คุณกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ได้พูดถึงสถานการณ์ที่ค่าเงินบาทแข็งค่ามาตลอดในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาว่า ตอนที่เราเห็นค่าเงินบาทมีการแกว่งตัวนั้น ส่วนหนึ่งมาจากตัวละครเพียงไม่กี่ตัว ในช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนมาก ๆ สมัยต้มยำกุ้งเป็นดุลบัญชีเงินสะพัด แต่เป็นคนละด้านก็คือเป็นการขาดดุลบัญชีเงินสะพัดประมาณ 7-8 % แต่หลังจากปี 2014 จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพร้อมขนเงินเข้าประเทศและแลกเป็นเงินบาท นักท่องเที่ยวเข้ามามากทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ซึ่งเป็นปัญหาของธนาคารกลางแห่งประเทศไทยมาโดยตลอด เพราะหากปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งก็จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันเนื่องจากจะไปเบียดกับผู้ส่งออกจำนวนมาก
ในปี 2017 ทางธนาคารกลางสหรัฐฯมีการวปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและใช้นดยบาย QT ก็ต้องมาดูหนังม้วนนี้อีกรอบหนึ่ง เพราะดูเหมือนว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย หากไม่มีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาก็ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
หากถามว่าค่าเงินบาทที่กำลังอ่อนค่าไปถึงจุดพีคแล้วหรือยังก็ต้องมาดูที่ปัจจัยที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าขณะนี้ สาเหตุหนึ่งมาจากการจ่ายเงินปันผลยังเยอะอยู่ ทำให้มีนักลงทุนต่างชาติมีการแลกเงินกลับไป แต่อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือน มิ.ย.ตลาดเริ่มชินและกลัวนโยบายของธนาคารสหรัฐฯ ที่ออกมาน้อยลง ทำให้ Premium ที่ให้กับดอลลาร์เริ่มแผ่วลงไปบ้าง รวมทั้ง สงครามรัสเซีย ยูเครน ที่หากมีรัฐประหารเกิดขึ้น อาจนำสันติภาพมาสู่โลกและทำให้สถานการณ์กลับไปเป็นปกติ