#Punphol101 Ep.01 ค่าธรรมเนียมที่ต้องรู้ ก่อนซื้อกองทุน

1019

ค่าธรรมเนียมที่ต้องรู้ ก่อนซื้อกองทุน #Punphol101⁣

#ป๊าอิก สรุปไว้ให้ #น้องปันผล แล้วเอามาแชร์กันดูครับ⁣

#ทุกเรื่องที่นักลงทุนต้องรู้ #tameig ⁣

ปู่วอร์เรนบัฟเฟตต์บอกไว้ว่า 


⁣“ผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน บางช่วงดี บางช่วงไม่ดี แต่ค่าธรรมเนียมต่างหากละ ที่ไม่เคยหายไปไหน”⁣

“ค่าธรรมเนียมในการลงทุนที่ต่างกันประมาณ 2% อาจจะทำให้เงินในพอร์ตลงทุน หายไปมากถึงครึ่งหนึ่ง ในระยะเวลา 30 ปี”⁣

ค่าธรรมเนียมกองทุนแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก

⁣⁣
1. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย: คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าซื้อขายกองทุน⁣

2. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม: คิดเป็นเปอร์เซ็น (%) จากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ไม่ว่ากองทุนจะกำไรหรือขาดทุน⁣

หารต่อวัน และมีการหักจ่ายทุกวัน⁣
ค่าธรรมเนียมสูงสุด vs. ค่าธรรมเนียมคิดจริง: ⁣
กองทุนจะมีกำหนดค่าธรรมเนียมสูงสุดที่จัดเก็บได้ แต่ส่วนใหญ่จะคิดจริงน้อยกว่า⁣

ค่าธรรมเนียมกองทุนแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก⁣

1) ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย⁣

– ค่าธรรมเนียมขาย (Front-end fee) ค่าธรรมเนียมซื้อหน่วยลงทุน เก็บเมื่อเราซื้อกองทุน ⁣

– ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (Back-end fee) ค่าธรรมเนียมขายหน่วยลงทุน เก็บเมื่อเราซื้อกองทุน ⁣

– ค่าธรรมเนียมสับเปลี่ยนเข้า (Switching-in) ค่าธรรมเนียมเก็บเมื่อย้ายมาจากกองทุนอื่น⁣

– ค่าธรรมเนียมสับเปลี่ยนออก (Switching-out) ค่าธรรมเนียมเก็บเมื่อย้ายออกไปกองทุนอื่น⁣
– ค่าธรรมเนียมการโอน (Transfer fee) ค่าธรรมเนียมการโอนกองทุนให้บุคคลอื่น ⁣

– ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อมีการซื้อ ขาย สับเปลี่ยน (Transaction fee) ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้นทุนในการซื้อขายหุ้นตามปกติ⁣

การคิดค่าธรรมเนียม⁣
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าซื้อขายกองทุน ** ซื้อขายบ่อย ๆ ยิ่งเสียค่าธรรมเนียมมาก⁣

2) ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม⁣

– ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ค่าตอบแทนสำหรับผู้จัดการลงทุน โดยแตกต่างไปตามความยากง่าย เช่น ค่าธรรมเนียมกอง Active Fund จะสูงกว่า Passive Fund เพราะต้องคอยปรับพอร์ตอยู่เรื่อย ๆ ⁣

– ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee Fee) ค่าธรรมเนียมผู้สำหรับดูแลผลประโยชน์ มีหน้าที่รับรองราคา NAV ให้ถูกต้อง และควบคุมให้กองทุนดูแลผลประโยชน์นักลงทุนตามนโยบาย⁣

– ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน (Registrar Fee) ค่าธรรมเนียมสำหรับบริหารจัดงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทะเบียนของผู้ถือหน่วย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นต้น (ประมาณ 0.16-0.2%)⁣

– ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าจัดส่งเอกสาร ค่าจัดทำรายงานประจำปีเป็นต้นครับ (น้อยสุด ๆ ครับ ประมาณ 0.0003%)⁣

ตัวอย่างรายละเอียดค่าธรรมเนียม

สามารถดูได้จากหนังสือชี้ชวน (Fund Fact Sheet)

มาลองคำนวณดู จะได้เห็นภาพมากขึ้น

ค่าธรรมเนียมมากหรือน้อย สำคัญกับผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหน?

ข้อควรรู้ ในการตัดสินใจซื้อกองทุน⁣⁣
⁣⁣
– ค่าธรรมเนียมถูก ไม่ได้หมายถึงดีเสมอไป ต้องดูผลตอบแทนที่กองทุนทำได้ด้วย โดยค่าธรรมเนียมจะคุ้มค่าเมื่อกองทุนให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่มากกว่า⁣⁣

– ค่าธรรมเนียมต้องเปรียบเทียบกับกองทุนในกลุ่มเดียวกัน และนโยบายใกล้เคียงกัน เพราะกองทุนต่างประเภทมีค่าใช้จ่ายในการบริหารแตกต่างกัน⁣⁣

– Active Fund (พยายามเอาชนะตลาด) จะมีค่าธรรมเนียมสูงกว่า Passive Fund (ทำผลตอบแทนล้อกับตลาด) เพราะต้องใช้ฝีมือของผู้จัดการกองทุนเข้าช่วย ⁣⁣
⁣⁣
ดังนั้น – ไม่ซื้อขายกองทุนบ่อยเกินไป เพราะจะเสียค่าธรรมเนียมเวลาซื้อขายหลายครั้ง ควรเน้นลงทุนระยะกลางถึงระยะยาวขึ้นไป

#เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต

อิสรภาพชีวิต !! อยู่ไหนก็ไม่พลาด อย่าลืมกดติดตามนะครับ หรือเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้เลย

ส่งข่าวสารถึงมือผ่าน คลิกเลย

#ถ้าไม่อยากพลาดแนวคิดการลงทุนและไอเดียการลงทุนดี ๆ อย่าลืมกด subscribe และ กดกระดิ่งนะครับ คลิกเลย

Picture of TAM-EIG

TAM-EIG

1019

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
error: Content is protected !!