tam-eig.com

วิเคราะห์ผลประกอบการ Q2 ธ.พาณิชย์ โควิด – 19 ยังรับมือกันไหว?

วิเคราะห์ผลประกอบการ Q2 ธ.พาณิชย์_YOUTUBE

อย่าลืม Subcribe จะได้ไม่พลาด

Facebook | Youtube | Line | Website

*สัมภาษณ์วันที่ 24 กรกฎาคม 2564

วิเคราะห์ผลประกอบการ Q2 ธ.พาณิชย์ โควิด-19 ยังรับมือกันไหว ?

กลุ่มธนาคารมีผลประกอบการออกมาดี แต่ทำไมราคาถึงไม่ไปไหน 

1. ปีฐานที่นำมาเปรียบเทียบกำไรต่ำมาก (Low Base): เนื่องจากในปีที่แล้ว หลายธนาคารมีการตั้งสำรองหนี้สูญค่อนข้างเยอะ ทำให้กำไรลดลง 20%-30% ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่ 2 ปี 2563 กับไตรมาสที่ 2 ปี 2564 จึงดูมีกำไรเพิ่มขึ้นค่อนข้างเยอะ

2. ลดต้นทุน (Lean): ธนาคารพาณิชย์มีการจัดการต้นทุนได้ดี เช่น มีการลดสาขา แล้วไปเน้นที่ Digital Banking มากขึ้น

3. ตลาดทุนเติบโตดี (Capital Market): มีรายได้จากการออก IPO และกองทุนรวมที่เพิ่มมากขึ้น

4. Covid-19: ส่งให้ให้เกิดความไม่แน่นอน นักลงทุนสูญเสียความเชื่อมั่นจึงยังไม่กล้าลงทุน

ผลประกอบการหุ้น (รายตัว)

– BAY (กำไรเพิ่มขึ้น) โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจาก “เงินติดล้อ” ที่ถือหุ้นอยู่ เข้า IPO

– BBL (กำไรเพิ่มขึ้น) เนื่องจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีการตั้งสำรองไว้เยอะ ทำให้ผลประกอบการเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าดีขึ้น

– KBANK (กำไรเพิ่มขึ้น) เนื่องจากไตรมาสที่ 2 ปี 2020 มีการตั้งสำรองไว้เยอะ และผลกระทบจาก SMEs ไม่รุนแรงอย่างที่คิดเนื่องจากมีการปรับ Portfolio มาสักพักแล้ว 

– KKP (กำไรเพิ่มขึ้น) โดดเด่นด้านตลาดทุน แต่เนื่องจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีการตั้งสำรองไว้ไม่เยอะมาก เมื่อเปรียบเทียบกำไรจึงเพิ่มขึ้นไม่มาก

– TTB (กำไรลดลง) เนื่องจากอยู่ในช่วงควบรวมกิจการ จึงเน้นการจัดการต้นทุนมากกว่าเน้นการเติบโต อีกทั้งการเจอกับโควิด-19 ทำให้ต้องรัดเข็มขัดมากขึ้น และไตรมาสที่ 2 ปี 2563 TTB ถือว่าตั้งสำรองไว้ไม่เยอะ

(วิเคราะห์) ในเมื่อผลประกอบการของธนาคารดี ทำไมการ “หยุด” ดอกเบี้ยเงินกู้ถึงไม่น่าจะเป็นไปได้

เนื่องจาธนาคารพาณิชย์มีกรอบในการออกนโยบาย และถือว่าเป็นบริษัทจดทะเบียน มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ธนาคารต้องดูแล และหากเป็นธนาคารต่างชาติ ก็มี Regional ที่คอยควบคุม ทำให้การที่ธนาคารจะตัดสินใจทำอะไรต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผลรอบด้าน อีกทั้งกำไรที่เพิ่มขึ้นของธนาคารนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่ธนาคารลดต้นทุน และการคัดกรองลูกหนี้ก่อนปล่อยสินเชื่อที่ที่ประสิทธิภาพ ทำให้ลูกหนี้ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่ธนาคารมองว่ายังมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย สิ่งเหล่านี้ทำให้การหยุดคิดดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์จึงไม่น่าจะเป็นไปได้

#ถามทันที | วิเคราะห์ผลประกอบการ Q2 ธ.พาณิชย์ โควิด – 19 ยังรับมือกันไหว?

ถามอีก กับพี่เอ๋ คุณธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบีเคย์เฮียน

คุยอะไรกันบ้าง?

02:12 เริ่มกันเลย

04:36 กลุ่มธนาคารผลประกอบการดี แต่ทำไมราคาไม่ไปไหน?

12:04 NPL มีโอกาสจะเพิ่มอีกหรือไม่ ถ้ามีโควิด-19 ระรอกอื่น ๆ ตามมาอีก

20:16 ถ้าพนักงานโรงงานติดโควิด-19 กันมากขึ้น จะกระทบส่งออกหรือไม่?

23:08 ผลประกอบการหุ้นธนาคาร (รายตัว)

25:50 ถ้าต้องการเปรียบเทียบแบบไม่ดู “การตั้งสำรอง” ต้องดูจากตัวเลขไหน?

29:10 พี่เอ๋ชอบพื้นฐานหุ้นตัวไหน?

31:05 ทำไม ttb หลังควบรวม รายได้ไม่โต

35:51 ธนาคารหยุดคิดดอกเบี้ย เป็นไปได้หรือไม่?

39:55 SMEs ทำไมเข้าไม่ถึงเงินกู้?

51:20 ทำไมธนาคารต่างชาติย้ายสำนักงานออกจากประเทศไทยไปหลายเจ้าแล้ว?

54:38 KBank เน้นกลุ่ม SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ทำไมคราวนี้ผลประกอบยังดี?

59:28 ในภาพรวมหุ้นกลุ่มธนาคารยังดีหรือไม่? ราคาถูก น่าซื้อหรือยังไ?

โดย อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข, AFPT

#TamEigPodcast ฟังแบบเนื้อ ๆ ไม่มีเม้นท์ ได้ที่ Podcast

ถามอีกกับอิก TE 267 | วิเคราะห์ผลประกอบการ Q2 ธ.พาณิชย์ โควิด – 19 ยังรับมือกันไหว?

ถ้ามีประโยชน์และชื่นชอบ อย่าลืม subscribe และให้ดาวนะคร้าบ

คลิกเพื่อฟังทาง Apple podcast

คลิกเพื่อฟังทาง Soundcloud

คลิกเพื่อฟังทาง Spotify

คลิกเพื่อฟังทาง Google podcast

Exit mobile version