นักกลยุทธ์ที่เคยเตือนวิกฤต ปี 2000 และ 2008 กล่าวว่า หุ้นต้องร่วงอีก 50% ถึงจะสมเหตุสมผล และเตือนถึงผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่น่าผิดหวัง
ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา S&P500 เพิ่มขึ้น 9% ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม
แต่นักลงทุนไม่ควรตั้งความหวังกับตลาดขาลงระยะยาวนี้ John Hussman ประธาน Hussman Investment Trust ผู้ที่เคยเตือนว่าจะเกิดวิกฤต ปี 2000 และ 2008 กล่าว
เพราะสำหรับเขาแล้ว ตอนนี้ Valuation ยังคงสูงไป แม้ดัชนี้จะร่วงลงมาถึง 25% แล้วในปีนี้
การประเมินมูลค่าที่เขามักจะใช้ คือ อัตราส่วนมูลค่าตลาดของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินต่อรายได้รว) ซึ่งตอนนี้อยู่ที่ 2.15
ซึ่งความสอดคล้องกับผลตอบแทนประมาณ 0% ในช่วง 10-12 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้หาก S&P500 จะให้ผลตอบแทน 10% ต่อปี หรือ ให้ผลตอบแทนมากกว่าพันธบัตร 2% (ซึ่งขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ที่ 4%) ได้นั้น
หุ้นจะต้องร่วงไปลงมากกว่า50% จากระดับปัจจุบัน ถึงจะเกิดภาพนั้นได้
นี่จึงเป็นสาเหตุที่ Hussman คาดว่าตลาดหุ้นจะมีการปรับฐานครั้งใหญ่อีกในอนาคต และรายได้ที่ลดลงก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดัน
“ผมเชื่อว่าในระยะที่สองของการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งน่าจะมาพร้อมกับความผิดหวังด้านกำไรในไตรมาสหน้า” เขากล่าว
“เราควรเตรียมไว้ว่าจะเกิดการเทขายที่รวดเร็ว รุนแรงจนทำให้ตลาดร่วงอย่างหนัก”
เขากล่าวต่อว่า ตลาดตอนนี้ อาจสนับสนุนให้เกิดการเก็งกำไรมากขึ้น อย่างไก็ตาม การประเมินมูลค่ายังไม่ใกล้เคียงกับระดับที่เราเชื่อมโยงกับผลตอบแทนจากตลาดในระยะยาว ผมจึงมองว่าตลาดอาจจะลงได้อีก”
ผลการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนที่น่าผิดหวัง เกิดจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่พยายามลดเงินเฟ้อ โดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 3% ตั้งแต่เดือนมีนาคม และตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอีก 0.75% ในสัปดาห์หน้า
เนื่องจากนโยบายที่เข้มงวดส่งผลกระทบต่อความต้องการผู้บริโภค บางคนมองว่าเศรษฐกิจถดถอยจะเกิดขึ้นในปี 2023 และ Fed อาจหันกลับไปสู่นโยบาย Dovish Policy อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม Hussman ชี้ให้เห็นว่า Fed จะไม่หันหลังกลับไปง่าย ๆ ด้วยตัวเลขอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงานที่ยังอยู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
เขามองว่ามีบางบริษัทที่เชื่อว่ายังไม่ลงไปจุดต่ำสุดในตลาดหมีครั้งนี้
Kamakshya Trivedi และ Dominic Wilson นักกลยุทธ์แห่ง Goldman Sachs บอกกับนักลงทุนว่าหุ้นยังคงไม่น่าสนใจนัก หากเทียบกับพันธบัตรในตอนนี้
“จากการประเมินมูลค่าหุ้นของสหรัฐฯ พบว่ายังไม่ได้ให้ผลตอบแทนสูง หากเทียบกับผลตอบแทนจากพันธบัตรและดอกเบี้ยเงินฝาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมองปัจจัยลบที่อาจจะนำไปสู่ภาวะถดถอย และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ดูรุนแรงมากขึ้น ”เขากล่าว
Trivedi และ Wilson กล่าวว่า หากอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้น ด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคที่ 8.2%และตราบใดที่ภาวะถดถอยยังไม่เกิด Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป (หรือกรณีพื้นฐานคืออาจจะคงดอกเบี้ยเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยแม้กระทั่ง Jeremy Grantham และ Ray Dalio ก็ยังเตือนว่า จุดต่ำสุดยังมาไม่ถึง
Savita Subramanian ธนาคารสหรัฐฯ (Bank of America) กล่าวว่า ในช่วงกลางเดือนตุลาคม มี 2 ตัวเลขทางเศรษฐกิจจาก 10 ตัวที่ชี้ว่าตลาดจุดต่ำสุด ขณะที่ในอดีตมีตัวเลขที่ชี้ถึงจุดต่ำสุดถึง 8 ตัว หนึ่งในนั้นรวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราว่างงาน Fed ลดดอกเบี้ย และเส้นอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาวที่ห่างกันมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการประเมินมูลค่าของ Subramanian ซึ่งดู P/E ของ S&P 500 ให้มุมมองที่ดีกว่าวิธีของ Hussman
ปีที่แล้วแบบจำลองของเธอแสดงผลตอบแทนดัชนีรายปีที่จะติดลบใน10ปีข้างหน้า แต่ตอนนี้แบบจำลองแสดงผลตอบแทนโดยไม่รวมปันผลอยู่ที่ 6%
โมเดลของ Hussman น่าจับตาไม่น้อย การเตือนบ่อยครั้งของ Hussman ที่การคาดการณ์ว่าตลาดหุ้นจะร่วงกว่า 60% และคาดการณ์ผลตอบแทนตลาดหุ้นที่ติดลบตลอดทศวรรษ ในขณะที่ตลาดหุ้นยังคงพุ่งสูงต่อเนื่อง เขาก็ยังยืนกรานถึงคำเตือนนั้น และนี่คือสิ่งที่เขาเคยเตือนไว้
-เขาคาดการณ์ในเดือนมีนาคมปี 2000 ว่า หุ้นเทคฯจะร่วงลง 83% จากนั้น ดัชนี Nasdaq100 ที่ประกอบไปด้วยหุ้นเทคฯ ร่วงลงอย่างแม่นยำจนไม่น่าเชื่อว่าเป็นไปได้ที่ 83% ในช่วงปี 2000 ถึง 2002
-เขาคาดการณ์ในปี 2000 ว่าผลตอบแทน S&P500 จะติดลบในช่วง10ปีต่อมา ซึ่งก็เกิดขึ้นจริง
-เขาคาดการณ์ในเดือนเมษายนปี 2007 ว่า S&P500 จะร่วงลง 40% จากนั้นมันก็ร่วงลง 55% ในไป 2007 ถึง 2009
อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนของกองทุนเขาไม่ดีนักกองทุน Strategic Growth Fund ของเขาร่วงลง 43% ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2010 แม้จะเพิ่มขึ้น 14% ใน 12 เดือนต่อมา ขณะที่ดัชนี้ S&P 500 ร่วงลง 15%
หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงตลาดหมีมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ และสองสามปีที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่าคำเตือนแม่นยำมาโดยตลอด
แน่นอนว่ายังมีผลตอบแทนที่ดีให้เห็นอยู่บ้างในวงจรตลาดเช่นนี้ แต่จะทนได้แค่ไหนหากถึงจุดหนึ่งที่ความเสี่ยงเข้ามาพุ่งชนรอบด้าน
นั่นเป็นคำถามที่นักลงทุนต้องตอบตัวเอง และเป็นสิ่งที่ Hussman ต้องคอยเฝ้ามองต่อไป