
*สัมภาษณ์วันที่ 27 สิงหาคม 2564
ทำไมนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในไทย
Moody’s คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย จากก่อนหน้านี้ที่มีการคาดการณ์ว่าจะถูกปรับลดลง เพราะมีการคาดการณ์ GDP ไทยจะติดลบและด้วยมาตรการกระตุ้นของภาครัฐที่ยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2013 นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยไปแล้วกว่า 1 ล้านล้านบาท ทำให้สถานะการถือครองของนักลงทุนต่างชาติปรับลดลงไปสู่ระดับต่ำสุดที่ 28% (จาก 37%) จึงเป็นการกลับเข้าลงทุนในไทยอีกครั้งเพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือครอง อีกทั้งด้านผู้ว่าแบงก์ชาติได้มีการส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะไม่ลดอัตราดอกเบี้ย
หากไทยมีการลดดอกเบี้ย จะส่งผลต่อค่าเงินบาทอย่างไร
ดอกเบี้ยกับค่าเงินมีความเชื่อมโยงกันไม่มาก แต่ค่าเงินจะไปเชื่อมโยงกับภาพรวมของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นมากกว่า โดยปัจจัยที่น่าจับตาเพราะอาจจะกระทบค่าเงินบาทได้แก่ FED, สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย ว่าจะลดการทำ QE หรือไม่ ถ้าลดพร้อม ๆ กันอาจมีผลกระทบต่อค่าเงินบาท และเนื่องจากค่าเงินทั่วโลกมีความเกี่ยวเนื่องกัน หาก FED ลด QE ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น อาจส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อน ในขณะเดียวกัน หาด FED ลด QE แต่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแล้ว อาจส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็ง
แนะนำโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในช่วง 1-2 ปีนี้
ดร. จิติพล แนะนำให้ “Selective Buy” ใน “ตลาดกำลังพัฒนา” เพราะมองว่ามีโอกาสกลับมาในช่วงประมาณไตรมาสที่สี่ สำหรับต่างประเทศ เงินเฟ้อยังเป็นความเสี่ยงโดยเฉพาะในสหรัฐฯ และแนะนำเลือกลงทุนเป็นธีมจะเหมาะกว่าการลงทุนเป็นราย Sector คือ เลือกธุรกิจที่สามารถปรับตัวได้เก่ง มีรายได้หลายทาง เช่น ธีมเปิดเมือง หรือ EV เป็นต้น
คุณสรพล แนะนำลงทุนในทวีปยุโรป เพราะยุโรปน่าจะเป็นประเทศท้าย ๆ ที่จะลดสภาพคล่อง และเงินเฟ้อก็ไม่น่ากังวล ในขณะที่หุ้นราย Sector ที่แนะนำได้แก่ หุ้นกลุ่ม Bank ในอเมริกา, กลุ่ม Waste Management ในยุโรป และ กลุ่ม Domestic ในอินเดีย ส่วนการลงทุนในหุ้นไทย คุณสรพลมองว่า กลุ่มขนส่งของภูมิภาคและกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต
