#Punphol101 Ep.16 สรุป ตัวช่วยลดหย่อนภาษี 7+2 #กองทุน

1. กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund)
-ส่งเสริมให้ออมระยะยาว และยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย ซึ่งออกมาแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
-ลงทุนได้ในสินทรัพย์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ หรือทองคำ เป็นต้น
เงื่อนไข
-ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้ แต่ลดหย่อนตามจริงได้ไม่เกิน 200,000 บาท
-ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
-ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
เหมาะกับใคร
-วัยทำงาน
-การลงทุนระยะกลาง-ยาว อย่างน้อย 10 ปี
-รับความเสี่ยงได้ ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น

2. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund)
ส่งเสริมให้ออมเพื่อใข้จ่ายยามเกษียณ อีกทั้งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย
เงื่อนไข
-ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
-ถือครองอย่างน้อย 5 ปี และขายตอนอายุครบ 55 ปี
-ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
เหมาะกับใคร
-คนที่ต้องการออมเงินสำหรับตอนเกษียณ
-ลงทุนระยะยาว และรับความเสี่ยงได้

3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
การออมเพื่อการเกษียณสำหรับพนักงานประจำในบริษัทเอกชน โดยหักเงินสะสมออกจากเงินเดือน เริ่มต้นที่ 3% สูงสุด 15% ของเงินเดือน ออมเท่าไหร่ลดหย่อนได้เท่านั้น (ลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของลูกจ้าง)
สมาชิก PVD มีอายุครบ 55 ปี และเป็นสมาชิก 5 ปีขึ้นไปเมื่อขายคืนจะไม่ต้องเสียภาษี
4. กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.): กองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุบังคับของราชการ
5. กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน: สำหรับบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนเอกชน ลูกจ้างหักสะสมจากเงินเดือน 3% โรงเรียนในฐานะนายจ้างสมทบเงินให้อีก 3% รัฐช่วยสมทบให้อีก 6%
เงื่อนไข
-กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน -สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
เหมาะกับใคร
-พนักงานประจำ / ครู / ข้าราชการ
-ลงทุนระยะยาว
-อยากมีเงินใช้ตอนเกษียณ

6. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
กองทุนที่การันตีเงินบำนาญให้กับสมาชิกเมื่อออมตามเงื่อนไข คล้ายกองทุนเงินชราภาพประกันสังคม แต่สมาชิกสามารถเลือกออมได้เองตามความสมัครใจ
เงื่อนไข
-ลดหย่อนภาษีเต็มจำนวน สูงสุด 13,200 บาทต่อปี
-เมื่อครบอายุเกษียณที่ 60 ปี ก็จะจ่ายเงินให้ในรูปแบบเงินบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต
เหมาะกับใคร
-อาชีพอิสระ เช่น พ่อค้าแม่ค้า เจ้าของธุรกิจ
-ลงทุนระยะยาว
-อยากมีเงินใช้ตอนเกษียณ

7. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
มี 2 ลักษณะผสมกันตามชื่อ
-ประกันชีวิต = ให้ความคุ้มครองชีวิต
-แบบบำนาญ = หลังจ่ายเบี้ยประกันภัยครบตามกำหนด มีการจ่ายผลประโยชน์ให้เป็นรายงวด งวดละเท่า ๆ กัน เหมือนการสร้างบำนาญให้กับตัวเองหลังเกษียณ
เงื่อนไข
-ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 15% ของรายได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
-กรมธรรม์ประกันชีวิตมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
-ทำกับบริษัทประกันชีวิตในไทย
-จ่ายเบี้ยประกันต่อเนื่องจนกว่าจะเริ่มรับเงินบำนาญ อย่างน้อยคืออายุ 55 ปี
เหมาะกับใคร
-รับความเสี่ยงได้ต่ำ
-ต้องการความคุ้มครอง
-ต้องการวางแผนการเงินไว้ใช้หลังเกษียณในจำนวนที่แน่นอน

8. ประกันชีวิตแบบทั่วไป
ให้ความคุ้มครองชีวิตแก่ผู้ที่
ทำประกันชีวิต บริษัทประกันจะจ่ายเงินตามทุนประกัน หากผู้ทำประกันเสียชีวิตจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
ประกันชีวิตทั่วไป มี 4 แบบ
1. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
คุ้มครองตลอดชีพ เบี้ยประกันถูก ทุนประกันสูง แต่ไม่มีเงินคืนระหว่างทาง
2. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
ให้คุ้มครองในช่วงเวลาสั้น ๆ เบี้ยประกันถูก ความคุ้มครองสูง ไม่มีเงินคืนระหว่างทาง ไม่มีมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์
3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
ประกันคุ้มครองระยะสั้น ความคุ้มครองต่ำ มีเงินคืนระหว่างทาง
4. ประกันชีวิตควบการลงทุน
ประกันที่ควบรวมการลงทุนในกองทุนรวม ไม่ได้การันตีผลตอบแทน ความคุ้มครองสูง เบี้ยประกันถูก
เงื่อนไข
-ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 100,000 บาท
-ถ้ามีการจ่ายเงินคืนทุกปีระหว่างสัญญา เงินที่ได้รับต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี
-หากมีการจ่ายเงินคืนตามช่วงระยะเวลา เช่น จ่ายคืนทุก X ปี เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา
-กรมธรรมต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
-ทำกับบริษัทประกันชีวิตไทย
เหมาะกับใคร
-คนที่เป็นเสาหลักของครอบครัว
-ต้องการความคุ้มครองชีวิต

9. ประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพจะให้ความคุ้มครองสุขภาพ ทั้งกรณีเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ และด้วยอุบัติเหตุ
สำหรับตัวเอง
-ลดหย่อนภาษีสุงสุดไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมเบี้ยประกันสุขภาพเข้ากับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเงินฝากแบบมี-ประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
-ต้องเป็นประกันรักษาพยาบาล ประกันอุบัติเหตุเฉพาะรักษาพยาบาล, โรคร้ายแรง และประกันดูแลระยะยาว
-ทำกับบริษัทประกันชีวิตในไทย
สำหรับพ่อแม่
-ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี
-ต้องเป็นลูกแท้ ๆ ตามกฎหมายของพ่อแม่ (ลูกบุญธรรมไม่ได้)
-พ่อแม่ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
เหมาะกับใคร
-ป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพเป็นหลัก
