ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ได้พูดถึงตัวเลข CPI สหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นกว่าคาด ทำให้ตลาดมองเงินเฟ้อน่าจะไปต่อว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ได้มีการคาดการณ์เอาไว้ก่อนอยู่แล้ว แต่หากมองอีกด้านอัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวลดลงอยู่บ้าง ถ้าย้อนกลับไปดูช่วงที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาไต่ระดับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเดือนมีนาคมอัตราเงินเฟ้อของประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 8.5 % โดยในช่วงเดือนเมษายนมีการปรับตัวอยู่ที่ 8.3 % ซึ่งสูงกว่าตลาดที่คาดเอาไว้ แต่อย่างน้อยจะเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อเริ่มมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อย่างไรก็ตามก็เป็นปัจจัยทำให้ธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ FED ต้องเข้ามาควบคุมอัตราเงินเฟ้อและนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมานโยบายอัตราการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐทำให้คาดการณ์ได้ว่า ทิศทางแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐยังคงมีการปรับตัวมากขึ้น
พี่กลด คุณทรงกลด วงศ์ไชย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ที่ปรึกษาการลงทุน เอฟ เอส เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้พูดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดกับภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นว่า จากรายงานอัตราเงินเฟ้อล่าสุดที่มีตัวเลขอยู่ที่ 8.3 % นั้น แม้ว่าจะมีการปรับตัวลดลงแต่ก็ยังอยู่ที่ 8 % ซึ่งเกินเป้าหมายที่ธนาคารกลางสหรัฐได้ตั้งเอาไว้มาก ไม่เพียงเท่านั้น หลายคนเริ่มกังวลแล้วว่าราคาพลังงานที่อาจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีก เพราะสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังคงดำเนินต่อไป
พี่กลดยังให้คำแนะนำแก่นักลงทุนเอาไว้ด้วยว่า จังหวะขาลงแบบเร็ว ๆ แบบนี้มักเกิดไม่นาน ระหว่างนี้นักลงทุนจะต้องมีกำลังใจ มีสติ และทำการบ้านให้มาก ๆ และอย่าลืมปรับพอร์ตโดยหาหุ้นที่มีศักยภาพที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดที่ปรับตัวขึ้นเข้าไป ส่วนหุ้นไหนที่ปรับลงมาแล้วมีพื้นฐานไม่ดีก็ต้องขายทิ้ง และนำให้เถือเงินสดเพิ่มขึ้นรอปัจจัยต่าง ๆ คลี่คลาย