
#Punphol Ep.12 เงินบาทอ่อน / แข็งค่าดูยังไง? และแบบไหนถึงจะได้ประโยชน์?
#วางแผนการเงิน #Punphol101 #ป๊าอิก สอน #น้องปันผล จด :)
ติดตามความรุ้และอัปเดต “TAM-EIG_เงินทองมันต้องวางแผน” https://bit.ly/3cvyzNC
#ทุกเรื่องที่นักลงทุนต้องรู้ #tameig #วางแผนการเงิน

ค่าเงินบาท คืออะไร
ภาษาแบบทางการ:
อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศ
ความหมาย:
จำนวนเงินบาทเมื่อแลกกับเงินต่างประเทศสกุลอื่น ๆ (ส่วนใหญ่มักจะเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ)
ตัวอย่าง:
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
หมายความว่าเงิน 35 บาท จะแลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเงิน 1 บาท จะแลกเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ประมาณ 0.029 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ใครกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ
ค่าเงินเปลี่ยนแปลงตามกลไก demand-supply ซึ่งคือความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) เหมือนเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง
ยกตัวอย่างเช่น หากมีคนต้องการเงินบาทมากขึ้น ราคาของเงินบาทก็จะสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า “เงินบาทแข็งค่า”
ในทางกลับกัน ถ้ามีคนต้องการเงินบาทน้อยลง ราคาของเงินบาทก็จะปรับลดลง หรือที่เรียกว่า “เงินบาทอ่อนค่า”
นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน:
ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) โดยค่าเงินบาทถูกกำหนดโดยกลไกตลาด
แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้ามาดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนค่าเร็วเกินไปในระยะเวลาสั้น ๆ และไม่ขัดกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยที่มีผลต่อ “ค่าเงิน”
1. การเคลื่อนย้ายของเงินทุนระหว่างประเทศ (ฝั่งอุปสงค์ / ความต้องการเงินบาท)
– ถ้ามีความต้องการมากขึ้นค่าเงินบาทก็จะแข็งขึ้น ถ้าต้องการน้อยค่าเงินบาทก็อ่อนตัวลง ซึ่งความต้องการนี้อาจมาจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน การค้า หรือบริการของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
– เช่น GDP ของไทยสัดส่วนหลักมาจากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว ดังนั้น ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ต่างชาติมาเที่ยวน้อยลง และไทยส่งออกได้น้อยลง ทำให้ความต้องการเงินบาทลดลงไปด้วย ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัว

ปัจจัยที่มีผลต่อ “ค่าเงิน”
2. อัตราดอกเบี้ย
- อัตราดอกเบี้ยสะท้อนผลตอบแทนจากการลงทุน ดังนั้น เงินทุนมักจะย้ายจากประเทศที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ไปสู่ประเทศที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูง
– เช่น ถ้าสหรัฐฯขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่วนไทยยังคงอัตราดอกเบี้ย เงินลงทุนจะไหลออกจากไทยไปสหรัฐฯซึ่งให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า เมื่อเงินไหลออก เงินบาทก็จะถูกแลกเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ทำให้เงินบาท “อ่อนค่า” โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า

ปัจจัยที่มีผลต่อ “ค่าเงิน”
3. นโยบายการเงินของธนาคารกลาง (ฝั่งอุปทาน / ปริมาณเงินในระบบ)
– ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบนั้น ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ใช้กลไกต่าง ๆ ในการกำหนดปริมาณเงินในระบบ เช่น
– มาตรการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Required Reserve)
เงินฝากขั้นต่ำที่ธนาคารพาณิชย์ต้องกันไว้เป็นเงินสำรอง แล้วส่วนที่เหลือถึงสามารถนำไปลงทุน หรือปล่อยกู้ได้
– ซื้อขายเงินบาทผ่านตลาดการเงิน
เป็นการเพิ่มหรือลดปริมาณเงินบาทในระบบ ด้วยการซื้อขายเงินบาท / เงินต่างประเทศ ผ่านตลาดเงิน

ปัจจัยที่มีผลต่อ “ค่าเงิน”
4. ปัจจัยอื่น ๆ
– ความไม่มั่นคงทางการเมือง
– ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
– เสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
– การเมืองระหว่างประเทศ

ค่าเงินบาทแข็ง / อ่อนค่า ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างไร?
สมมติว่าวันนี้ 33 บาท = 1$
