เพราะอะไร ทำไมญี่ปุ่นเงินเฟ้อไม่สูงเหมือนหลาย ๆ ประเทศ?

1001

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

หลายคนค่อนข้างกังวลกับตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดที่มีการประกาศออกมา เพราะตัวเลขเงินเฟ้อหลายประเทศพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเงินเฟ้อของไทยเราเองล่าสุดก็แตะ 7.1% ไปแล้ว แต่ทำไมตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นถึงอยู่ที่ประมาณ 2.5% เท่านั้น (ตัวเลขเงินเฟ้อ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)⁣

พี่รัน คุณนิรันดร์ ประวิทย์ธนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้งเอวา แอดไวเซอรี่ (AVA Advisory) มีพูดถึงประเด็นนี้ให้ฟังไว้แบบเข้าใจง่าย ๆ ครับ

– ข้อตกลงเปลี่ยนขีวิต -⁣

ในช่วงปี ค.ศ. 1980-1990 ช่วงนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นรุ่งเรืองมาก มากจนทำให้ทางสหรัฐฯขาดดุลการค้ามหาศาล สหรัฐฯจึงบังคับให้ญี่ปุ่นเซ็นต์ข้อตกลงพลาซา (Plaza Accord) หรือปฏิญญาระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางระหว่าง 5 ประเทศอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ฝรั่งเศส, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ซึ่งเป็นข้อตกลงให้ญี่ปุ่นและเยอรมนีเพิ่มค่าเงินของตัวเองเมื่อเทียบกับดอลลาร์ รัฐบาลทั้ง 5 ได้ลงนามข้อตกลงนี้ในปี 1985 ซึ่งผลจากการทำข้อตกลงนี้ทำให้ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่ามากในช่วงนั้น⁣

หลังจากที่ค่าเงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่ามาก ทำให้มีเม็ดเงินจากทั่วโลกไหลเข้าญี่ปุ่น ⁣

– ฟองสบู่แตก -⁣

เม็ดเงินจากทั่วโลกที่ไหลเข้าญี่ปุ่นเป็นสายน้ำในตอนนั้น ทำให้ดัชนี Nikkei วิ่งจากไม่ถึง 10,000 จุดไปเป็น 38,000 จุดในเวลาเพียงไม่กี่ปี แต่เนื่องจากสมัยนั้นประเทศญี่ปุ่นพึ่งพาตัวเองด้วยการส่งออกเป็นหลัก การที่ค่าเงินแข็งค่ามากอย่างต่อเนื่องทำให้ตลาดส่งออกของญี่ปุ่นพัง หรือที่เรียกกันคุ้นปากว่า “ฟองสบู่แตก” ⁣

เหตุการณ์นั้นทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และไม่ว่ารัฐบาลจะมีความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจยังไง อัดฉีดเงินก็แล้ว ลดดอกเบี้ยก็แล้ว แต่เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ไม่ฟื้น คนไม่ใช้จ่าย ในช่วงเวลา 20-30 ปีที่ผ่านมาจึงกลายเป็นช่วง The Lost Decade ของญี่ปุ่นเลยครับ⁣

– ทำไมเงินเฟ้อญี่ปุ่นไม่สูงเหมือนหลาย ๆ ประเทศ -⁣

คลิปสัมภาษณ์เต็ม https://youtu.be/xMqJKBAFnFU รายการ Right Now by Eig Banphot⁣

“สาเหตุที่ญี่ปุ่นเงินไม่เฟ้อเนี่ย เพราะพฤติกรรมของประชาชนญี่ปุ่นแตกต่างจากประเทศอื่นพอสมควร คนญี่ปุ่นกลัวอนาคตที่ไม่แน่นอนก็เลยประหยัด ถ้าธุรกิจประหยัด ไม่ขยายธุรกิจ เศรษฐกิจมันก็เกิดภาวะที่ในภาษาเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Deflationary Spiral คือ ภาวะเงินฝืดแบบวนเวียนอยู่แบบนั้น ⁣

เมื่อคนไม่ใช้จ่าย ภาคธุรกิจก็ขายของไม่ได้ ⁣
ธุรกิจขายของไม่ได้ ก็ไม่ขยายธุรกิจ ⁣
ไม่จ้างคนเพิ่ม ไม่ขึ้นเงินเดือนให้พนักงาน มันก็เลยเกิดภาวะเงินฝืดเรื้อรัง ⁣

เงินฝืดของญี่ปุ่นเป็นภาวะที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นไม่ได้สูงนะ แต่เงินเฟ้อเพราะพฤติกรรมของประชาชน คือคนกลัวทำให้ไม่อยากใช้จ่าย ประกอบกับญี่ปุ่นเป็นประเทศไม่กี่ประเทศที่เข้าสู่ Aging Society หรือสังคมผู้สูงอายุแบบเต็มรูปแบบ ⁣

ยิ่งประชาชนเจอความไม่มั่นคงในอนาคต จะยิ่งกลัว ⁣
ยิ่งกลัว ก็ยิ่งเก็บเงิน ⁣
ยิ่งเก็บเงิน ยิ่งไม่ใช้จ่าย เศรษฐกิจไม่หมุนเวียน เงินก็เลยไม่เฟ้อ ⁣

เพราะฉะนั้น นี่คือปัญหาที่ญี่ปุ่นประสบต่างจากประเทศอื่น”

#เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต

อิสรภาพชีวิต !! อยู่ไหนก็ไม่พลาด อย่าลืมกดติดตามนะครับ หรือเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้เลย

ส่งข่าวสารถึงมือผ่าน คลิกเลย

#ถ้าไม่อยากพลาดแนวคิดการลงทุนและไอเดียการลงทุนดี ๆ อย่าลืมกด subscribe และ กดกระดิ่งนะครับ คลิกเลย

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

1001

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!