รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้พูดถึงสถานการณ์ที่ประเทศยากจนกำลังเจอวิกฤตขาดแคลนอาหารเอาไว้ว่า ในประเทศแอฟริกาเวลานี้เจอกับวิกฤตขาดแคลนอาหารแล้ว แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้เจอวิกฤตขาดแคลนอาหาร แต่เราเจอกับวิกฤตราคาสินค้าแพงมากกว่า ข้าวประเทศไทยมีการผลิตมากไม่มีทางขาดแคลนได้ แต่เราต้องจ่ายค่าอาหารแพงขึ้น
ทั้งรัสเซียและยูเครนมีการผลิตข้าวสารกันเยอะมาก มีการส่งออกข้าวเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยที่ยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ตลาดข้าวโลกหายไปมากถึง 20-30 % ด้วยกัน ขณะที่อินเดียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวสารรายใหญ่ของโลกก็ได้มีการหยุดส่งออกข้าวเพื่อประคองวิกฤตขาดแคลนอาหารที่เกิดขึ้นในประเทศ เช่นกันน้ำมันปาล์มมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น เมื่อความต้องการน้ำมันปาล์มในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มมีการดีดตัวเพิ่มสูงขึ้น
สิ่งที่ต้องมาคิดต่อคือ แล้วไทยต้องเตรียมตัวรับมือเพื่อให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างไรเมื่อห่วงโซ่การผลิตของโลกแยกออกเป็นสองแกนที่ชัดเจนคือจีน กับ สหรัฐฯ ไทยน่าจะใช้โอาสนี้ส่งออกข้าวได้มากขึ้น แต่ Demand ยังไม่มากพอ และยังมีคู่แข่งจากเวียดนามและอินเดีย เราต้องทำให้ข้าวเรามีความต่างและตรงกับความต้องการของตลาด และด้วยกำลังซื้อของโลกลดลงทำให้กระทบการส่งออกของไทย แต่สินค้าที่ยังไปได้ดีของไทย คือ ทุเรียน มันสำปะหลัง ยาง