ความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากรัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะช่วยประเทศกำลังพัฒนาบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อควบอุณหภูมิโลกได้
Kristalina Georgieva ผู้อำนายการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF กล่าว
เพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนจากภาคเอกชนมากขึ้น
“เราจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้หากเราพึ่งพาเม็ดเงินจากประเทศร่ำรวยเพียงอย่างเดียว เพราะเม็ดเงินที่เราต้องทุ่มให้กับการแก้ปัญหานี้ ต้องใช้เงินจำนวนมาก” Georgieva กล่าวในระหว่างการประชุม COP27 ที่ประเทศอิยิปต์
“ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดหลังจากนี้คือการทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างโอกาสให้เกิดการลงทุนภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น”
องค์การสหประชาชาติ เคยเรียกร้องให้มีการ “เพิ่มเงินทุนและการดำเนินการตามมาตรการ” เพื่อช่วยให้ประเทศยากจนสามารถปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศได้
“หลังจากปัญหาสงครามของมนุษยชาติ ต่อไปก็จะถึงคราวของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างที่เราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2022”
Inger Andersen กรรมการบริหาร United Nations Environment Programme กล่าวโดยอ้างถึงเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปากีสถาน
ตามรายงานของ UN กล่าวว่า ประเทศกลุ่มเปราะบางและประเทศกำลังพัฒนา จะต้องใช้เงินประมาณ 1.6 – 3.4 แสนล้านเหรียญภายในปี 2030 ถึงจะสามารถจัดการปัญหาเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศนี้ไ้ด้ และเพิ่มเป็น $5.65 แสนล้านเหรียญ ภายในปี 2050
“ความต้องการเงินทุนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศกำลังพัฒนา ต้องใช้เม็ดเงินสูงถึง 3.4 แสนล้านเหรียญ ในปี 2030
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้รับเม็ดเงินสนับสนุนไม่ถึง 1 ใน 10 ของจำนวนดังกล่าว” António Guterres เลขาธิการ UN กล่าว
“กลุ่มประเทศที่เปราะบาง กำลังต้องจ่ายราคาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ นี่เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้”
ทำไมประเทศพัฒนาแล้วควรต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ
นั่นเป็นเพราะว่าประเทศพัฒนาแล้ว จะสามารถช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาบรรลุเป้าหมายดังกล่าวไปด้วยกัน ได้ Georgieva กล่าว โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง
“หากเรายอมรับกับสภาพอากาสที่แปรปรวนนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า มันจะทำลายล้างประเทศที่ยากจน และหมายความว่าประเทศพัฒนาแล้วก็มีส่วนทำให้เกิดความไม่มั่นคงอย่างที่ยุโรปเป็นในตอนนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการอพยพย้านถิ่นฐานเพิ่มขึ้น” เธอกล่าว
ความมั่นคงในประเทศกำลังพัฒนา ช่วยรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา Georgieva กล่าว
“ถ้าต้องการให้เศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้ว สามารถส่งออกสินค้าไปยังประเทศกำลังพัฒนาได้
ประเทศเหล่านั้นก็ต้องมีความเจริญและมีความมั่นคงด้วยเช่นกัน”
การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ อาจก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงมากกว่าการระบาดใหญ่ก็เป็นได้
เราต้องผลักดันให้มากขึ้นเพื่อให้บริษัทต่าง ๆ ในประเทศพัฒนาแล้วมีความรับผิดชอบในเรื่องการลดปลดปล่อยมลพิษหัวหน้า IMF กล่าวว่า ภาษีและข้อบังคับเป็นกลไกหนึ่งที่รัฐบาลสามารถใช้ได้
“เราต้องตระหนักว่า เรายังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายในการรักษาสภาพภูมิอากาศของโลกเพื่อลูกหลายของเราในอนาคต”เราจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 25%-30% ภายในปี 2030 นี้
แต่ดูเหมือนว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ดี Georgieva กล่าวเสริม