tam-eig.com

นักลงทุนระดับตำนาน เตือนตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะไม่ไปไหนไปอีก 10 ปี

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

Stanley Druckenmiller นักลงทุนระดับตำนานเตือน มีความเป็นไปได้สูงว่าตลาดหุ้นจะไม่ไปไหนเลยตลอดทั้งทศวรรษ⁣

Stanley Druckenmiller หนึ่งในนักลงทุนที่เป็นที่ยอมรับใน Wall Street มองว่า ความเจ็บปวดในตลาดครั้งนี้จะไม่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เพราะตลาดหุ้นต้องเผชิญกับภาวะ sideways ตลอดทั้งทศวรรษ ในขณะที่เศรษฐกิจโลกก็กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ⁣

“ในความคิดผม เป็นไปได้สูงเลยทีเดียวที่ตลาดจะทรงตัวเป็นเวลานาน 10ปี เหมือนกับช่วงปี 66-82”⁣
Druckenmiller เสริมอีกว่า ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง โลกที่แยกกันแบบนี้ และสงครามยูเครนที่ลากยาว เขาเชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอนยทั่วโลกสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ ⁣
หากลองย้อนประวัติของเขา คำเตือนของเขาก็น่าจับตาไม่น้อย ⁣

นักลงทุนในตำนาน ก่อตั้งกองทุน Hedge Fund ชื่อ Duquesne Capital ขึ้นในปี 1981 ซึ่งกองทุนของเขาทำผลงานได้ดีกว่าคู่แข่งใน Wall Street โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 30% ต่อปีตั้งแต่ปี 1986-2010 (ข้อมูลจาก Yahoo Finance)⁣

แต่ชื่อเสียงของ Druckenmiller เกิดขึ้นจริง ๆ จากการเดิมพันค่าเงินปอนด์อังกฤษในปี 1992 กับ George Soros ทำให้เขาทำเงินได้ 1.5 พันล้านเหรียญในเดือนเดียว ⁣

จนกระทั่งในปี 2010 Druckenmiller ปิดกองทุน hedge fund ของเขาลง และเปลี่ยนเป็นสำนักงานของครอบครัว ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ก่อตั้งโดยครอบครัวที่ร่ำรวยเพื่อบริหารเงินของพวกเขาเอง เช่นเดียวกับผู้จัดการกองทุนหลาย ๆ คนที่เกษียณแล้ว แต่อย่างไรก็ความความคิดเห็นของเขายังคงเป็นที่สนใจใน Wall Street มาโดยตลอดเหมือนคนเลิกบุหรี่ ⁣

ความเห็นของ Druckenmiller ที่มองว่าตลาดหุ้นจะทรงตัวเป็นเวลานาน มาจากแนวคิดที่ว่า นโยบายของธนาคารกลางเปลี่ยนจากที่เคยผ่อนปรน กลับเปลี่ยนเป็นนโยบายที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น⁣

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์ที่กำหนดช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมาเริ่มหายไปท่ามกลางสงครามในยูเครนและความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับจีน Druckenmiller ชี้ให้เห็นว่าโลภาภิวัตน์มีผลกระทบต่อภาวะเงินฝืด เพราะมันเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานและเร่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แต่ตอนนี้มันหายไปแล้ว ⁣

“เมื่อผมมองย้อนกลับไปที่ตลาดกระทิง ที่เราเริ่มมีสินทรัพย์การเงินจริง ๆ ในปี 1982 ปัจจัยที่สร้างตลาดกระทิงไม่เพียงแค่หยุดลง แต่มันกำลังหายไป” เขากล่าวและอ้างถึงแนวโน้มกระแสทวนกลับของโลกาภิวัตน์ ไม่ว่าจะเป็นความแตกแยกระหว่างสหรัฐฯและจีน ควบคู่ไปกับการใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นและกฎระเบียบต่างๆที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1980⁣

ธนาคารกลางตอบสนองต่อภาวะเงินฝืดที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ตั้งแต่ช่วงปี 1980 ด้วยนโยบายที่ไม่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ในปี 2008 ทำให้ธนาคารกลางต้องดำเนินการจัดการกับสิ่งที่ทำไป ⁣

“การพิมพ์เงินจำนวนมาก นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ เพื่อแก้ปัญหาเงินฝืดหลังวิกฤตการเงิน นำไปสู่ฟองสบู่ในทุกสินทรัพย์” เขากล่าว ⁣

ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังขึ้นดอกเบี้ยและเลิกใช้นโยบายการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นนโยบายที่หวังว่าจะช่วยกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อและการลงทุน นโยบายเหล่านี้ผลักดันสินทรัพย์ทางการเงินในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา ⁣

“เหมือนกับคนที่เลิกสูบบุหรี่” เขากล่าว ⁣

“การพิมพ์เงินจำนวนมากหายไป เหมือนการขับรถด้วยความเร็ว 200 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่หลังจากนั้นก็เริ่มผ่อนคันเร่ง แต่ไม่ใช่แค่นั้น มีการเหยียบเบรคด้วย”⁣

จากประเด็นที่เขากล่าวว่า FED จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสี่ครั้งในปีนี้เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ไม่ใช่แค่ธนาคารสหรัฐฯเท่านั้นที่พยายามลดราคาผู้บริโภคด้วยนโยบายการเงินที่เข้มงวดยิ่งขึ้น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย รวมไปถึงธนาคารกลางทั่วโลกก็มีการปรับนโยบายเช่นเดียวกัน⁣

แม้นโยบายของธนาคารกลางจะส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ทางการเงินรวมถึงหุ้นในทศวรรษข้างหน้า แต่เขาก็มองว่ายังมีข่าวดีอยู่บ้าง⁣

“ข่าวดีก็คือ ยังมีบริษัทที่ทำผลงานได้ดีแม้ในสภาพล้อมเช่นนี้” เขาอ้างถึงตลาดหุ้นในช่วงปี 66-82 “นั่นคือตอนที่ Apple Computer และ Home Depoet ถูกก่อตั้งขึ้น” ⁣

อย่างไรก็ตาม Druckenmiller เตือนนักลงทุนว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่จะคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ และเขามีประวัติการมองตลาดในเชิงลบตลอดอาชีพการงานของเขา ⁣
“ผมชอบมองในแง่ร้ายไว้ก่อน” เขากล่าว

#เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต

อิสรภาพชีวิต !! อยู่ไหนก็ไม่พลาด อย่าลืมกดติดตามนะครับ หรือเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้เลย

ส่งข่าวสารถึงมือผ่าน คลิกเลย

#ถ้าไม่อยากพลาดแนวคิดการลงทุนและไอเดียการลงทุนดี ๆ อย่าลืมกด subscribe และ กดกระดิ่งนะครับ คลิกเลย

Exit mobile version