน ลิมธงชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. ลิเบอเรเตอร์ ที่ยืนยันว่าไม่ได้เข้าสู่สนามบริษัทหลักทรัพย์เพื่อทำลายตลาดดั้งเดิมที่มีอยู่ แต่เพื่อสร้างนวัตกรรมด้านการลงทุนและเปิดประสบการณ์แนวใหม่ซึ่งจะเป็นผลดีต่อนักลงทุนและสังคม โดยจะพัฒนานวัตกรรมการเงินอื่น ๆ เพื่อตอบโจทย์ความเป็น Social Investing Platform ให้มากขึ้น ในระยะกลางและระยะยาว
ทั้งนี้ โครงสร้างรายได้หลักของ Liberator ในปีแรกมาจากผลิตภัณฑ์การเงินที่เพิ่มขึ้นมา โดยการทำหน้าที่เป็น Custodian ช่วยดูแลทรัพย์สินให้กับลูกค้าของบริษัท เนสท์ติฟลาย จำกัด กับธุรกิจ P2P Lending ภายใต้ชื่อแอปพลิเคชั่น “StockLend” ที่ให้บริการธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์รายแรกในประเทศไทย
โดยเป็นแอปพลิเคชั่นที่เชื่อมต่อนักลงทุนกับผู้ขอสินเชื่อโดยใช้หุ้นใน SET100 เป็นหลักประกันสินเชื่อ ซึ่งทาง Liberator จะทำหน้าที่เป็นผู้รับจำนำหลักทรัพย์และดูแลธุรกรรมการโอนเงิน
และยังมีผลิตภัณฑ์การเงินอื่น ๆ ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อ Margin, Underwriting, กองทุน, เทรดหุ้นต่างประเทศ และอื่น ๆ
ที่สำคัญทาง Liberator ได้จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000,000 บาท ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ก และใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 จากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา เพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทมีความมั่นคง และตอบโจทย์ให้กับนักลงทุนรายย่อยอย่างพวกเราได้
จะเห็นว่าการเข้ามารุกตลาดครั้งนี้ของ Liberator เล่นเกมใหญ่มาก ข้อดีคือจะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงเพราะในระยะอันใกล้นี้ทางผู้เล่นรายอื่นก็ต้องปรับตัว สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ตอบโจทย์ให้กับนักลงทุนไทย
นั่นเท่ากับว่านักลงทุนรายย่อยไทยก็จะมีความเท่าเทียมและมีทางเลือกในการลงทุนที่มากขึ้นเช่นเดียวกับท่ีเราเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงและเติบโตของทั้งอุตสาหกรรมในต่างประเทศครับ
ปล. นักลงทุนสามารถเทรดหุ้นฟรีกับ Liberator ได้แล้ว สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Liberator ทั้ง App store และ Play Store ได้เลยที่ลิงค์นี้ครับ https://onelink.to/y4gxn5
#Liberator #โลกลงทุนที่ทุกคนเท่ากัน #TAMEIG #ทุกเรื่องที่นักลงทุนต้องรู้