ศิลปินเกาหลี ธุรกิจแสนล้านนี้ ปั้นกันยังไง? TAM-EIG 3 years ago ศิลปินเกาหลี ธุรกิจแสนล้านนี้ ปั้นกันยังไง? อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาดFacebook | Youtube | Line | Website *สัมภาษณ์วันที่ 13 กันยายน 2564 Key Success Factors ของอุตสาหกรรม K-popอุตสาหกรรม K-pop ถือเป็นกลยุทธ์ระดับประเทศของเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและทุกภาคส่วนไปด้วยกัน ทำให้อุตสาหกรรมนี้มีความเข้มแข็งอย่างมาก สิ่งสำคัญคือการส่งออก Soft Power ที่เน้นวัฒนธรรมมากกว่าผลิตภัณฑ์ ค่ายเพลงมีหน้าที่เปลี่ยนคนให้เป็น Content ที่มีอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง (Brand Emotional) กลยุทธ์ที่ทางค่ายเพลงทำ คือวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ว่าต้องการหรือสนใจอะไร เพื่อให้เนื้อหาที่ปล่อยออกมานั้นทันตามยุคสมัย เช่น มีการกล่าวถึง ความเสมอภาคของสตรี (Feminist) หรือ เสรีภาพในการพูด (Freedom of speech) ในเนื้อเพลงโดยระบบนิเวศน์ของอุตสาหกรรม K-pop นั้นจะไม่พึ่งพารายได้จากสปอนเซอร์มากเกินไป แต่จะเน้นรายได้จากยอดขายอัลบั้มและความนิยมของศิลปินเป็นหลัก อุตสาหกรรม K-pop ยังมีความเป็นมาตรฐานสากล ทำให้สามารถเข้าถึงคนทั้งโลกไม่ใช่แค่ในเกาหลีใต้ เช่น การใส่ภาษาอังกฤษลงไปในเนื้อเพลง และจุดเด่นของอุตสาหกรรม K-pop คือการสร้างกระแสโลกาภิวัฒน์ ทำให้ทุกครั้งที่ปล่อยเพลงออกมามักจะได้รับความสนใจจากคนมากมาย ไม่ใช่แค่เฉพาะแฟนคลับแต่รวมถึงคนที่ไม่เคยติดตามมาก่อน อย่างเช่น LISA Blackpink ที่เป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ และสิ่งที่ทำให้ อุตสาหกรรม K-pop ในปัจจุบันแตกต่างไปจากอดีตคือโซเชียลมีเดียทำให้เกิดเป็นสังคมขนาดใหญ่ มีการรวมตัวกันของแฟนคลับเพื่อสนับสนุนศิลปิน Return On Investmentขั้นตอนเพื่อให้ได้ศิลปิน 1 วง เริ่มจากการคัดเลือก (Casting) เพื่อหาคนที่จะเข้ามาฝึก ซึ่งต้องหาคนที่ใช่จริง ๆ บางครั้งผู้สมัคร 4,000 คนคัดมาได้มาเพียงแค่คนเดียว พอได้คนที่ใช่แล้ว จะมีการฝึก (Training) ซึ่งอาจจะนานถึง 7 ปี มีการแข่งขันสูง ต้องเรียนรู้หลายอย่างทั้ง ร้อง เต้น ภาษา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมจะมีการลองรวมกลุ่มดูว่าเข้ากันไหม เคมีวงเป็นอย่างไร ถ้า Branding คนในวงซ้ำกัน ต้องตัดใครคนหนึ่งออก ทำให้บางคนถอดใจออกไปก่อนต้นทุนตั้งแต่การคัดเลือกจนเดบิวท์ออกมา 1 วง อยู่ที่ประมาณ 600 ล้านบาท ทำให้สัญญาศิลปินมีระยะเวลายาวมาก เพราะต้องใช้เวลากว่าจะคุ้มทุน ในส่วนของศิลปิน จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ในหลายรูปแบบ เช่น ค่าสิทธิ (Loyalty fee), ค่าขายสินค้า, ค่าตั๋ว, พรีเซนเตอร์ หรือรายได้จากการออกรายการต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่ทุกวงที่ทำรายได้ได้เยอะ แต่ถ้าดังวงหนึ่งทางค่อยเพลงก็จะได้รับผลตอบแทนมหาศาล สามารถชดเชยวงที่ไม่ประสบความสำเร็จได้ #ถามทันที | ศิลปินเกาหลี ธุรกิจแสนล้านนี้ ปั้นกันยังไง?ถามอีก กับถามอีก กับ คุณต้นฮ้อ คุณพลากร ยอดชมญาณ Co-Founder & CEO of KU-LAPและคุณคิม คุณชัชวาลย์ วัฒนะโชติ นักลงทุน เจ้าของช่อง Kim Property Live #TamEigPodcast ฟังแบบเนื้อ ๆ ไม่มีเม้นท์ ได้ที่ Podcastถามอีกกับอิก TE 300 | ศิลปินเกาหลี ธุรกิจแสนล้านนี้ ปั้นกันยังไง?ถ้ามีประโยชน์และชื่นชอบ อย่าลืม subscribe และให้ดาวนะคร้าบคลิกเพื่อฟังทาง Apple podcastคลิกเพื่อฟังทาง Soundcloudคลิกเพื่อฟังทาง Spotifyคลิกเพื่อฟังทาง Google podcast Apple Soundcloud Spotify Google-plus ถามอีก กับอิก Tam-Eig · ถามอีกกับอิก TE 300 | ศิลปินเกาหลี ธุรกิจแสนล้านนี้ ปั้นกันยังไง?